ความสำคัญระบบการเงิน


ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภาคธุรกิจ ภาครัฐบาล หรือประชาชน ความต้องการใช้เงินทุน กับเงินทุนที่มีอยู่ไม่พอดีกัน ระบบการเงินจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการที่จะช่วยกระจายทุน จากผู้ที่มีเงินทุนส่วนเกิน ไปสู่มือผู้ที่ขาดแคลนเงินทุน

การระดมเงินทุน และการให้ใช้เงินทุน เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขาดแคลนเงินทุน และผู้มีเงินทุนส่วนเกิน ซึ่งสามารถแสดงความสัมพันธ์ในระบบการเงินได้

การระดมเงินทุนตามเส้นทางที่ 1 เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีเงินทุนส่วนเกินและผู้ขาดแคลนเงินทุนโดยตรง เช่น การเชิญชวนญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงมาร่วมลงทุนโดยการแบ่งหุ้นหรือกู้ยืม การระดมเงินทุนลักษณะนี้ทำได้จำกัด เพราะแหล่งเงินทุนเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในโครงการลงทุนที่ได้วางแผนไว้ จึงจำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือจากตัวกลางทางการเงิน ซึ่งประกอบด้วย สถาบันการเงินและตลาดการเงิน

การระดมเงินทุนตามเส้นทางที่ 2 เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีเงินทุนส่วนเกินและผู้ขาดแคลนเงินทุนโดยผ่านตัวกลางทางการเงิน คือ สถาบันการเงิน (Financial Institutions) เช่น ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน โดยที่ผู้ที่มีเงินทุนส่วนเกินจะนำเงินไปฝากกับสถาบันการเงิน ซึ่งสามารถระดมเงินทุนส่วนเกินได้อย่างกว้างขวาง และสถาบันการเงินจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้ใช้เงินทุน แก่ผู้ขาดแคลนเงินทุนเพื่อนำไปดำเนินธุรกิจตามโครงการที่ได้วางแผนไว้

การระดมเงินทุนตามเส้นทางที่ 3 เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีเงินทุนส่วนเกินและผู้ขาดแคลนเงินทุนโดยผ่นตัวกลางทางการเงิน คือ ตลาดการเงิน (Financial Markets) ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผู้ขาดแคลนเงินทุนจะนำสินทรัพย์ทางการเงินมาขาย เช่น การออกหุ้นทุนหรือหุ้นกู้ แล้วนำออกขายในตลาดการเงิน เพื่อระดมเงินทุนจากผู้มีเงินทุนส่วนเกินที่สนใจจะลงทุน


ที่มาข้อมูล:http://202.29.22.164/e-learning/cd-1322/SOC10/topi...

คำสำคัญ (Tags): #-
หมายเลขบันทึก: 600615เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2016 19:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2016 19:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท