นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

สะท้อนผลการนิเทศการศึกษา


ช่วงแรก ศน.บ่น ทำให้เกิดการต่อต้าน แต่หลังเป็นไปอย่างกัลยาณมิตร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในโรงเรียนมาก ต้องการความเป็นกัลยาณมิตร

ไฟล์ สะท้อนผลการจัดการศึกษาโดย ศึกษานิเทศก์ https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/13...

ไฟล์ สะท้อนผลการนิเทศ โดย ผอ.โรงเรียน https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/13...


การสะท้อนผลการนิเทศการศึกษา ปีการศึกษา 2558 ในวันนี้ คณะ ศน.ได้นัดหมาย ผู้บริหารในกลุ่มเครือข่าเข้าร่วมรับฟังการสะท้อนผลจากการนิเทศการศึกษา ซึ่งมีประเด็นค่อนข้างมากที่ค้นพบจากการนิเทศผู้บริหาร และ การสังเกตชั้นเรียน โดยมีลำดับการนำเสนอ ดังนี้

  1. ขอบเขตการนิเทศการศึกษา
    2. วิธีดำเนินการ
    3. ผลการนิเทศการศึกษา

3.1 การนิเทศการสอนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21
3.1.1 การพัฒนาการสอนแบบ PBL
3.1.2 การพัฒนาการสอนแบบ Open Approach
3.2 การพัฒนาระบบการนิเทศภายในสถานศึกษา
3.3 ผลการนิเทศการศึกษาตามนโยบาย สพฐ.
3.3.1 นโยบายการอ่านออกเขียนได้.
3.3.2 นโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
3.4 ผลการสังเกตชั้นเรียน ภาคเรียนที่ 2/2558
4. ปัญหาและอุปสรรคในการนิเทศการศึกษา

การสะท้อนผลในวันนี้ โดยสรุป คือ
1. ได้พูดถึงพฤติกรรมการสอนของครู
2. ความสามารถในการบริหารงานวิชาการ (งานนิเทศภายใน)
3. ผู้บริหาร และ ครูใน ร.ร.ที่ประสบผลสำเร็จ ที่สามารถ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้

ประเด็นในการสะท้อน มุ่งให้เห็นภาพว่า ศน.ได้ลงไปนิเทศการสอน มีภาระงานที่ไปทำอย่างมากมาย ประสบผลสำเร็จบ้าง ล้มเหลวบ้าง แต่สิ่งที่ค้นพบคือ ถ้าผู้บริหารไม่ออกแรง ไม่ช่วยนิเทศการสอน นิเทศภายใน คุณภาพ เป้าหมายการศึกษา ที่พวกเราวาดฝัน ..ก็อาจจะสูญเปล่า "ผู้อำนวยการโรงเรียนสำคัญที่สุด"

แต่วันนี้ ได้ประเด็นที่ตัวเองชอบ และ ผู้บริหารสะท้อนกลับมายังผู้นิเทศ ขอมองข้ามคำชม ซึ่งท่านได้ ชื่นชมและให้กำลังใจ เกือบทุกท่าน แต่ จะโฟกัสไปที่ ข้อเสนอแนะ ..และ สิ่งที่ ร.ร.ต้องการ ดังนี้

ข้อเสนอแนะ

• ต้องการให้มีการสังเกตการสอน เหมือนเดิม
• ในระยะแรก ต่อต้านการจัดกิจกรรมตาม ทบ.ต่างประเทศ อยากให้พาทำและลงมือปฏิบัติจริง
• คู่มือนิเทศภายในของกลุ่มดอนจานเป็นเรื่องที่ดี และจะยังทำต่อไป
• ศึกษานิเทศก์ ถ้านิเทศทั่วถึง จะทำให้ทีมเกิดการพัฒนา
• การนิเทศ ที่ผ่านมา สร้าง ขวัญและกำลังใจ ในพัฒนาครู ศน.ก็ได้ มีการขยายความ ของ ทบ. สู่การปฏิบัติ
• ดงพยุงสงเคราะห์ มีความต้องการจะพัฒนาครูทั้งโรงเรียน เพื่อขับเคลื่อนการจัดการศึกษา
• การนิเทศที่ออกไปได้ผลดีมาก
• ในระยะแรก ศน.บ่น ทำให้เกิดการต่อต้าน บ้าง แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างกัลยาณมิตร ทำให้บรรยากาศดีขึ้น ได้รับความร่วมมือ แต่ ครูก็ยังกลัวการนิเทศมาก
• ศน.สังเกตการสอน และเปลี่ยนการนิเทศเป็นกัลยาณมิตร ทำให้ได้รับการยอมรับมากขึ้น
• ในชั้นเรียนที่ยังไม่เคยเข้านิเทศ ได้แก่ ชั้นเรียน ป.5 ป.2 ความต้องการคือ อยากได้ เทคนิคในการควบคุมเด็ก
• อยากให้ ศน. สาธิตการสอน
• เรื่องที่ 5 ในคู่มือการนิเทศภายใน โรงเรียนทำได้ผลดีมาก
• ชื่นชมการทำงาน ทั้งเป้าหมายและจุดมุ่งหมาย อยากเห็นภาพการนิเทศแบบนี้
• ในปี หน้า ควรหาเทคนิคการนิเทศหลากหลาย ไม่ควรใช้วิธีการเดียวในการนิเทศ ต้องดูบริบท และ วัฒนธรรม เช่น ไม่ใช่ PLC ทุกโรงเรียน
• การนิเทศภายในส่งผลต่อครู และผู้บริหาร
• การนิเทศ โดย ศน.มีผลต่อการจัดการเรียนรู้มาก และผลการเรียนรู้ดีขึ้น
• ศน.เข้าไปทำให้ครูตื่นตัวต่อการเรียนการสอน
• อยากได้ สังเกตการสอน 8 ชั้นเรียน และสะท้อนผลร่วมกัน (ทั้งโรงเรียน)
• ครูยังไม่เปลี่ยนแปลงการสอน และศึกษาการ ทำหลักสูตร


ข้อมูลที่ได้จากการ สะท้อนผล ไปและกลับ จะใช้ในการวางแผนการนิเทศต่อไป ขอบคุณ ทีมงาน ค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #นิเทศ#สะท้อนผล
หมายเลขบันทึก: 599458เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2016 18:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2016 06:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

If teachers are afraid of being supervised then they have not been well prepare to teach and to exchange ideas and best practices with outsiders. This may be overcome by spending more time to prepare lesson plans to be more confident of what to do in any classes

เป็นเรื่อง ที่ ครู และ ผู้บริหาร ยังไม่คุ้นชินค่ะ ..แต่ ถ้าทำบ่อยๆ จะกลายเป็นวัฒนธรรม ต้องใช้เวลาค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท