GotoKnow

30 บาทต่อโรคหรือต่อครั้งอย่างไรกันแน่!

ชายขอบ
เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2548 15:05 น. ()
แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2558 08:31 น. ()
ไม่แน่ใจว่า ตอนนี้ ให้ยึดหลักอะไร ในการเก็บค่าบริการ 30 บาท สำหรับผู้ป่วย ทองไม่มี ท ทั้ง โรคเรื้อรัง และ โรคทั่วไป ขออ้างอิงด้วยนะ

     ด้วยมีคำถามจากผู้ปฏิบัติ ในwebboard สสจ.พัทลุง เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2548 ซึ่งขอสอบถามเจ้าหน้าที่ผู้ที่เกี่ยวข้องงานประกัน ด้วยคำถามในประเด็นดังนี้ครับ “ไม่แน่ใจว่า ตอนนี้ ให้ยึดหลักอะไร ในการเก็บค่าบริการ 30 บาท สำหรับผู้ป่วย ทองไม่มี ท ทั้ง โรคเรื้อรัง และ โรคทั่วไป ขออ้างอิงด้วยนะ” จากผู้สงสัย...  ผมจึงได้ตอบไปในวันนี้ดังนี้ครับ

     อ้างตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ พ.ศ.2544 โดยที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เห็นชอบให้นำมาใช้โดยอนุโลม ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 5 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 และความตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ พ.ศ.2544 ในข้อ 21 ซึ่งได้กำหนดไว้ว่า เมื่อผู้มีสิทธิมารับบริการทางการแพทย์ ต้องร่วมจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ 30 บาทในแต่ละครั้งที่เข้ารับบริการ เว้นแต่การรับบริการส่งเสริมสุขภาพ และการควบคุมโรค

     และขออ้างตามคำนิยามในระบบรายงาน 0110 รง.5 ในส่วนของกิจกรรมบริการ นะครับ ซึ่งเป็นระบบรายงานที่ทั้ง สปสช.และ กสธ. ได้ร่วมกันกำหนด ไว้มีดังนี้
     1. โรคเดียวกัน รักษาต่อเนื่อง และถูกส่งตัวไป (ตามระบบการส่งต่อ) ยัง โรงพยาบาลที่ 2 ประชาชนไม่ต้องจ่าย 30 บาทอีก ณ โรงพยาบาลที่รับจากการส่งต่อ แม้จะคนละวัน หรือภายในวันเดียว ให้จ่ายที่รับบริการครั้งแรกเท่านั้น
     2. กรณีที่มารักษาที่หน่วยบริการเดียวกันมากกว่า 1 ครั้ง ในวันเดียวกัน จ่าย 30 บาทแค่ครั้งเดียว ในครั้งแรกเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไรกี่โรค และโรคเหล่านั้นต้องมีอยู่ตามชุดสิทธิประโยชน์ที่กำหนดไว้
     3. กรณีที่เป็นโรคเดิมและมารักษาต่อเนื่องหลายวัน เช่นการทำแผล ก็จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ครั้งละ 30 บาท ในแต่ละวันที่มารับบริการ หากมาทำแผลเช้า-เย็น จ่ายแค่ 30 บาท เพราะเป็นวันเดียวกัน


ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย