การประกันคุณภาพภายใน (๒)


KKU_IQA

 ตามที่ได้เรียนใน Blog ก่อนหน้านี้ที่ผมได้รับเชิญ ไปเป็นกรรมการในการประเมินคุณภาพภายในของหน่วยงานหนึ่ง คือ "หน่วยตรวจสอบภายใน" ผมเองประทับใจในทีมงานซึ่งมาจากหลากหลายหน่วยงาน เช่น ผศ.ยรรยง จากคณะแพทย์(ประธาน) อ.วัลภา จากวิทยาเขตหนองคาย อ.ประวีณา ผู้ทรงคุณวุฒิ จาก ม.สุรนารี เมื่อกรรมการเริ่ม ประชุมเพื่อทำความเข้าใจกัน ท่าน อาจารย์ ยรรยง จะปรับให้ผมเป็น ประธาน เนื่องจากอาวุโสกว่า ผมเองขออนุญาตปฎิเสธขอเป็นกรรมการบ้าง จะได้เทชาออกจากแก้ว และ เป็นผู้ฟังทีมงาน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จากด้านการบัญชี จากวิทยาเขตหนองคาย และ ท่านอาจารย์ ปวีณา จากหน่วยตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยสุรนารี

 การทำงานร่วมกัน ระหว่างทีมงานผู้ถูกประเมิน และ กรรมการผู้มาประเมิน เราใช้กระบวนการ "Dialogue" กันตลอด โดยที่ทำโดยไม่รู้ตัว เพราะจะต้อง ดึงเอาความรู้ "ฝังลึก" จากผู้ปฎิบัติงานจริงออกมา เพื่อบันทึกส่ง คณะกรรมการระดับมหาวิทยาลัยต่อไป

 สิ่งที่พวกเราได้เรียนรู้ร่วมกัน ก็คือ " การมีเป้าหมาย" "ในการประกันคุณภาพการศึกษาภาพใน คือ การพัฒนา" ทำให้ทุกท่านพยายามช่วยเหลือเกื้อกูล เป็นมิตรกันอย่างดี และทำให้เราได้รับทราบว่าการจัดตั้งหน่วยตรวจสอบภายในมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

เป็นหน่วยงานสำคัญที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเสนอข้อมูลและให้บริการต่อฝ่ายบริหารเพื่อให้
เกิดความมั่นใจว่าองค์กรมี ระบบข้อมูลที่เชื่อถือได้ มีการป้องกันและรักษาทรัพย์สิน
ที่ดี มีการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่สำคัญตลอดจนส่ง เสริมให้การปฏิบัติงานเป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประหยัดเป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร
เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานทุกคณะ/หน่วยงานให้สามารถปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้
้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจของมหาวิทยาลัยและหน่วยตรวจสอบภายใน โดย
ดำเนินการตรวจสอบวิเคราะห์ ประเมินผล ให้ข้อ เสนอแนะให้คำปรึกษาและข้อมูลโดย
  1. เน้นความถูกต้อง ตามระเบียบการคลังที่เกี่ยวข้อง
  2. เน้นประสิทธิภาพความคุ้มค่าในการงบประมาณ
  3. เน้นระบบการป้องกันการใช้งบประมาณ ให้สอดคลัองกับข้อ 1, 2
  4. เน้นให้เกิดประสิทธิผล โดยการตรวจสอบว่าผลงานที่ได้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่เพียงใด
  5. เน้นความประหยัด ตรวจสอบว่า ผลงานที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรอย่างน้อยที่สุดหรือไม่ อย่างไร

   พวกเราศึกษา และ รับฟังแล้ว เห็นว่า หากผู้บริหารได้ใช้ ศักยภาพของหน่วยงานนี้ อย่างเต็มศักยภาพ จะทำให้เป็น เครื่องมือในการบริหารที่สำคัญอย่างยิ่ง ทีมผู้ประเมินเห็นว่าการเพิ่มทีมงาน จากบุคลากร ที่มี ๕ ท่าน เป็นเรื่องที่สำคัญ เราเลยเสนอแนะ ให้ "สร้างเครือข่าย" กับ บุคลากรจากคณะวิชา หรือ หน่วยงานต่างๆ และ นำ " การจัดการความรู้" มาเป็นเครื่องมือในการ " สร้าง เสริม ประสบการณ์" เพื่อลดอุบัติการณ์ หรือ ความเสี่ยงด้านการบริหารของมหาวิทยาลัยในอนาคตต่อไปครับ

 JJ

หมายเลขบันทึก: 6018เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2005 17:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท