Credit Risk กับการลงทุนตราสารหนี้


Credit Risk


การโดนเบี้ยว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเวลา หรือ ปริมาณเงินที่ไม่ได้ตามที่ตกลงกันไว้ ก็ถือว่าเข้าข่าย Default risk ครับ หรือ ถ้าบริษัทที่ออกตราสาร (แล้วเราไปซื้อเอาไว้) เกิดล้มเลิกกิจการไป นั่นก็เห็นๆ กันอยู่ว่าเข้าข่ายที่จะไม่ได้เงินคืนตามที่ตกลงกันไว้ (ในแง่ปริมาณเงิน และเวลาที่กำหนด)
จริงๆ แล้ว นิยามของ Credit risk คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการสูญเสียมูลค่าของสิ่งที่ลงทุนไป ดังนั้น จะแบ่งออกได้เป็น 3 หลักใหญ่ๆ

  1. ความเสี่ยงจากการล้มเลิกกิจการ (default risk) ตราสารที่มีการค้ำประกัน (Collateral) ย่อมมี ความเสี่ยงน้อยลง ยิ่งสินทรพัย์ที่มีการค้ำประกันมีค่าสูงกว่าเงินกู้มากเท่าไร ก็ยิ่งมี Default risk น้อยลงเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เค้าจะใช้ property (ที่ดิน) เป็น collateral
  2. ความเสี่ยงจากการถูกลดการจัดอันดับ credit rating (degrade crediting rate) จากนักจัดอันดับการลงทุน (crediting agency) ซึ่งก็ทำให้มูลค่าของสิ่งที่ลงทุนไปลดลงได้เช่นกัน
  3. Concentration risk เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการกระจุกตัวของการที่เลือกลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่งมากจนเกินไป
    ขอแนะนำว่าดูในเง่ Diversification จะดีกว่า เพราะดูเหมือนจะคุ้นเคยกับคำฮิตติดหูในบ้านเราว่า การกระจายความเสี่ยง (ใส่ไข่ในตระกร้าหลายๆ ใบ ดีกว่าใส่ไข่ในตระกร้าใบเดียว) ยิ่ง diversify การลงทุนมากเท่าไร concentration risk ก็ยิ่งมีน้อยเท่านั้น



สำหรับตราสารหนี้ Bond

ความเสี่ยงด้านเครดิต หรือ ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้

ความเสี่ยงประเภทนี้เป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดที่นักลงทุนต้องคำนึงถึงก่อนการลงทุน เพราะการลงทุนในตราสารหนี้ก็เปรียบเสมือนการให้เงินกู้แก่ผู้ออกตราสาร โดยมีสัญญาว่าจะได้รับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยตามงวดเวลาที่ตกลง และจะชำระคืนเงินต้นเมื่อครบกำหนดเวลา ดังนั้น นักลงทุนจะต้องพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้และความมั่นคงของผู้ออกตราสารอย่างรอบคอบ เพื่อจำกัดความเสี่ยงนี้

ตราสารหนี้ที่รัฐบาลออก เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หรือ ตราสารหนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ถือว่าปลอดความเสี่ยงประเภทนี้ สำหรับหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน ข้อมูลที่จะช่วยให้ท่านพิจารณาฐานะและความมั่นคงทางการเงินของบริษัทผู้ออกตราสารได้ง่ายขึ้น ก็คือ อันดับความน่าเชื่อถือ หรือ Credit rating ของตราสารหนี้ หรือ ของบริษัทผู้ออกตราสารหนี้ โดยในปัจจุบัน สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนดให้หุ้นกู้ภาคเอกชนที่จะออกขายแก่บุคคลทั่วไป ต้องได้รับการจัดอันดับเครดิต

หุ้นกู้ที่ผู้ออกไม่สามารถจ่ายชำระคืนดอกเบี้ย และเงินต้นภายในกำหนดได้ จะอยู่ในสถานะ "Default Bond” ดังนั้น ผู้ถือหุ้นกู้ต้องฟ้องร้องเพื่อเรียกชำระคืนหนี้ หรือในกรณีที่มีการปรับปรุงโครงสร้างทางการเงินเพื่อฟื้นฟูกิจการของบริษัทผู้ออกตราสาร ผู้ถือหุ้นกู้ก็จะต้องร่วมการพิจารณาแผนดังกล่าว เพื่อให้เกิดการฟื้นฟูกิจการเพื่อโอกาสของการชำระหนี้ในอนาคต

แหล่งที่มาข้อมูล

http://www.sawasdeeactuary.com/art_creditrisk.html

http://www.thaibond.com/risk/CreditRisk.html

คำสำคัญ (Tags): #Credit Risk
หมายเลขบันทึก: 600743เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2016 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2016 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท