แนวทางการทำ Stress Testing ต้นแบบจาก IMF (ตอนที่ 1)


อาจารย์จิรพร สุเมธีประสิทธิ์

[email protected]

การประเมินผลกระทบทางธุรกิจ (Business Impact Analysis) และการค้นหาความเสี่ยง (Risk Assessment) เพื่อค้นหาศักยภาพและความพร้อมของกิจการ ในการรองรับสภาวะวิกฤติมีแนวคิด 2 แนวทางคือ กิจการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน และกิจการที่เป็นสถาบันการเงิน

ในกรณีของสถาบันการเงินใช้แนวทางของการทำ Stress Testing ที่ใช้การยกสถานการณ์วิกฤติขึ้นมาทดสอบว่าสถาบันการเงิน มีความสามารถในการต้านทานและรองรับเพียงใด หากเกิดวิกฤติการณ์ทางการเงินในอนาคต

แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า สถานการณ์ที่ใช้เป็น Scenario หรือ Sensitivity ในการทำ Stress Testing ยังไม่ครบถ้วน หรือไม่ใช่สถานการณ์ที่เลวร้ายจริง แต่อย่างน้อยผลที่ได้จากการทำ Stress Testing ก็ทำให้เห็นชัดว่า สถาบันการเงินจะต้องใช้ Stress Testing เป็นเครื่องมือใหม่ด้านการบริหารวิกฤติ เพื่อการวางแผนการเพิ่มทุน (Re-capitalization) และช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อสถาบันการเงินว่ามีความมั่นคงได้ดี

เมื่อเป็นเช่นนี้ นักวิชาการและนักทฤษฎีทั้งหลายจึงพยายามแสวงหาโมเดล Stress Testing ที่ดี หาทางวางกรอบสมมติฐานที่จะยกเป็นสถานการณ์จำลอง และกำหนดวิธีการใช้ Stress Testing ในการทดสอบศักยภาพและช่องว่างการบริหารจัดการ

ที่ผ่านมาโมเดลและวิธีปฏิบัติด้าน Stress Testing

  • ยังไม่ได้อิงอยู่บนหลักการที่เป็นเชิงระบบ สมเหตุสมผล
  • ยังไม่ได้จากรายละเอียดที่มีความซับซ้อนเพียงพอ
  • ใช้วิธีการนำเอาสถานการณ์ที่พอมองเห็น และจุดอ่อนในอดีต เท่าที่มองเห็น หรือข้อจำกัดด้านบุคลากร ศักยภาพทางเทคนิค และความเพียงพอของข้อมูลเป็นจุดทดสอบ

หนึ่งในความพยายามของการสร้าง Best Practice Principle เพื่อวางกรอบแนวทางทดสอบ Stress Testing คือ แนวทางของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ดำเนินการผ่านโครงการ Financial Sector Assessment Program :FSAPs กับประเทศสมาชิก ซึ่งดำเนินการมาแล้วนับ 10 ปีและมีการพัฒนาหลักการและแนวคิดมาตามลำดับ จนได้โมเดล Stress Testing ที่ก้าวหน้า เพื่อนำไปขอความร่วมมือกับธนาคารกลางของประเทศต่างๆในการดำเนินการ

หลักการทำ Stress Testing ของ IMF มี Best Practice 7 ประการด้วยกัน ซึ่งไม่ได้เน้นความครบถ้วน สมบูรณ์ แต่เน้นแนวทางปฏิบัติที่มาจากประสบการณ์ที่ประเทศต่างๆ ผ่านวิกฤติการณ์ทางการเงินจริงที่เกิดไปแล้ว และวิธีการที่สถาบันการเงินจะปรับรูปแบบของ Stress Testingให้เหมาะสมกับ

  • สถานการณ์แต่ละสถานการณ์
  • ระดับการพัฒนาของภาคการเงิน
  • โมเดลธุรกิจของแต่ละธนาคาร
  • สภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจมหภาคของแต่ละประเทศ

หลักการ 7 ประการด้านการทำStress Testing ของ IMF ยังเป็นการช่วยให้ผู้ที่ทำหน้าที่ในการประเมินผลการทำStress Testing ได้มีแนวทางการประเมินที่ชัดเจน โดย IMF ให้ความสนใจกับผลกรทบของสภาพแวดล้อมทางการเงินมหภาคเป็นสำคัญ และได้ขยายสถานการณ์ของการทดสอบสู่ประเด็นระดับจุลภาคบางประการด้วย

หลักการ 7 ประการของการทำStress Testing ของ IMF ได้แก่

  • การระบุวัตถุประสงค์และขอบเขตของการทดสอบ
  • การระบุช่องทางของความเสี่ยงที่จะส่งผลต่อธนาคาร แหล่งที่มาของความเสี่ยง
  • การรวมประเด็นความเสี่ยงทั้งหมดว่ากระทบอย่างไรบ้าง
  • การนำเอาแนวทางของนักลงทุนมาออกแบบรูปแบบการทดสอบ
  • การมุ่งเน้นที่ความเสี่ยงที่มีความผิดปกติสูง (Tail risk)
  • การสื่อสารผลที่ได้จากการทดสอบ Stress Testing ที่มีประสิทธิภาพและระมัดระวังความเข้าใจผิดทางลบ
  • การตระหนักในประเด็นของ Black swan หรือเหตุการณ์เกินความคาดหมายมาก

หลักการนี้เน้นว่าความสำเร็จของการทดสอบ Stress Testing ไม่ได้หมายความว่า สถาบันการเงินจะสามารถลดประเด็นของสถานการณ์ในการทดสอบให้ลดน้อยลงเหลือไม่กี่สถานการณ์ก็ได้ ในทางตรงกันข้าม สถาบันการเงินควรจะยิ่งขยายขยายขอบเขตของสถานการณ์ให้กว้างขวางขึ้นไปเรื่อยๆ

IMF ให้ความสำคัญกับการกำหนดเงื่อนไขและสถานการณ์ที่กำหนดก่อนการทดสอบ Stress Testing สถานการณ์ความเสี่ยงที่เลือกพิจารณา ทั้งปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องและระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ความเสี่ยงว่าร้ายแรงเพียงใด โดยสถาบันการเงินต้องออกแบบเงื่อนไขและสถานการณ์ให้ครอบคลุมประเด็นที่จำเป็นและมีความเป็นไปได้จริงมากที่สุด และเหตุการณ์ความเสี่ยงที่ยังไม่ได้นำมาพิจารณาเกี่ยวข้องกับการทดสอบ เพื่อให้เห็นจุดอ่อนและข้อจำกัดของการทดสอบอย่างชัดเจน และที่สำคัญที่สุดคือ การทดสอบทั้งหมดเป็นการประเมินด้วยการตั้งสมมติฐานของผลกระทบที่จะเกิดกับสถาบันการเงิน และผลประกอบการเท่านั้น แต่ตัว Stress Testing เองยังไม่สามารถพยากรณ์ว่าจะเกิดวิกฤติการณ์เมื่อใด และยังไม่เกี่ยวข้องกับการป้องกันความเสี่ยง

การศึกษาของ IMF พบว่าใน 23 ประเทศ ที่มีการทำ Stress Testingอาจจะมีการปรับตัวดีขึ้นอยู่บ้าง แต่วิธีปฏิบัติยังห่างไกลจากหลักการ 7 ประการของ IMF โดยเฉพาะใน 3 ด้านคือ

  • การระบุช่องทางที่ความเสี่ยงจะส่งผลกระทบต่อกิจการ
  • การนำเอามุมมองของนักลงทุนมาประกอบการพิจารณา
  • การเน้นที่ความเสี่ยงที่มีความผิดปกติสูง (Tail risk)

IMF ส่งเสริมการทดสอบ Stress Test เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยผลของสถานการณ์วิกฤติต่อผลประกอบการทางสถาบันการเงิน และบอกจุดอ่อนที่ยังคงมีอยู่

1.ความหมายของStress Testing

เป็นเทคนิคการวัดความสามารถในการต้านทานวิกฤติของพอร์ต (Portfolio) และขององค์กรหรือระบบการเงินโดยรวม ภายใต้สถานการณ์เงื่อนไขตามแบบจำลอง หรือตาม Scenarios

เป็นวิธีการประเมินสถานการณ์ด้วยหลักคิดแบบ “What If” และหาผลกระทบในเชิงปริมาณที่มีต่อ (ก) เงินกองทุน (ข) ผลกำไร (ค) กระแสเงินสดของกิจการ

การทดสอบ Stress Testing เต็มรูปแบบจึงเป็นมากกว่าการคำนวณผลกระทบเชิงปริมาณจากภาวะช็อคที่เกิดมาจากภายนอก หากแต่เกี่ยวข้องกับมาตรการแก้ไขสถานะ และสภาพคล่องสู่ความมั่นคง เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์การสื่อสารผลที่เกิดต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง และมาตรการติดตามเพื่อลดช่องว่างและจุดอ่อนสู่ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

โดยทั่วไป การติดตามและประเมินผลที่เกี่ยวข้องกับ Stress Test มี 2 ประเด็น คือ

  • สถานะสภาพคล่อง
  • สถานะด้านความมั่นคง

2.การทดสอบด้านสถานะความมั่นคง

เป็นการทดสอบเกี่ยวข้องกับ

  • สถาบันการเงินจะมีสถานะความมั่นคงก็ต่อเมื่อมูลค่าของสินทรัพย์มากกว่ามูลค่าของหนี้สิน และมีความมั่นใจว่าเงินกองทุนหรือส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นบวก
  • การทดสอบความมั่นคงเป็นการค้นหาว่าสถาบันการเงินมีเงินกองทุนที่เพียงพอที่จะถือว่าเป็นระดับที่มั่นคง ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีความท้าทาย อันเนื่องมาจาก
  • การทดสอบความมั่นคงอาจครอบคลุมรายการหลายรายการในงบการเงิน
  • การประมาณการอัตราส่วนของความมั่นคง (Solvency Ratios) ใน Macro Scenario จากการทดสอบ Stress Test อาจจะต้องทำการประมาณการด้วยโมเดลของภาวการณ์ทางการเงินเงิน-เศรษฐกิจมหภาค (Macro financial Model) อย่างเช่น NPL Ratio หรือ Probability of Default หรือ Loss Given Default หรือทดสอบการลดลงของเกรด Credit Rating หรือตัวแปรมหภาค เช่น GDP,อัตราการว่างงาน อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย
  • ความมั่นคงวัดจากอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ ที่ถือเป็นบรรทัดฐานที่ใช้ในธุรกิจสถาบันการเงินจะใช้เป็นตัวประเมินว่าผลการทดสอบ Stress Test ผ่านหรือไม่

มูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สินกับกระแสเงินสดในอนาคต ซึ่งจะเป็นเท่าใดเป็นเรื่องที่มีความไม่แน่นอนและขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและการเงินในอนาคต

ความมั่นคงของสถาบันการเงินถือเป็นความคงอยู่ของกิจการ และกิจการจะต้องธำรงไว้ซึ่งระดับเงินกองทุนและส่วนผู้ถือหุ้นเป็นบวกไม่น้อยกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ เพื่อจะได้สามารถรองรับโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียหรือผลขาดทุนที่เกินความคาดหมายได้

การที่สถาบันการเงินจะมีส่วนผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนดังกล่าวได้ ยังจะต้องมาจากการที่สถาบันการเงินสามารถเข้าถึงแหล่งเงินในตลาดเงิน ณ ระดับต้นทุนที่สมเหตุสมผล

(2.1) กำไรจากการดำเนินงานลดลง

(2.2) เกิดผลขาดทุนจากการดำเนินงาน

(2.3) มูลค่าของสินทรัพย์ด้อยลงจากเดิม

ปัจจัยความเสี่ยงหลัก คือ

  • ความสูญเสียจากการผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้ (ความเสี่ยงด้านเครดิต)
  • ความสูญเสียจากหลักทรัพย์จากการเปลี่ยนแปลงของราคาตลาด เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน และราคาหุ้น (ความเสี่ยงด้านตลาด)
  • การทดสอบ Stress Testing อาจจะเป็นการทดสอบผลกระทบของปัจจัยความเสี่ยงอย่างเดียวเรียกว่า Single Factor Test หรือทดสอบผลกระทบของปัจจัยความเสี่ยงหลายปัจจัยเรียกว่า Multiple Factor Test

ปัจจัยความเสี่ยงหลายอย่างที่นำมาทำการทดสอบอาจจะเป็นลักษณะที่นำผลลัพธ์จากการทดสอบแต่ละครั้งมาพิจารณาประกอบกัน เรียกว่า Combined Shock Test หรือเป็นการใช้กรอบแนวทางทดสอบบนสถานการณ์ที่พิจารณาปัจจัยเศรษฐกิจมหภาคพร้อมกันที่เรียกว่า Macro Scenario Test

(3.1) การทดสอบความเสี่ยงด้านเครดิต พิจารณาจากพอร์ตสินเชื่อทั้งหมด หรือสินเชื่อระหว่างธนาคาร หรือพิจารณาเฉพาะพอร์ตสินเชื่อบางส่วน (เช่น สินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อเคหะ หรือสินเชื่ออุปโภคบริโภค)

(3.2) การทดสอบความเสี่ยงด้านตลาด เป็นการวิเคราะห์จากหลักทรัพย์ที่ค้าอยู่และหลักทรัพย์เผื่อขาย โดยไม่รวมตราสารหนี้ที่เป็นการถือครองจนครบกำหนดอายุ

(3.3) การทดสอบรายการนอกงบการเงิน อาจจะพิจารณาความเสี่ยงด้านเครดิตและความเสี่ยงด้านตลาดพร้อมกัน

การพิจารณาอาจจะต้องใช้ทั้งโมเดลเศรษฐมิติ บวกกับการพิจารณาด้วยดุลยพินิจประกอบการทดสอบเฉพาะส่วนของ Macro Scenario อาจจะต้องครอบคลุมระยะเวลามากกว่า 1 ปี(โดยทั่วไปคือระหว่าง 1-3 ปี) เพราะช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว จะมีผลให้เกิดความเสี่ยงด้านเครดิตแก่สถาบันการเงิน

สถาบันการเงินจะทำประมาณการกำไรก่อนความสูญเสีย(ขาดทุน) จากสินเชื่อและการค้าหลักทรัพย์ เรียกว่า Pre-impairment profits และผลกระทบต่อกำไรสะสมและระดับของเงินกองทุน

หลังจากนั้น ก็กำหนดสมมติฐานของประเพณีการจ่ายเงินปันผล และการลดการพึ่งพาแหล่งเงินกู้ที่สามารถดำเนินการได้

หากสถาบันการเงินยังคงมีอัตราส่วนทางการเงินหลังเกิดภาวะวิกฤติไม่ต่ำกว่าอัตราส่วนทางการเงินที่เป็นบรรทัดฐาน ก็คือว่า “ผ่าน”

3.การทดสอบสถานะด้านสภาพคล่อง (Liquidity Tests)

การทดสอบภาวะวิกฤติด้านสภาพคล่องเป็นการทดสอบว่า สถาบันการเงินยังคงมีกระแสเงินสดไหลเข้าและมีสินทรัพย์สภาพคล่องเพียงพอที่จะต้านทานกระแสเงินสดที่ไหลออก กรณีที่เกิดเงื่อนไขหรือสถานการณ์วิกฤติหรือไม่

กระแสเงินสดไหลออกจากกิจการอาจจะเกิดขึ้นเนื่องมาจาก

  • เกิดแรงกดดันทีนทีทันใดในด้านแหล่งเงินทุน
  • เกิดความเชื่อมโยงระหว่างสภาพคล่องของตลาดสินทรัพย์และสภาพคล่องด้านแหล่งเงินสถาบันการเงินที่ขยายตัวด้านตลาดอย่างรวดเร็ว อาจจะเผชิญหน้ากับความจำเป็นด้านสภาพคล่องได้ เมื่อตลาดสินทรัพย์มีความผันผวนและแปรปรวนสูง
  • สถาบันการเงินอาจขาดแคลนสภาพคล่อง เมื่อไม่สามารถแสวงหาเงินสดที่เพียงพอที่จะตอบโต้กับสภาวะวิกฤติได้
  • สถานะวิกฤติด้านสภาพคล่องและวิกฤติด้านความมั่นคงมักจะมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกัน

สถาบันการเงินมีธรรมชาติที่มีความไม่สมดุลของระยะครบกำหนดระหว่างสินทรัพย์แลหนี้สิน (maturity mismatch) จึงมีโอกาสที่เงินฝากจะไหลออกไปทันทีพร้อมๆกันจนเกิดขาดสภาพคล่องทันที และนำไปสู่ความไม่มั่นคงในที่สุด

สถาบันการเงินที่มีสินทรัพย์สภาพคล่อง ที่แปรสภาพเป็นเงินสดได้เพียงพอหากขายสินทรัพย์เหล่านั้นไปได้โดยไม่ขาดทุน

หรือกรณีที่สินเชื่อที่ปล่อยไม่มีราคาตลาด (เป็นรายย่อยหรือ SMEs)ที่ไม่มีหลักประกันหรือมีหลักประกันสินเชื่อที่มีมูลค่าตลาดลดลงเรื่อยๆ

วิธีการทดสอบแบบนี้จะใช้การกำหนดระยะเวลาว่า การขาดสภาพคล่องนานกี่เดือนที่จะเริ่มทำให้กระแสเงินสดเริ่มติดลบ

(3.1) อัตราส่วนของ Liquidity Ratio

(3.2) Net Cash Flow Position

สถาบันการเงินที่เริ่มจากการขาดสภาพคล่องมักจะตามมาด้วยความมั่นคงหากเกิดขึ้นต่อเนื่องกันระยะหนึ่ง

คำสำคัญ (Tags): #Stress testing#Risk assessment
หมายเลขบันทึก: 601313เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2016 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2016 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท