การประชุมสำรวจและระดมความเห็น (Pre-Planning) เพื่อการเตรียมการจัดโครงการผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1


สวัสดีครับชาว blog

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นการประชุมสำรวจและระดมความเห็น (Pre-Planning) เพื่อการเตรียมการจัดโครงการผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1 เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ในรู้แบบของห้องเรียนผู้นำ (PSU Leader Class) สำหรับรองอธิการบดีและคณบดีจากคณะต่าง ๆ ทุกวิทยาเขต รวมจำนวน 40 คน ใช้เวลาในการเรียนรวม 19 วัน รวม 135 ชั่วโมง ซึ่งจะเริ่มเรียนในเดือนพฤษภาคมปีนี้เป็นต้นไป บรรยากาศในวันนี้ดีมากครับต้องขอขอบคุณ รศ. ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล อธิการบดี อาจารย์ พิชิต เรืองแสงวัฒนา รองอธิการบดี นพ.บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา รองอธิการบดีฝ่ายบุคคลและประกันคุณภาพในฐานะผู้นำที่เล็งเห็นคุณค่าของการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ มีปรัชญาและความเชื่อว่า "คน" เป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร และร่วมผลักดันให้เกิดโครงการนี้ ขอขอบคุณ รศ.นพ. สุธรรม ปิ่นเจริญ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ม.อ. ที่มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การเรียนรู้ กรณีศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ ม.อ. และขอถือโอกาสขอบคุณ ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ ขอบคุณคณะทำงานของ ม.อ. นำโดยคุณเมตตา ชุมอินทร์ และคุณรัตติยา เขียวแป้น และที่ขาดไม่ได้ คือ ทีมวิทยากรกระบวนการของผมนำโดย ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล และคุณวราพร ชูภักดี ทุกคนเป็นพลังสำคัญที่จะช่วยให้งานในครั้งนี้เกิดความสำเร็จทั้งในวันนี้และอนาคตครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 602072เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2016 13:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2016 13:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สรุปการประชุมสำรวจและระดมความเห็น (Pre-Planning) เพื่อการเตรียมการจัดโครงการผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13.30 – 15.30 น.

ณ โรงแรม Centara Grand at Central World กรุงเทพฯ

การประชุมเริ่มด้วย นพ.บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา รองอธิการบดีฝ่ายบุคคลและประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวต้อนรับ มีสาระสำคัญคือ ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับทราบว่า มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ร่วมกับ Chira Academy ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาทุนมนุษย์ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติมากว่า 35 ปี ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดทำโครงการผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1 ซึ่งจะมีผู้บริหารระดับสูงได้แก่ รองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการ ผู้ที่คณบดีมอบหมายที่แจ้งความจำนงในการเข้าร่วมโครงการรุ่นที่ 1 นี้มีจำนวน 40 ท่าน จากทุกวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หวังว่า การประชุมสำรวจและระดมความเห็น (Pre-Planning) ในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารที่เข้าร่วมโครงการ และก็จะได้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมเพื่อให้หลักสูตรมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ในนามของมหาวิทยาลัยและผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ขอขอบคุณศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และทีมงานทุกท่าน และขอขอบคุณรศ.นพ. สุธรรม ปิ่นเจริญ คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ที่ได้กรุณาสละเวลามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการประชุมครั้งนี้ ขอขอบคุณทีมงานผู้จัด ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านที่จะได้มาแสดงความคิดเห็นจนนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้มีแนวทางที่จะนำไปสู่วัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ ขอถือโอกาสนี้เปิดการประชุมสำรวจและระดมความเห็น (Pre-Planning) เพื่อการเตรียมการจัดโครงการผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1 ขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านที่ได้มาเข้าร่วมประชุมครั้งนี้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ชี้แจงหลักสูตร วิธีการเรียนรู้ของโครงการว่า เป็นครั้งแรกที่ทำโครงการที่สร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่แบบ Big Impact วัตถุประสงค์ของการประชุมครั้งนี้ คือ ฉายภาพสั้นๆเกี่ยวกับโครงการ ในช่วงโครงการคณะแพทย์ รุ่นที่ 3 นพ.บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา รองอธิการบดีฝ่ายบุคคลและประกันคุณภาพ ได้มีโอกาสมาร่วมสังเกตการณ์ ในการประชุม pre-planning ครั้งนี้ รศ.นพ. สุธรรม ปิ่นเจริญ

คณบดีคณะแพทยศาสตร์มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ด้วย โครงการที่จะทำขึ้นนี้ ทำในบริบทมหาวิทยาลัยมิใช่แค่คณะแพทยศาสตร์เท่านั้น โครงการคณะแพทยศาสตร์มีคนเรียนจบไปแล้ว 150 คน เป็นโครงการที่มีความต่อเนื่องทำให้วัดผลได้ สิ่งสำคัญคือ ขอให้ผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการมีทัศนคติพร้อมเรียนรู้ ผู้บริหารต้องเข้าใจภาพใหญ่ การเปลี่ยนแปลง และความรู้ใหม่ ต้องปะทะความจริง นำสภาพความเป็นจริง 5 วิทยาเขต และวัฒนธรรมมาพิจารณา จะกระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม ต้องอ่านหนังสือและอภิปรายต้อง Get things done จะมี informal network เกิดขึ้น 2 วิทยาเขตคิดโครงการร่วมกัน จะเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสอน ขอให้สร้าง network ความสัมพันธ์ต่อเนื่อง อยากให้มีความสุขในการมาเรียน Learn, share, care อะไรที่ขัดแย้ง ก็ให้อภัยกัน

คุณวราพร ชูภักดี นำเสนอว่า โครงการนี้เป็นหลักสูตร 135 ชม เรียน 19 วัน กลุ่มวิชาประกอบด้วย

PSU leader class การศึกษาดูงาน รักษ์กาย รักษ์ใจและ Self study เริ่มเรียนวันแรก 11 พฤษภาคม 2559 (มีรายละเอียดตามกำหนดการ)

ข้อเสนอแนะ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า ต้องวาดอนาคต โดยเริ่มด้วยเศรษฐกิจ เพื่อให้ทราบการเตรียมคนในอนาคต สอดคล้องแผน 15 ปีของอธิการ จะโค้ชผู้เข้าร่วมโครงการด้วย ต้องมีวิธีการตอบสนองการเปลี่ยนแปลง อนาคตตลาดแรงงานเป็นของแรงงานต่างด้าว ต้องตอบสนองอาเซียน ต้องเน้นพลังงานและยางพารา ต้องระดมความคิดและอยู่บนสภาพความเป็นจริงของศักยภาพ อ.พงษ์ชัยก็จะฉายภาพความท้าทาย ถือเป็นช่วงที่สำคัญมาก นอกจากนั้นจะมีการนำเสนอกรณีศึกษาจากมหาวิทยาลัยเอกชนแต่สามารถอยู่รอดได้โดยไม่ได้รับงบจากรัฐ จะเน้น Creative Economy ช่วงนี้ดี เป็นการที่ได้ความคิดมาจากมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นการช่วยทำให้ทั้งมหาวิทยาลัย ในนช่วง Self-study เพิ่งค้นพบว่า คนไทยไม่อ่านหนังสือแต่ที่มอ. คณบดีมีปัญญาอยู่แล้ว จะเลือกหนังสือสุดยอดที่สุดมาให้อ่านเป็นบท กรุณาทำการบ้าน หนังสือเป็นพลังที่สำคัญ อาจมีวิจารณ์หนังสือ 4-5 เล่ม ในธุรกิจส่วนใหญ่ขับเคลื่อนโดย CEO คุณภาพผู้นำขึ้นอยู่กับคุณภาพภายใน คุณ Leigh Scott เป็น consultant ที่ทำงานในไทย เป็นคนมี network มากมาย มี Individual Assessment ด้วย ในเรื่องคน ลงทุนมากเท่าไรก็ไม่แพง เพราะได้ผลตอบแทนเกินที่ลงทุน ในเรื่องการตลาด เป็นแบบ Social Marketing ภาพลักษณ์ ตอนที่อยู่ด้วยกันทำให้ใกล้ชิดกัน เริ่มมีมูลค่าเพิ่ม อาจจะมีทำงานข้ามคณะมากขึ้น นำผลงานมาแบ่งปันแลกเปลี่ยนกัน

รศ.นพ. สุธรรม ปิ่นเจริญ คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ กล่าวว่า ปัจจัยความสำเร็จอยู่กับ action ขณะ session ความลึกซึ้งเกิดจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หลักสูตรนี้ ผู้บริหารอาจติดขัดเรื่องเวลา ควรจัดการเวลาให้มาร่วมให้ได้ เมื่อเรียนจบแล้ว ศักยภาพจะฉายออกมาได้อย่างดีมาก เพราะได้รับการกระตุ้นและนำมาใช้ ช่วงที่มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ทำให้เข้าใจหน่วยเหนือมากขึ้น ความรู้ต่างๆทำให้เข้าใจทิศทางการเปลี่ยนแปลงคือวิสัยทัศน์ ความเข้าใจแนวราบเป็นจุดอ่อนของมหาวิทยาลัยทำให้ไม่เข้าใจกัน ผู้บริหารต้องมารู้จักกัน คนที่จบโครงการคณะแพทยศาสตร์บอกว่าทำงานง่ายขึ้นเพราะรู้จักกันแล้ว นอกจากนี้มีกิจกรรมผ่าน social media ความสัมพันธ์มาจากนอกห้องเรียนมากขึ้น ทำให้ได้เรียนรู้มากขึ้น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า ถ้าทำโครงการแบบนี้ได้ดี ก็ทำขายในอาเซียนได้ด้วย

นพ.บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา รองอธิการบดีฝ่ายบุคคลและประกันคุณภาพ กล่าวว่า ตอนที่หารือ กับรศ. ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล อธิการบดี อาจารย์พิชิต เรืองแสงวัฒนา รองอธิการบดีและศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ก็เห็นว่า ควรนำพลังทุกท่านมาประสาน ทุกคนมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเป็นโอกาสการออกนอกระบบและคิดร่วมกัน คาดว่าจะมีการทำงานต่อเนื่องไปสู่มหาวิทยาลัยนอกระบบที่ดีขึ้น ตอนเริ่มต้น เคยวางแผนไปดูงานต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดหรือมหาวิทยาลัยที่มีทั้งสายวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มีปัญหาค่าใช้จ่าย แต่มีปัญหาเรื่องเวลา อาจจะไปอีก 2-3 เดือนนับจากนี้ ผศ.ดร.ภัทร อัยรักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และสารสนเทศช่วยประสานวิทยากรที่มาจากสิงคโปร์

ผศ.ดร.ภัทร อัยรักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และสารสนเทศ กล่าวว่า ตอนที่จะสมัครเข้าร่วมโครงการ กำหนดไว้ล่วงหน้า ก็ไม่มีปัญหาเวลา ขอให้เพิ่มโอกาสนำมหาวิทยาลัยไปพบเครือข่ายอื่น ทำให้รู้จักเครือข่ายเพิ่ม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า จะขอรับข้อเสนอแนะไปพิจารณาเพราะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้

อาจจะเชิญคนที่ไม่ใช่ผู้เข้าร่วมมานั่งฟัง เช่นนักธุรกิจในภาคในภาคใต้

รองอธิการบดีอีกท่าน กล่าวว่า ผู้เข้าร่วมโครงการที่มาจากต่างวิทยาเขตอาจมีปัญหาเรื่องเวลา

ในบางครั้ง อาจจะไปจัดต่างวิทยาเขตบ้าง อาจจะเชิญอธิการบดี NUS ไปบรรยายที่วิทยาเขตอื่นก็ได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า ควรจะจัดโครงการในหลากหลายวิทยาเขต ขอให้นพ.บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา รองอธิการบดีฝ่ายบุคคลและประกันคุณภาพช่วยพิจารณาด้วย

นพ.บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา รองอธิการบดีฝ่ายบุคคลและประกันคุณภาพ กล่าวว่า การจัดที่เดียวจะประหยัดค่าใช้จ่ายได้ โครงการครั้งนี้จะจัดประชุมจัดที่ศูนย์กีฬา มีทั้งห้องใหญ่และห้องเล็ก อาจจะไปบางวิทยาเขต ดูโดยความสะดวกของวิทยากร

ผศ.สุพจน์ โกวิทยา รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ กล่าวว่า จากโครงการอื่น ได้มีโอกาสไปดูตอนที่เรียนจบโครงการต้องนำความรู้ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม ถ้าต้องการให้เกิดการขับเคลื่อน ควรจะให้มาดูงานกันเป็นทีม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า คณะแพทย์ทำได้หลากหลาย เกิด Value Diversity มี 2 โมเดล ระยะแรกนำระดับสูงมาร่วมโครงกรก่อน ถ้าผลออกมาดี ก็ทำระดับอื่นต่อ แล้วต้องนำความรู้ไปถ่ายทอดและทำต่อในอนาคต อยู่ที่วิธีคิดว่าจะลงทุนเรื่องคนแบบใด หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรสร้างมูลค่าเพิ่ม เกิดจากการปะทะกันทางปัญญา ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ต้องจัดการให้เกิดบรรยากาศดี

รศ.ดร. พีระพงศ์ ทีฆสกุล รองอธิการบดีฝ่ายระบบวิจัยและบัณฑิตศึกษา กล่าวว่า โครงการนี้เป็นโอกาสให้หลอมรวมขับเคลื่อน นำแต่ละเรื่องเป็นตัวตั้งหาข้อสรุปร่วมกัน ควรให้วิทยากรรับรู้เป้าหมายมหาวิทยาลัยเพื่อนำเสนอได้ตรงประเด็นมากขึ้น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า วิทยากรที่มาก็เตรียมตัวศึกษาเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยอย่างดี นำเสนอในลักษณะการแลกเปลี่ยนความรู้กัน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจจะมีประเด็นกระเด้งไปสู่มูลค่าเพิ่ม อาจจะเกิดจากการปฏิสัมพันธ์นอกห้องเรียนตามแนว Learn, share, care เป็นหลัก

อาจารย์สุกรี กล่าวว่า เห็นเป้าหมายแล้วอยากเรียนมาก แต่จะพยายามเข้าร่วม ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เคยเป็นวิทยากรให้คณะ ในเรื่องดูงาน ก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นถ้าจะตามรอยต่างประเทศ ควรไปดูงานมหาวิทยาลัย NUS , University of Hong Kong ก็จะได้ไปดูหลายที่อาจจะประสานกับอดีตอธิการบดี NUS

ถ้าไป NTU ก็จะไปดูงานสายเทคโนโลยี ถ้าไป SMU ก็จะไปดูงานสายการจัดการ ส่วน USM มี Transition ที่เด่นมีวัฒนธรรมคล้ายมอ.และเป็นมหาวิทยาลัยดาวรุ่งในยุคปัจจุบัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า เห็นด้วยการไปดูงานในมหาวิทยาลัยเหล่านี้ อาจจะหารือดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณเกี่ยวกับสถานที่ดูงานเพิ่มเติมด้วย

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ กล่าวว่า ทุกท่านมีพลัง จากการติดตามศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ จึงขอเสริมด้านกระบวนการ โครงการนี้คือ Fast Track เพราะขึ้นมาระดับสูง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เป็นกรรมการสภาสามารถมองมหาวิทยาลัยได้ครอบคลุม ประเด็นกระเด้ง สามารถเสริมแรงให้ทุกท่านทำงานได้แบบไม่ว้าเหว่ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์มีกระบวนการแตกต่างไปจากการฝึกอบรมที่อื่น มีท่านผู้บริหารท่านหนึ่งพูดถึงการสร้างเครือข่าย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำลำดับไว้ในการจัดเนื้อหา ทุกท่านมีความเป็นเลิศข้างใน บางครั้งแต่ละคนคิดว่าตนเองเก่ง ถ้าไม่เติมความรู้ก็ไม่พอ ถ้าคนในองค์กรมาปะทะกันทางปัญญาจะเสริมแรงมหาศาล ในโครงการมีการให้อ่านหนังสือ เล่มหนึ่งคือ How to Standout ทำอย่างไรจึงโดดเด่นแบบแตกต่างศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เลือกหนังสือเก่งมาก ความโดดเด่นศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คนอื่นนำไปใช้มาก คุณสมพร ศิริโปราณานนท์ ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลาไปขอทุนร็อกกี้เฟลเลอร์ทำโครงการการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ โดยนำจุดแข็งมอ.ในการพยากรณ์อากาศไปใช้ นอกจากนี้จะได้รับมุมมองที่แตกต่าง เช่น ชุมชนชะแล้กล่าวถึงรศ.ดร.ปาริชาติ วิสุทธิสมาจารและคณบดี คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม ได้รับการชมมาก ชุมชนเข้มแข็งดูแลสิ่งแวดล้อมและทำท่องเที่ยวได้เพราะการสนับสนุนของมอ. เรื่องการเปลี่ยนแปลง การเป็นผู้นำต้องเผชิญความเปลี่ยนแปลง ต้องรวมกันและสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมาได้ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์อยากให้มอ.เป็นมหาวิทยาลัยสร้างผู้นำในทุกวงการเพราะผู้นำสร้างเครือข่าย

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย กล่าวว่า คนเรามี 4 ธาตุ แต่ละท่านกำลังจะเป็นอีกธาตุคือ space ทำให้ธาตุทั้ง 4 ขยับ ทำให้มีช่องว่างในการคิดมากขึ้น ไม่มีปัญหาเวลา

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ กล่าวว่า โครงการนี้เป็นการพัฒนาผู้นำอย่างแท้จริง เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้วยพลังทุกท่านนำความเปลี่ยนแปลงได้ ผู้นำต้องนำให้เกิดความร่วมมือดึงศักยภาพคนมาให้ได้ เข้าใจการเปลี่ยนแปลง เราอยู่ในโลกวูก้า เราจะสร้าง community of practice ขยายไปส่วนอื่นของประเทศนอกเหนือจากมอ. สิ่งที่ประทับใจคือกระบวนการเรียนรู้แบบนี้ทำลายกำแพงความคิด เช่น แบ่งปันประสบการณ์ว่าได้เรียนรู้อะไร ทำให้เปิดใจรับฟัง

อาจารย์พิชิต เรืองแสงวัฒนา รองอธิการบดี กล่าวว่า หลักสูตรนี้มีเนื้อหามาก เป็นการสร้างความตระหนักและแรงบันดาลใจ นำวิทยากรที่มีประสบการณ์มาสร้างแรงบันดาลใจ ลักษณะหัวข้อเป็น Positive Approach บางครั้งผู้นำไม่ชอบการบริหารความขัดแย้ง ตอนหลังความขัดแย้งระหว่างบุคคลสร้างปัญหาให้ผู้นำ ควรมีการสร้างสันติสุขและบริหารความขัดแย้ง มหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เห็นว่าเรื่องนี้สำคัญ Social Media กระจายปัญหาทั่ว ต้องทำให้เรื่องใหญ่กลายเป็นเรื่องเล็ก ขอให้ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์แนะนำวิทยากรด้วย

รศ. ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล อธิการบดี กล่าวว่า เป็นหลักสูตรที่ดีมาก ฉายภาพภายนอกที่จะมากระทบทางมหาวิทยาลัย มีส่วนการดูแลจิตใจที่สำคัญมาก ในการบริหารมหาวิทยาลัย ก็มีการเกิดความขัดแย้ง ก็ต้องมีการบริหารจัดการ อีกอย่างคือเรื่องการบริหารความแตกต่าง แต่ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสร้างกฎเพื่อบริหารความแตกต่าง ในอนาคต ต้องบริหารความแตกต่าง Talent ต้องได้รับการบริหารที่แตกต่าง

คุณวรรณรัตน์ ผู้แทนจากคณะสัตวแพทย์ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่เป็นคนอายุน้อย ต่างจากผู้บริหารที่มีประสบการณ์มาก อยากให้มีหลักสูตรสร้างความเข้าใจให้เจ้าหน้าที่เพื่อทำงานร่วมกัน เจ้าหน้าที่มี Spirit มากแต่มุมมองต่าง

ผู้แทนจากคณะพาณิชย์ กล่าวว่า เรื่องกฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญ จากประสบการณ์ ผู้บริหารหมดวาระแล้วต้องขึ้นศาลอยู่ ควรอบรมกฎหมาย เพื่อพิจารณาประกอบการตัดสินใจ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า จะขอรับไปพิจารณา

รองอธิการบดีท่านหนึ่ง กล่าวว่า ขอสนับสนุนความคิดคณะสัตวแพทย์ ควรมีพัฒนาบุคลากรขั้นกลาง

การทำงานข้ามสายงานก็มีปัญหามากมาย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์นำฝ่ายสนับสนุนมาร่วมโครงการจึงเกิดความหลากหลาย เห็นด้วยกับการทำเรื่อง Diversity Management ทางคณะผู้จัดงานได้สำรวจกระแสโลกแล้วนำมาทำเป็นหลักสูตร ขอให้ทีมงานหารือนพ.บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา รองอธิการบดีฝ่ายบุคคลและประกันคุณภาพ ถึงความเป็นไปได้ ก่อนที่มาก็ลำบากใจ เมื่อได้ฟังความคิดเห็น เวลาก็ไม่พอ ทุกท่านเริ่มเห็นวิธีการ เมื่อดีก็เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของมอ. ถ้ามีโอกาส ก็สร้างเป็นระบบและมาตรฐาน หน่วยงานอื่นก็จะได้เข้ามาเป็นเครือข่าย ต้องพร้อมเปิดใจเรียนรู้จากกันและทำอย่างต่อเนื่อง ก็จะได้เปรียบ เมื่อมีโอกาสแล้วต้องทำอย่างเต็มที่และจริงจัง การสร้างรายได้ในอนาคตอาจจะเกิดจากการประชุมครั้งนี้

นพ.บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา รองอธิการบดีฝ่ายบุคคลและประกันคุณภาพ กล่าวว่า ได้วางแผนทำหลายระดับ แต่ระดับผู้บริหารเป็นรุ่นที่ 1 อาจจะทำทุกปี ในเรื่องความต่อเนื่อง แบบนี้เป็นการ empower ผู้บริหาร หารือหลายเรื่องก่อนประชุม ในอนาคต จะปรึกษารูปแบบที่จะทำ โครงการนี้จะเป็นจุดเริ่มต้น

โครงการสำหรับระดับหัวหน้าภาคทำทุกปี ปีละ 2 ครั้ง ส่วนโครงการระดับฝ่ายสนับสนุนก็ทำทุกปี เป็นสิ่งที่ดีจะขอรับความคิดศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ไว้

รศ. ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล อธิการบดี กล่าวปิดการประชุมว่า ขอบคุณทุกท่านที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของหลักสูตร จะขอเลื่อนพิธีเปิดขึ้นเป็น 8.30 น. เพราะจะมีการสรรหาคณบดี โครงการนี้เป็นหลักสูตรนำร่อง ในอนาคตต้องมีหลักสูตรผู้นำรุ่นต่อไป เพราะเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนในอนาคต ทำให้พัฒนาและเข้าใจบริบทดูแลมหาวิทยาลัยได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต ในส่วนอาจารย์ ต้องมีการสื่อสารลงไปผ่านผู้บริหารระดับคณะ หัวหน้าภาค หน่วยงาน เป็นการถ่ายทอดให้เข้าใจบริบทมหาวิทยาลัย อาจจะต้องใช้หลายช่องทาง อาจจะหารือสิ่งที่จะมากระทบในอนาคต การประชุมครั้งนี้ช่วยทำให้หลักสูตรดีขึ้น ถ้ามีโอกาสก็อยากเข้าร่วมในบางครั้งและต้องการเรียนรู้ไปด้วย ขอขอบคุณทีมงานทุกคน และขอบคุณศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่มาช่วยมอ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท