แนวทางการบริหารความเสี่ยงโดยใช้ Portfolio Views of Risk


แนวทางการบริหารความเสี่ยงโดยใช้ Portfolio Views of Risk ประกอบด้วยประเด็นหลายประเด็นด้วยกัน ได้แก่

1. ความเสี่ยงต้องพิจารณาโดยองค์รวมไม่ว่าจะเป็นการแยกส่วนหรือโดยภาพรวม

การที่กิจการต้องมองภาพของความเสี่ยงในองค์รวมจากการรวบรวมเอาประเด็นความเสี่ยงสำคัญทั้งหมดในองค์กรมาไว้ในพอร์ตเดียวกัน กิจการจึงต้องหาทางทำความเข้าใจให้ได้ว่า เมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงหรือความไม่แน่นอน สถานะของความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ทั้ง

  • ด้วยการเปรียบเทียบระหว่างประเด็นความเสี่ยงแต่ละประเด็นในแต่ละหน่วยงาน
  • ด้วยการรวบรวมประเด็นของความเสี่ยงเดียวกันเป็นความเสี่ยงระดับองค์กรและเปรียบเทียบกับเกณฑ์ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของกิจการ (Risk Appetite)
  • การรวบรวมความเสี่ยงมาไว้ในพอร์ตเดียวกัน อาจจะมีปัญหาและประเด็นทางเทคนิคที่ควรจะให้ความระมัดระวังเพราะอาจจะเป็นการรวบรวมเป็นตัวเลข (Gross) หรือรวบรวมเป็นผลสุทธิ (Net) ก็ได้

นอกจากนั้น Portfolio Views of Risk จึงเป็นข้อมูลที่ทรงพลังในการตอบโต้และจัดการกับความเสี่ยง เนื่องจากมีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการมุ่งเน้นของผู้บริหารและการจัดสรรทรัพยากรภายในกิจการ ซึ่งทำให้กิจการสามารถเร่งความเร็วในการตอบโต้และจัดการกับความเสี่ยงได้ทันกาล ไม่ว่าจะเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลทางบวกหรือส่งผลทางลบแก่ผลดำเนินงานของกิจการ และช่วยประหยัดต้นทุนดำเนินงานของกิจการได้บางส่วน

2. การใช้ Portfolio Views of Risk

ต้องเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการตัดสินใจดำเนินงานของกิจการ

ข้อมูลความเสี่ยงที่แสดงใน Portfolio Views จะทำให้ทุกหน่วยงานภายในองค์กรได้เห็นข้อมูลเดียวกัน ได้มีโอกาสแบ่งปันข้อมูล และร่วมมือรวมพลังกันในการแบ่งปันความเสี่ยงหรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้

การแบ่งปันความเสี่ยงเป็นการหักลบหรือหักล้างกันระหว่างสถานะความเสี่ยงของฝ่ายงานต่างฝ่ายงานกัน (Netted or Offset) ซึ่งอาจจะใช้ได้ในกรณีของ “ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา” ที่เป็นทางค้าปกติของหลายแผนก หลายฝ่ายงาน

การที่กิจการรวบรวมสถานะความเสี่ยงอย่างเดียวกันมาอยู่ในพอร์ตเดียวกัน จะทำให้ภาพของความเสี่ยงเดียวกันที่เคยกระจายอยู่ในส่วนต่างๆ พื้นที่ต่างๆ ฝ่ายงานต่างๆ หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีความชัดเจนและถูกต้องตรงตามความเป็นจริงมากขึ้น

ด้วยเหตุนี้กิจการจึงสามารถประเมินผลตอบแทนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นโดยรวม เปรียบเทียบกับสถานะความเสี่ยงทั้งหมดที่กิจการต้องแบกรับอยู่ ในการดำเนินธุรกรรมเสี่ยงที่จะสร้างผลตอบแทนนั้น

การที่มีความสามารถในการมุ่งเน้นความเสี่ยงรวม (Total Risk) นำไปสู่ความมั่นใจเพิ่มขึ้นได้ว่าผู้บริหารจะทำการตัดสินใจด้วยแนวคิดเชิงธุรกิจได้ดีขึ้น

3. การปรับปรุงระบบรายงานและการจัดสรรเงินทุนดำเนินงาน

ด้วยภาพของ Portfolio Views ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงเป็นการระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงต่างๆในกิจการ และตัวขับเคลื่อนความเสี่ยงของแต่ละประเด็นความเสี่ยง อาจจะสามารถนำมารวมกันเพื่อจัดการกับทุกประเด็นความเสี่ยงพร้อมๆกันจากการบริหารและจัดการทรัพยากรและความมุ่งเน้นได้ดีขึ้น

4. จัดทำรูปแบบข้อมูลความเสี่ยงให้ง่ายขึ้น (Simplicity)

การแสดงสถานะของความเสี่ยงด้วย Portfolio Views ทำให้ผู้บริหารกิจการสามารถสื่อสาร Risk Profile และจุดอ่อนและจุดแข็งของศักยภาพ ความพร้อมและความสามารถในการจัดการความเสี่ยงได้แบบง่ายๆ จนเป็นเครื่องมือที่สร้างความเข้าใจแก่บุคลากร และนำไปปรับใช้ในงานการบริหารความเสี่ยงระดับหน่วยงานย่อยได้ง่ายขึ้น

ที่เป็นเช่นนี้เพราะ Portfolio Views of Risk เป็นวิธีการสรุปภาพของความสัมพันธ์ที่ยุ่งยากของเหตุการณ์ความเสี่ยงที่มีอยู่ภายในกิจการได้ดี และเห็นธุรกรรมหลักทั้งหมดของกิจการ

อย่างไรก็ตาม การสร้างรายงานสถานะความเสี่ยงให้ออกมาในรูปแบบของ Portfolio Views of Risk ก็ไม่ได้ทำโดยง่าย เพราะประเด็นความเสี่ยงที่มีความแตกต่างกัน บางประเด็นอาจจะแสดงภาพในลักษณะของการแสดงค่าเชิงปริมาณไม่ได้ง่ายดาย และประเด็นความเสี่ยงของบางกิจการอาจจะอยู่หลากหลาย ซึ่งหากไม่คัดกรองและเลือกเฉพาะความเสี่ยงที่สำคัญจริงๆ อาจจะสร้างความสับสนและไม่สามารถมุ่งเน้นความเสี่ยงได้

ดังนั้น กิจการอาจจะต้องมีเครื่องมือวัดและประเมินขนาดและสถานะของความเสี่ยงที่มีหลายเครื่องมือและใช้ประกอบกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเสี่ยงที่กิจการเผชิญหน้าอยู่ที่ครอบคลุมทุกธุรกรรมหลัก ทุกฝ่ายงานหลัก เพื่อให้เป็นข้อมูลที่เพียงพอในการพิจารณาและตัดสินใจปรับเปลี่ยนทิศทางกลยุทธ์

นอกจากนั้น ภาพรวมของสถานะความเสี่ยงตาม Portfolio Views of Risk จะไม่ช่วยสร้างมูลค่าแก่กิจการได้ หากแต่ละหน่วยธุรกิจ ธุรกรรมหลักไม่มีการกำหนด Risk Appetite และ Risk Toleranceที่ชัดเจน เพราะภาพรวมของความเสี่ยงจะขาดสีไฟจราจรที่แสดงระดับความรุนแรงของความเสี่ยงอย่างชัดเจนว่าประเด็นความเสี่ยงใดที่เกินกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้ และประเด็นความเสี่ยงใดที่ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่กิจการมีอยู่ในการทำธุรกรรมหลักของกิจการ


ที่มา : https://chirapon.wordpress.com/category/portfolio-...

คำสำคัญ (Tags): #1. 2. 3. 4.
หมายเลขบันทึก: 600741เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2016 21:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2016 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท