เปิดห้องเรียนสู่โลกกว้าง เมื่อฉันได้ไป รพ.กรุงเทพฯ และ รพ.มนารมย์


เปิดห้องเรียนสู่โลกกว้าง เมื่อฉันได้ไป รพ.กรุงเทพฯ และ รพ.มนารมย์

- 23 กุมภาพันธ์ 2559 -

การเรียนในห้องเรียนอย่างเดียวคงไม่พอ ถ้าไม่ได้มาเห็นจริงๆ สัมผัสบรรยากาศตรงนั้นจริงๆ เรียนทฤษฏีอย่างเดียวจะพอหรอ ความคิดเหล่านี้ผุดขึ้นมาในหัวดิฉัน ตั้งแต่วันที่เริ่มรู้สึกว่าเรียนทฤษฎีอย่างเดียวแล้วมองไม่เห็นภาพ จนได้มีโอกาสออกทริปไปเยี่ยมชม รพ.กรุงเทพฯ และ รพ.มนารมย์ ถือเป็นประสบการณ์ดีดีอีกวันหนึ่ง

เช้าวันนั้น ที่รพ.กรุงเทพฯ

ถือว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวเล็กๆที่ได้มาเปิดหู เปิดตา และเปิดใจ กับฝ่ายจิตที่โรงพยาบาลแห่งนี้ ก่อนอื่นขอชื่นชมรุ่นพี่ที่มีความตั้งใจจริงในการต้องการช่วยเหลือผู้รับบริการฝ่ายจิต จนได้มาเปิดแผนกที่ศูนย์แห่งนี้ ทำให้เราได้มีจุดยืนเพิ่มขึ้นอีกแห่ง ถึงแม้จะยังเป็นแค่แผนกเล็กๆ แต่เชื่อว่าซักวันจะเติบโตเป็นที่รู้จักแน่นอน

ศูนย์บริการด้านสุขภาพจิตแห่งนี้ที่เกิดขึ้นที่โรงพยาบาลกรุงเทพ ในชื่อ ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ ซึ่งมุ่งเน้นให้การบำบัดรักษาให้ผู้รับบริการมีสุขภาพจิตที่ดี โดยการบริการการวินิจฉัย บำบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพจิตใจ ด้วยกระบวนการรักษาที่หลากหลาย (จากทีมสหวิชาชีพที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจจริงในการช่วยเหลือผู้ที่ประสบสภาวะทางจิต และมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานในฝ่ายจิต) ทั้งการจัดโปรแกรมกลุ่มบำบัดในแต่ละวัน อาทิเช่น กลุ่ม exercise and well-being เพื่อส่งเสริม routine ให้แก่ผู้รับบริการเมื่อกลับเข้าสู่สิ่งแวดล้อมเดิม(บ้าน)ป้องกันการกลับมาสู่ routine ที่บั่นทอนสุขภาพจิต , กลุ่ม stress management ผู้รับบริการบางท่าน มาเข้ารับการรักษาที่ศูนย์แห่งนี้ เนื่องจากมีการสะสมความเครียด ไม่สามารถจัดการกับความเครียดเหล่านั้นได้ โปรแกรมนี้จึงจัดขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้รับบริการสามารถจัดการความเครียดที่สั่งสมมานั้นได้ (โดยการให้ผู้รับบริการเข้ากลุ่มดังตัวอย่างต่อไปนี้ กลุ่มyoga, กลุ่ม mind fullness, muscle relaxation เป็นต้น) , art and creativity ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยการดูถึงจุดแข็งของผู้รับบริการ แล้วตั้งเป้าประสงค์และดำเนินการรักษาให้เหมาะสมต่อตัวผู้รับบริการ , learning new skill เพื่อการกระตุ้นให้เค้าเกิดทักษะใหม่ๆ เช่นการเข้าครัวทำอาหาร เป็นต้น

S = Self

M = Motivation

A = Ability

RT = Role Transformation

ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ

ความมีแรงจูงใจและมีความมุ่งมั่นตั้งใจของรุ่นพี่ในการมาเปิดแผนกกิจกรรมบำบัดที่ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพแห่งนี้

ความรู้ความสามารถในการการบำบัดรักษาคนไข้ที่มีปัญหาทางสุขภาวะทางจิต

นักกิจกรรมบำบัด มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงบทบาท จากการได้รับหน้าที่รับผิดชอบการเข้าครัวสอนผู้รับบริการ จากคนที่ทำอาหารไม่เป็น ได้เกิดการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในการทำอาหาร จนกลายมาเป็นผู้ถ่ายทอดข้อมูลความรู้การทำอาหารสู่ผู้รับบริการ

TR = Therapeutic Relations

TE = Therapeutic Environment

TE = Therapeutic Empathy

TS = Therapeutic Skills

หลากหลายวิชาชีพที่ศูนย์แห่งนี้ ให้การต้อนรับปละการดูแลผู้รับบริการอย่างอบอุ่น ให้ความรู้สึกที่เป็นมิตรตั้งแต่ได้พบหน้ากัน พี่ๆมีความยิ้มแย้ม ซึ่งเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ที่ดีตั้งแต่แรกเริ่ม ทั้งในผู้ที่มารับบริการ ญาติผู้รับบริการ ตลอดจนนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 และคณะอาจารย์ ที่ได้เข้าร่วมชมแผนกในวันนั้น

การจัดสิ่งแวดล้อมในศูนย์ ให้ความรู้สึกอบอุ่น ห้องพักผู้รับบริการให้ความรู้สึกราวกับห้องนอนที่บ้าน ที่มีความสะดวกและปลอดภัย (ได้รับการไตร่ตรองมาแล้วถึง สิ่งแวดล้อมที่มีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองของผู้รับบริการ) โทนสีที่ใช้ในศูนย์ เน้นเป็นโทนสีที่สบายตา ไม่ให้ความรู้สึกอึดอัด รวมถึงการจัดสิ่งแวดล้อมที่มุ่งเน้นให้ผู้รับบริการได้ออกมาทำกิจกรรมร่วมกับผู้รับบริการคนอื่นๆนอกห้องพักมากยิ่งขึ้น(งดโทรทัศน์ในห้องพัก)

ทีมสหวิชาชีพ มีความเข้าอกเข้าใจผู้รับบริการถึงความรู้สึกที่อาจเกิดขึ้น ถ้าต้องอยู่ในห้องที่ให้ความรู้สึกอึดอัด ราวกับว่าตนเองโดนกักขัง จึงปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในห้อง ให้มีความรู้สึกดั่งบ้าน ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว

ทีมสหวิชาชีพมีทักษะความรู้ทางการบำบัดรักษา และสามารถใช้งานความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้รับบริการมีสุขภาวะทางจิตที่ดีขึ้นได้จริง และผู้รับบริการได้รับประโยชน์จากการรักษาตามความต้องการ

ช่วงบ่ายที่ รพ.มนารมย์

เข้าสู่ช่วงบ่าย พวกเราไปต่อกันที่โรงพยาบาลมนารมย์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนด้านสุขภาพจิตแห่งแรกในประเทศไทย โดยโรงพยาบาลแห่งนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาด 7 ไร่ ย่านบางนา ให้บริการด้านสุขภาพจิต ทั้งการส่งเสริม บำบัดรักษา และฟื้นฟูสุขภาพจิต ด้วยการบริการทางการแพทย์ ตลอดจนวิชาชีพอื่นๆ อาทิเช่น ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตเวช กิจกรรมบำบัด กายภาพบำบัด รวมถึงวิชาชีพอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องจากหลากหลายสถาบันทางการแพทย์

เมื่อเราไปถึงรุ่นพี่ก็ให้การต้อนรับกันอย่างอบอุ่น และจัดการบรรยายความเป็นมา และการให้บริการทางกิจกรรมบำบัด ซึ่งการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดนี้ สามารถจัดได้ทั้งแบบเดี่ยว และแบบกลุ่ม โดยแบ่งออกเป็น

  • Day Program(Outpatient Department)
  • MLD(Manarom Learning & Development Center)
  • IPD(Inpatient Department)

เมื่อได้เวลาเดินเยี่ยมชมแผนก ห้องฝึกต่างๆ หลากหลายวิชาชีพที่เข้ามามีบทบาท เช่น ห้องกิจกรรมบำบัด ห้องกายภาพบำบัด ห้องละครบำบัด ห้องศิลปะบำบัด ห้องดนตรีบำบัด ห้องทำอาหาร เห็นได้ว่าการบำบัดรักษาผู้รับบริการคนหนึ่งอาศัยหลากหลายทักษะเข้ามาเกี่ยวข้อง เกิดความผสมผสานทักษะต่างๆที่จำเป็น และนอกจากนี้ยังมีการจัดโปรแกรมการทำกิจกรรมรายวันโดยเน้นให้ส่วนของทฤษฎีอยู่ในช่วงเช้า และกิจกรรมที่ต้องมีความตื่นตัวอยู่ในช่วงบ่าย เพื่อลดความง่วงหลังบ่ายที่เกิดขึ้น ซึ่งเวลาช่วงบ่ายนี้เองที่จัดโปรแกรมกิจกรรมบำบัดให้ผู้รับบริการได้ทำ

สุดท้ายเมื่อเสร็จสิ้นการเยี่ยมชมแผนก รุ่นพี่นักกิจกรรมบำบัดได้พาพวกเรากลับมาสู่ห้องประชุม และมีการแลกเปลี่ยนคำถาม ถามตอบกันเล็กๆน้อยๆถึงข้อสงสัยที่เกิดขึ้นเมื่อได้เดินสำรวจแผนก ทำให้เราได้คลายข้อสงสัยเหล่านั้น

S = Self

M = Motivation

A = Ability

RT = Role Transformation

โรงพยาบาลมนารมย์

โรงพยาบาลเอกชนด้านสุขภาพจิตแห่งแรกในประเทศไทย

เนื่องจากในปัจจุบัน ผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตมีมากขึ้นทุกวัน จึงเกิดการรวมตัวผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิตจากหลากหลายสถาบัน ให้การช่วยเหลือ บำบัด รักษา และฟื้นฟู เกิดโรงพยาบาลแห่งนี้ขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการรักษาทางด้านสุขภาวะทางจิต

ทีมสหวิชาชีพที่ให้การบริการในโรงพยาบาลแห่งนี้มีความสามารถ ช่วยให้ผู้รับบริการมีสุขภาพจิตที่บรรเทา หรือดีขึ้นได้จริง

TR = Therapeutic Relations

TE = Therapeutic Environment

TE = Therapeutic Empathy

TS = Therapeutic Skills

ในการบำบัดรักษาในทางการแพทย์ ผู้ให้การบริการมีการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการ ต้อนรับอย่างอบอุ่น ให้การบริการอย่างเป็นมิตร และสิ้นสุดสัมพันธภาพในการบำบัดรักษาอย่างน่าประทับใจ ทั้งนี้ การสร้าง และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ นำมาสู่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบำบัดรักษามากยิ่งขึ้นด้วย

โรงพยาบาลจัดสิ่งแวดล้อมที่มีความสะดวกสบาย เอื้ออำนวยต่อทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการ จัดให้รอบตัวอาคารมีต้นไม้ สร้างบรรยากาศที่ร่มรื่น ไม่บั่นทอนสุขภาพจิตของผู้ที่อาศัยอยู่

ทีมสหวิชาชีพมีความเข้าใจ และเห็นใจผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต จึงมีความประสงค์ที่จะให้การรักษาที่ดีที่สุดแก่ผู้รับบริการ

ผู้ให้บริการมีทักษะความสามารถในการบำบัดรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะการวางแผนการทำงานก่อนให้การบำบัดรักษา และรักษาได้ตรมตามเป้าประสงค์

ความรู้ที่พวกเรา นักศึกษากิจกรรมบำบัด ชั้นปีที่ 3 ได้รับในวันนี้ ถือเป็นประสบการณ์ดีดี ที่ทำให้เราเห็นมุมมองใหม่ๆของนักกิจกรรมบำบัดด้านจิตเวช และการทำงานร่วมกันกับวิชาชีพอื่นได้อย่างลงตัว ขอขอบคุณคณะอาจารย์ และรุ่นพี่ที่โรงพยาบาลทุกๆคนสำหรับการให้ความรู้ในวันนี้มากๆค่ะ

References : http://www.bangkokhospital.com/index.php/th/center...

: http://www.manarom.com/intro_thai.html

หมายเลขบันทึก: 602459เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 02:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 02:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท