การส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพในผู้สูงอายุ


สวัสดีครับกลับมาพบกันอีกครั้งนะครับ ในวันนี้ผมจะขอนำเสนอเกี่ยวกับการส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพในผู้สูงอายุ

จากบทความที่แล้วนะครับ ผมได้กล่าวถึง วิธีการปรับพฤติกรรมเพื่อเพิ่มกิจกรรมการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ ซึ่งจากงานวิจัยนั้นจะเห็นได้ว่าการปรับพฤติกรรมนั้น สามารถส่งผลให้เกิดอัตราการเคลื่อนไหวที่มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ผ่านการปรับพฤติกรรม แต่การเคลื่อนไหวที่เพิ่มขึ้นนั้นมีประสิทธิภาพแล้วหรือไม่ โดยคำว่ามีประสิทธิภาพนั้น อาจหมายถึง การเคลื่อนไหวที่ไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ การสูญเสียพลังงานเกิดความจำเป็น และนำมาสู่สุขภาวะที่ดี

ในวันนี้นะครับผมจะขอกล่าวถึงวิธีการส่งเสริมการเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพในผู้สูงอายุโดยวิธีการนี้ผมนำมาจากงานวิจัยเรื่อง " Exerciseforeveryone : a randomized controlled trial of project workout on wheels in promoting exercise among wheelchair users "

ในงานวิจัยนี้ เป็นการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกลุ่มพฤติกรรม 2 กลุ่ม ในการทำกิจกรรมการเคลื่อนไหว โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ใช้รถเข็นล้อ(wheel chair) ทั้งหมดจำนวน 128 คน กลุ่มแรกได้รับการควบคุมจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านร่างกายและพฤติกรรม ร่วมกับการทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวอย่างเข้มข้น จำนวน 69 คน และกลุ่มที่สองได้รับการทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวต่างๆด้วยตัวเอง จำนวน 59 คน โดยทั้งสองกลุ่มนี้ได้รับการออกแบบกิจกรรมการเคลื่อนไหวและการให้ข้อมูลด้านกิจกรรมการเคลื่อนไหว

การดำเนินการด้านการรักษาโดยใช้ทฤษฎี " Social cognitive theory " โดยหลักการนี้เป็นการสร้างการรู้และเข้าใจถึงศักยภาพในตนเอง และมีความสามารถที่จะทำพฤติกรรมได้จนเกิดเป็นทักษะที่มีความสำเร็จในการนำไปแก้ไขปัญหา

ทั้งสองกลุ่มที่เข้าร่วมงานวิจัยนี้จะได้รับตารางกิจกรรมการเคลื่อนไหวในแต่ละวัน , ข้อมูลเกี่ยวกับจุดที่บกพร่องของตนเอง ,รูปแบบกิจกรรมการเคลื่อนไหว , กำหนดการด้านเวลาในแต่ละกิจกรรม ว่าควรฝึกนานเท่าใดจึงจะพัก และ พักเป็นเวลานานเท่าใด และสุดท้ายคือคำแนะนำในการทำกิจกรรมที่ให้เกิด กิจกรรมการเคลื่อนไหวโดยใช้ออกซิเจน(aerobic activity)

โดยในกลุ่มแรกที่ได้รับการดูแลจากผู้ควบคุมในการทำกิจกรรมด้านการเคลื่อนไหวนั้น จะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการทำกิจกรรมการเคลื่อนไหว ว่าแต่ล่ะกิจกรรมนั้นจะส่งผลให้เกิดอะไรบ้าง เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ ความล้า สุขภาวะ ความแข็งแรง น้ำหนักตัว ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง และได้รับวิธีการแก้ไขกับผลที่จะเกิดขึ้น เช่น การขจัดความล้า เป็นต้น และได้รับการส่งเสริมการเพิ่มการรับรู้ความสามารถในการทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวได้ด้วยตนเอง รวมทั้งได้รับการวางแผนการป้องกันการทำกิจกรรมทางกายที่เกินความสามารถที่จะส่งผลต่อร่างกายของผู้สูงอายุ โดยข้อมูลดังกล่าวนี้ ผู้ควบคุมจะให้แก่ผู้สูงอายุเป็นระยะๆ ส่วนกลุ่มที่สองนั้น จะได้รับการให้ข้อมุลจากผู้ควบคุมน้อยกว่าเป็นจำนวนมาก

การวัดผล

  1. จากการบันทึกผลด้วยตนเองรายสัปดาห์ซึ่งวัดผลมาจากอัตราการทำกิจกรรมโดยใช้ออกซิเจนรวมเป็นเวลาทั้งหมด 52 สัปดาห์
  2. กความสามารถสูงสุดในการทำกิจกรรมการเคลื่อนไหว(peak aerobic capacity)
  3. ความแข็งแรงทางสรีระของร่างกาย

ผลลัพธ์

จากงานวิจัยนี้จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้ที่ได้รับการควบคุมกิจกรรมการเคลื่อนไหว สามารถทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิมากกว่ากลุ่มผู้ที่ดำเนินกิจกรรมการเคลื่อนไหวด้วยตนเอง โดยประสิทธิภาพดังกล่างนั้นหมายถึงการจัดการปัญหาและการวางแผนการทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ดีกว่า

ดังนั้นจากบทความผมจึงมีความเห็นว่าเราควรที่จะสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีการวางแผนและได้รับข้อมูลด้านต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลให้เกิดสุขภาวะที่ดีตามมา

สุดท้ายนี้ผมขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านกลับไปสังเกตุรอบๆกายของท่านว่ามีผู้ใดที่ควรจะได้รับการแนะนำให้ปรับพฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว(จากบทความ " กิจกรรมบำบัดในการปรับพฤติกรรมเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ ") และให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ในการส่งเสริมให้พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหวต่างๆนั้นเป็นกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพ

หากบทความนี้ผิดพลาดประการใด ผมขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

แหล่งอ้างอิง

  1. http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S...
  2. http://www.esourceresearch.org/Default.aspx?TabId=...

หมายเลขบันทึก: 602454เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 01:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 01:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท