บริการถึงใจ ได้ใจ


บริการถึงใจหรือได้ใจ

(Service Mind)

ถวิล อรัญเวศ

รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 4

เกริ่นนำ

การให้บริการ คือการสร้างความสุข ความประทับใจ ให้กับลูกค้าซึ่งมาใช้บริการ ผู้ให้บริการต้อง

ยึดคติที่ว่า “ลูกค้าเปรียบเสมือนพระเจ้า หรือลูกค้าคือพระเจ้า“ เพราะเราจะเจริญก้าวหน้าหรือ

ล้มเหลวอยู่ที่ลูกค้านี้แหละมาช่วยกันอุดหนุนค้ำจุนธุรกิจของเรา ความร่ำรวย เกิดจากคนที่ยากจนนั้นแหละนำเงินมาใช้บริการวันละนิดวันละหน่อย สุดท้ายก็จะมากไปเอง

การบริการด้วยใจ บริการถึงใจ หรือมีจิตใจที่จะบริการ ทำให้คนมีความสุขและความพึงพอใจ เกิดความประทับใจ และอยากกลับมาใช้บริการอีก เพราะอาชีพบริการ คืออาชีพที่ทำให้คนมีความสุข คลายความทุกข์ ยิ่งบริการด้วยสุดหัวใจแล้วไซร้ ย่อมทำให้เกิดความประทับใจแน่นอน

คำว่า Service Mindเป็นการบริการด้วยใจมีความยิ้มแย้มแจ่มใสในการให้การต้อนรับด้วยไมตรีจิตมิตรภาพที่ดีต่อผู้อื่น สนองความต้องการให้ผู้อื่นประสบกับความสำเร็จในสิ่งที่เขาปรารถนา

ความหมายของ Service Mind

คำว่า “Service” ออกเป็นความหมายดังนี้

S = Smile (อ่านว่า สม้าย) แปลว่า ยิ้มแย้ม เวลาลูกค้ามารับบริการ ส่งรอยยิ้มให้ ยิ้มหวาน

ยิ้มน้ำใสใจจริง ไม่เสแสร้ง

E = enthusiasm (อ่านว่า เอ่นทู้ซิแอ่สซึม) แปลว่า ความกระตือรือร้น คือรีบจัดหาให้ ให้ความสนใจ

R = rapidness (อ่านว่า เร้ปปิดเนส) แปลว่า ความรวดเร็ว ครบถ้วน มีคุณภาพ รอไม่นาน

บริการฉับไว

V = value (อ่านว่า ว้าลลู) แปลว่า มีคุณค่า สิ่งที่ให้บริการทำด้วยความประณีต

I = impression (อ่านว่า อิมเพริ้สเซน) แปลว่า ความประทับใจ เกิดความพึงพอใจในบริการ

C = courtesy (อ่านว่า เค้อติซี) แปลว่า มีความสุภาพอ่อนโยน สุภาพทั้งการแสดงออกและการพูด

E = endurance (อ่านว่า เอนดู้เรน) แปลว่า ความอดทน เก็บอารมณ์ แม้จะไม่พอใจก็เก็บอารมณ์ไว้

ได้ ไม่แสดงออกในทางที่ไม่ดีต่อหน้าลูกค้า

สำหรับคำว่า “Mind” ก็ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

M = make believe (อ่านว่า เมค บิลี้ฟ) แปลว่า มีความเชื่อ สร้างศรัทธาด้วยผลงานของเรา

I = insist (อ่านว่า อินซิ้ส) แปลว่า ยืนยัน/ยอมรับ ประกันคุณภาพ การยอมรับของลูกค้า

ไม่ให้เขาส่ายหน้า

N = necessitate (อ่านว่า เนอะเซ้สเซอะเตท) แปลว่า การให้ความสำคัญ ให้ความสำคัญเอาใจใส่ทุก

เรื่อง แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย

D = devote (อ่านว่า ดิโว้ต) แปลว่า อุทิศตน อุทิศ

สรุป

หัวใจการให้บริการ คือผู้ให้บริการต้องเต็มใจให้บริการ ต้องมีจิตใจรักหรือมีใจให้บริการการทำงานโดยมีใจรักแสดงออกมาทางกาย โดยการทำงานด้วยความยิ้มแย้ม แจ่มใส มีอารมณ์รื่นเริง และควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ไม่ขึ้นเสียงกับประชาชนหรือผู้มารับบริการจำไว้ในใจเสมอว่าประการแรก ลูกค้าเป็นผู้ถูกเสมอ ประการที่สอง ต้องให้เกียรติลูกค้า ต้องไม่เป็นการบังคับขู่เข็ญให้ลูกค้าเกิดความขุ่นเคืองใจ ต้องถือว่า ลูกค้าเป็นคนที่เราจะต้องเอาใจใส่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

หมายเลขบันทึก: 599097เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2016 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มกราคม 2016 22:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท