ธรรมะกับการใช้ชีวิต



พระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หลักศีลธรรมสำหรับชาวพุทธที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทานสั่งสอนไว้ มีมากมายหลายระดับ ทั้งที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตประจำวัน และระดับที่สูงขึ้นไป หากพุทธศาสนิกชนทุกคนล้วนแต่ตั้งมั่นอยู่ในคำสั่งสอนของท่าน ย่อมบังเกิดความสงบสุขในการดำเนินชีวิต และในสังคมที่เราอาศัยอยู่อย่างแน่นอน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ล้วนแล้วแต่มาจากการที่ คนเราไม่ตั้งมั่นอยู่ในธรรมนั่นเอง ที่นำมาเสนอไว้ ณ ที่นี้ ก็เพื่อเป็นการทบทวนความจำที่เราได้เคยเล่าเรียนมา พินิจพิจารณาถึงความเป็นจริงในแต่ละข้อที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนไว้ และนำไปปฏิบัติด้วยอันเป็นจุดมุ่งหมายอันสูงสุด

วิธีการปรับใจในการดำรงชีวิตประจำวัน

เนื่องจากในแต่ละวัน วิถีชีวิตของเราจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับคนสัตว์สิ่งของ ตั้งแต่เช้าจรดค่ำซึ่งทำให้อารมณ์ของเรามีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอยู่เสมอๆ บางครั้งก็สุข เบิกบาน ดีอกดีใจ แต่บางครั้งก็หงุดหงิด โกรธ ฟุ้งซ่าน เครียด ทุกข์ใจ ซึ่งทั้งหมดนี้มีผลต่อการปฏิบัติ โดยเฉพาะเมื่อเราจะนั่งสมาธิดังนั้นการปรับใจในชีวิตประจำวันนี้จะช่วยรักษาอารมณ์และ ภาพของใจเราให้พร้อมต่อการปฎิบัติธรรมซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้

1.) หัดมองโลกตามความเป็นจริง
การมองเช่นนี้จะทำให้เราเห็นความเป็นจริงของโลก ไม่ใช่ว่าจะมองในแง่ดีหรือในแง่ร้ายแต่ให้มองว่าความเป็นจริงของโลกนี้ มีธรรมอยู่ 8 ประการ ( โลกธรรม 8 ) คือ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ มีคนสรรเสริญ มีคนนินทา มีสุข มีทุกข์ ธรรมทั้ง 8 ประการนี้ จะวนเวียนอยู่ในชีวิตของเราตลอดเวลาเราจะต้องไม่หวั่นไหว ในเวลาที่สิ่งเหล่านี้มากระทบ ในเวลาที่สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นให้ทำใจเป็นกลางๆ ทำใจให้นิ่งๆ เหมือนผู้เฒ่าเจนโลกมองโลก

มีเรื่องเล่าว่ามีผู้เฒ่าเจนโลกท่านหนึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน วันหนึ่งม้าของผู้เฒ่าหายไป ชาวบ้านจึงเข้ามาหาท่านผู้เฒ่าและกล่าวแสดงความเสียใจว่า "ขอแสดงความเสียใจด้วยที่ม้าของท่านหายไป" ผู้เฒ่าเจนโลกทำหน้าเฉยๆ และบอกว่า "ในสิ่งที่ไม่ดี อาจจะมีสิ่งที่ดีอยู่ก็ได้" หลังจากผ่านไป 1สัปดาห์ ม้าตัวนั้นก็ได้กลับมา พร้อมกับพาม้าตัวเมียมาด้วย ชาวบ้านจึงเข้าไปหาท่านผู้เฒ่าและกล่าวแสดงความดีใจว่า "แต่ก่อนม้าของท่านหายไป เดี๋ยวนี้กลับมาพร้อมกับนำม้าตัวเมียกลับมาด้วย ขอแ ดงความยินดีด้วย" ผู้เฒ่าเจนโลกทำหน้าเฉยๆ และบอกว่า "ในสิ่งที่ดี อาจมีสิ่งที่ไม่ดีอยู่ก็ได้" หลังจากนั้น 3 วัน ลูกชายของท่านผู้เฒ่า ได้นำเอาม้าตัวใหม่ไปฝึกขี่ในทุ่งนา แล้วเขาก็พลัดตกจากม้าขาหัก ผู้เฒ่าเจนโลกบอกว่า "ในสิ่งที่ไม่ดีอาจมีสิ่งที่ดีอยู่ก็ได้" ผ่านไปหลายเดือน ทางการประกาศข่าว แจ้งให้ผู้ชายในหมู่บ้านออกไปเกณฑ์ทหารเนื่องจากกำลังมี งครามจลาจลเกิดขึ้นที่ชายแดน ชายในหมู่บ้านต้องออกไปทำการสู้รบหมด ยกเว้นลูกชายของผู้เฒ่าเจนโลกที่ขาเจ็บจึงไม่ได้ไปสู้รบยังชายแดน


ดังนั้น จากตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เราเห็นว่า โลกของเรามีดี มีร้าย มีได้ มีเสีย เราจึงควรหัดมองโลกตามความเป็นจริง เพื่อจะได้ทำให้ใจเรามั่นคง ไม่ซัดส่ายไปตามกระแสโลก

2.) มองมนุษย์ทุกคนเป็นเพื่อนร่วมโลก
ให้มองมนุษย์ทุกคนว่าเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย จะเป็นใครก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นสามี ภรรยา เป็นพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นบุตร ธิดา หรือว่าเป็นเพื่อนร่วมงาน ให้มองว่าเป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่ เจ็บ ตาย เสมอเหมือนกันทุกคน ให้เรามีความปรารถนาดีแก่เพื่อนเราทุกๆ คนที่อยู่ใกล้ จะทำให้เราได้ความสบายใจ ใจเราจะสบาย ไม่หงุดหงิดง่าย ไม่ฉุนเฉียวง่าย ไม่เจ้าอารมณ์ง่าย ไม่ว่าเราจะไปที่ไหน อยู่ที่ไหน นั่ง นอน ยืน เดิน ก็จะรู้สึกเหมือนมีมิตร หายอยู่ล้อมรอบตัว ทำให้เกิดอารมณ์สบายเวลานั่งสมาธิใจจะไม่ติดเรื่องจุกจิก เรื่องปลีกย่อยต่างๆ


3.) มองโลกให้ว่างเปล่า
ให้มองโลกให้ว่างเปล่า ไม่มีอะไรเป็นแก่นสาร แม้เราจะต้องทำมาหากิน ก็ทำให้เต็มที่ แต่ก็ให้มองว่าในการทำมาหากิน เรามีวัตถุประ สงค์ก็เพื่อเอาปัจจัย 4 มาหล่อเลี้ยงอัตภาพร่างกาย เราไม่ควรยึดติดทุกข์ กังวล เครียด กับการแสวงหา หรือการได้มามากจนเกินไป เรื่องราวของคนสัตว์สิ่งของรอบๆ ตัวเราก็เช่นเดียวกัน มีการเปลี่ยนแปลงไปเสมอ ลูกเรา ภรรยาเรา เพื่อนเราสิ่งของของเรา เราก็ไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้ทั้งหมด แม้ตัวของเราเองเราก็ยังไม่สามารถบังคับบัญชาได้ยังต้องเจ็บป่วย แก่ ชรา ไปตามกาลเวลา ดังนั้น ในโลกนี้ จึงไม่ควรไปยึดติด ยึดถือ เป็นจริงเป็นจังกับอะไรมากนัก


4.) การคิด พูด ทำ ในเรื่องละเอียด
เนื่องจากในแต่ละวันเราต้องพบปะกับผู้คน มีเรื่องที่จะต้องคิด ต้อง นทนากันมากมายสิ่งที่คิดพูดและทำนี้ จะถูกเก็บเป็นภาพเอาไว้ในใจ ถ้าคิด พูด ทำในเรื่องที่ทำให้ใจหยาบ ก็จะทำให้ ภาพใจหยาบกระด้างไปด้วย เรื่องที่ทำให้ใจหยาบมีมากมาย เป็นเรื่องที่เราเจอกันทุกคนเช่น เรื่องบ้าน เรื่องครอบครัว เรื่องลูก เรื่องเงินทอง เรื่องการฆ่ากัน การแก่งแย่ง เรื่องชู้สาว การคดโกง เรื่องราวของปัญหาต่างๆเป็นต้น เรื่องเหล่านี้ฟังแล้ว พูดแล้ว จะนำเรื่องร้อนใจมาให้ และจะมีผลต่อ ภาพจิตใจ เมื่อถึงคราวมานั่งสมาธิก็จะมีผลทำให้ใจไม่ สงบ ดังนั้นเราจึงต้องรู้จักคิดเรื่องละเอียด พูดเรื่องละเอียด ทำเรื่องที่ละเอียด ซึ่งเรื่องที่ละเอียดก็คือ เรื่องเกี่ยวกับการสร้างความดี การสร้างบุญ เรื่องของการปฏิบัติธรรม เป็นต้นสิ่งเหล่านี้จะทำให้ใจละเอียดอ่อน เมื่อถึงเวลามานั่งสมาธิก็จะทำให้นั่งได้ดี

5.) การเลือกคิดและมองแต่สิ่งที่ดี
เนื่องจากเราจะต้องเจอกับคน เหตุการณ์ อารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันซึ่งมีทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดีสิ่งเหล่านี้จะเข้าไปเก็บเอาไว้ในใจของเรา แม้ว่าใจของเราจะมีอานุภาพมากพอที่จะเก็บเรื่องราวต่างๆ ไว้ได้ แต่ทางที่ดีเราควรจะเลือกเก็บแต่สิ่งที่ดีเอาไว้ในใจ มองแต่ในสิ่งที่ดี เป็นผู้ชาญฉลาดในการรักษาอารมณ์ให้ใสไว้ นอกจากนี้ธรรมชาติของใจเรา เมื่อถึงเวลาคิดก็คิดได้เรื่องเดียว เวลาเกิดอารมณ์ก็เกิดได้คราวละเพียงอารมณ์เดียว เราจึงควรจะเลือกเก็บแต่สิ่งทีดีงามเอาไว้ในใจสิ่งเหล่านี้จะทำให้ใจของเราคุ้นกับภาพที่ดีงาม

หมายเลขบันทึก: 602143เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2016 10:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2016 11:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท