กระบวนการประกันคุณภาพหลักสูตร



ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๙ มีวาระ การใช้เกณฑ์ WFME ในการประกัน คุณภาพระดับหลักสูตร สําหรับหลักสูตรแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โดยมีรายละเอียดของเกณฑ์ ดังนี้ จะเห็นว่ามีรายละเอียดยิบ

ผมนึกในใจว่าหากจะให้เกิดความเป็นเลิศด้านคุณภาพการเรียนการสอน สถาบันการศึกษาแพทยศาสตร์ต้องมีวิธีการจัดการแบบเดียวกันกับที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจัดการคุณภาพของบริการผู้ป่วย ที่ผมเล่าไว้ ที่นี่ คือกำหนดเป้าหมายด้านการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตไว้กว้างๆ ให้เน้นแนวทางความเป็นเลิศเพื่อสนองระบบสุขภาพของประเทศ โดยเอาแนวทางของรายงาน Health professionals for a new century : transforming education to strengthen health systems in an interdependent world, รายงาน Envisioning the Future of Health Professional Education : Workshop Summary, ผสมกับของ WFME ข้างบน แล้วสื่อสารด้วยวิธีการต่างๆ ให้เป็นที่เข้าใจกันทั้งในหมู่อาจารย์และนักศึกษา

ให้แต่ละ ภาควิชา/รายวิชา กำหนดเป้าหมายจำเพาะของตนเอง เพื่อให้ได้ ผลลัพธ์การเรียนรู้ ที่เป็นเลิศ โดยกำหนดตัววัดไว้ด้วย ในปีใดได้ผลตามที่กำหนดก็ได้รับรางวัลดาวเงิน ดาวทอง หรือดาวแพลตินั่ม ตามเกณฑ์ ในทำนองเดียวกันกับการจัดการคุณภาพด้านบริการผู้ป่วย และจะมีการนำเสนอสถานภาพในภาพรวมในการประชุม Ed Quality Day ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งมีการนำเสนอเป้าหมายในปีต่อๆ ไป

นั่นคือ มีการจัดการ “หัวปลา” ด้านการศึกษา ล้อกับวิธีการที่ด้านบริการใช้ได้ผลมาแล้ว และ ซีอีโอ ของกิจกรรมนี้คือรองคณบดีฝ่ายโรงเรียนแพทย์ ของทั้งสองคณะแพทยศาสตร์ ที่จัด Ed Quality Day ร่วมกัน

กระบวนการประกันคุณภาพหลักสูตร จะกลายเป็นเครื่องมือเพื่อการบรรลุคุณภาพของผลลัพธ์ การเรียนรู้อย่างแท้จริง ไม่ใช่เป็นภาระ



วิจารณ์ พานิช

๒๐ ม.ค. ๕๙


หมายเลขบันทึก: 602340เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2016 16:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2016 16:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท