อุปกรณ์ช่วยในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม (Dementia)


อุปกรณ์ช่วยในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม (Dementia)

ขั้นแรกเรามารู้จักระดับความรุนแรงของโรคภาวะสมองเสื่อม สามารถแบ่งได้ 3 ระดับ คือ


1.ระดับอ่อนหรือไม่รุนแรง (Mild Dementia) เป็นระดับที่มีภาวะสมองเสื่อมเล็กน้อย ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการหลงลืม โดยเฉพาะลืมเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น เช่น ลืมว่าวางของไว้ไหน จำชื่อคนหรือสถานที่ที่คุ้นเคยไม่ได้ ส่วนความจำในอดีตยังดีอยู่ เริ่มมีความบกพร่องในหน้าที่การงานและสังคมอย่างเห็นได้ชัด แต่ผู้ป่วยยังสามารถช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้ และการตัดสินใจยังค่อนข้างดี



2.ระดับปานกลาง (Moderate Dementia) ในระยะนี้ความจำจะเริ่มเสื่อมมากขึ้น มีความบกพร่องในความเข้าใจ ความสามารถในการเรียนรู้ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ เช่น ไม่สามารถคำนวณตัวเลขง่าย ๆ ได้ เปิดโทรทัศน์ไม่ได้ ทำอาหารที่เคยทำไม่ได้ ทั้งที่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เคยทำได้มาก่อน ลืมแม้กระทั่งชื่อคนในครอบครัว ในช่วงท้ายของระยะนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการทางจิต เช่น ประสาทหลอน ผู้ป่วยในระยะนี้เริ่มไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ การปล่อยให้อยู่คนเดียวอาจเป็นอันตรายจำ เป็นต้องอาศัยผู้ดูแลตามสมควร



3.ระดับรุนแรง (Severe Dementia) ในระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลย แม้แต่การทำกิจวัตรประจำวัน ต้องมีผู้เฝ้าดูแลตลอดเวลา แม้แต่ความจำก็ไม่สามารถจำสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นได้เลย จำญาติพี่น้องไม่ได้ หรือแม้แต่ตนเองก็จำไม่ได้มีบุคลิกภาพที่เปลี่ยนไป เคลื่อนไหวช้า หรืออาจเคลื่อนไหวไม่ได้ แม้แต่สุขอนามัยของตนเองก็ดูแลไม่ได้ เช่น กลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้ อาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้

ซึ่งงานวิจัยที่ดิฉันได้ค้นคว้ามามีชื่อว่า Assistive Technology for People with Alzheimer’s Disease

ในงานวิจัยนี้จะพูดถึงการพิจารณาการให้อุปกรณ์ช่วย จะต้องเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วยเพื่อช่วยส่งเสริมและคงความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย

  • ในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมในระดับอ่อน หรือ ไม่รุนแรง (Mild Dementia) อุปกรณ์ช่วยที่แนะนำ คืออุปกรณ์ที่ช่วยเตือนการทำกิจกรรมต่างๆด้วยเสียง เช่น นาฬิกาปลุก โทรศัพท์มือถือ ตารางจดบันทึกกิจกรรม และรูปภาพเตือนความจำ
  • ในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมในระดับปานกลาง (Moderate Dementia) อุปกรณ์ช่วยที่แนะนำ คืออุปกรณ์ที่ไม่มีความซับซ้อน ใช้งานง่าย เช่น โปรแกรมช่วยในการเดินทาง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเดินทางไปยังสถานที่ที่ต้องการได้ ตารางจดบันทึกกิจกรรม และรูปภาพเตือนความจำ หรือใช้รูปภาพในการแสดงขั้นตอนวิธีการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต
  • ในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมในระดับรุนแรง (Severe Dementia) ในระดับนี้จะพิจารณาการให้อุปกรณ์ช่วยกับผู้ดูแล เช่น อุปกรณ์ช่วยยกตัว หรือเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วย อุปกรณ์ช่วยเตือนการทำกิจกรรมด้วยเสียง เพื่อช่วยเตือนเวลาการทำกิจกรรมให้กับผู้ดูแลผู้ป่วย


Nirbhay N. Singh , Giulio E. Lancioni, Jeff Sigafoos, Mark F. O’Reilly and Alan S. W. Winton. (2014). Assistive Technology for People with Alzheimer’s Disease. Autism and Child Psychopathology Series ,2014, 219-250 , doi :10.1007/978-1-4899-8029-8_8




หมายเลขบันทึก: 602462เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 03:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 03:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท