ป้องกันความรุนแรงในผู้หญิงและเด็ก



เช้าวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ผมไปร่วมประชุม The 12th SEA Regional Scientific Meeting of the International Epidemiological Association and the 2nd Annual Conference of the Journalists and Writers Foundation ที่โรงแรม มณเฑียร ริเวอร์ไซด์ การประชุมนี้จัดโดยสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้ Theme : “Ensuring Child and Maternal Health : Key to Universal Health Coverage”

ที่จริงเขาเชิญผมไปเป็นประธานการประชุมช่วงที่ ๒ แต่ผมโชคดีที่ไปเช้า และได้ฟังเรื่อง Positive child and youth development : Prevention of violence against women and children ซึ่งผมมีข้อสงสัยกับตนเอง หลังจากฟังแล้วว่า แนวความคิดของหน่วยงานที่ชื่อ Plan International เป็นเรื่องดีอย่างแน่นอน แต่โลก (รวมทั้งประเทศไทย) กำลังตกอยู่ในวิธีการแก้ปัญหาความรุนแรงในสังคม แบบที่มีค่าใช้จ่ายมาก และได้ผลน้อยหรือเปล่า

การแก้ปัญหาความรุนแรงในเด็กโต และผู้ใหญ่ เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ในขณะที่ต้นเหตุอยู่ที่ปัญหาสังคม ที่ทารกเผชิญปัญหาความเครียดตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ทำให้เกิดกลไก epigenetic ปิดสวิตช์ แกน HPA ตาม บันทึกนี้ รวมทั้งการเลี้ยงดูเด็กเล็ก และการศึกษาที่ไม่พัฒนา EF ตาม บันทึกนี้ หากหลงเน้นแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ลงทุนเท่าไรก็ไม่มีวันพอ อย่างที่เห็นในสหรัฐอเมริกา

การศึกษาที่เน้นถ่ายทอดความรู้ เน้นการแข่งขัน และเน้นเรียนแบบตัวใครตัวมัน จะทำให้เด็กขาดการพัฒนาภายใน จิตใจจะหยาบกระด้าง และก่อความรุนแรงได้ง่าย

นี่คือแนวทางแก้ปัญหาที่รากเหง้า และไม่เสียค่าใช้จ่ายมาก

วิธีการจัดการเรียนการสอน แบบที่เด็กจะไม่เป็นคนก้าวร้าวรุนแรง ดูได้ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา โรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนสุขภาวะ และโรงเรียนทางเลือกอื่นๆ ผมขอเชิญชวนให้อ่านหนังสือ จิตศึกษา พัฒนาปัญญาภายใน โดยวิเชียร ไชยบัง รวมทั้ง เว็บไซต์นี้

วิธีที่ โครงการพัฒนานักถักทอชุมชนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว ดำเนินการ น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดี ว่าเมื่อเยาวชนได้รับความเอาใจใส่ ว่าตนอยากทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน และหาทางส่งเสริมให้ได้ทำสิ่งที่ตนชอบ และเป็นประโยชน์ เด็กเกเรจะกลายเป็นเด็กสร้างสรรค์ เด็กก้าวร้าวจะกลายเป็นผู้นำที่ทำประโยชน์แก่ผู้อื่น และแก่สังคม

ปัญหาต่างๆ ในสังคม หากแยกกันดำเนินการแก้ไขเป็นส่วนเสี้ยว นอกจากจะไม่ได้ผลจริงจังแล้ว ยังจะสูญเสียเงินสาธารณะไปโดยได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่าอีกด้วย



วิจารณ์ พานิช

๒๖ พ.ย. ๕๘


หมายเลขบันทึก: 598742เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2015 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ธันวาคม 2015 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท