พระธรรมเทศนาเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตอนที่ ๑)


พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สามในราชวงศ์จักรี เพราะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ยังมีคนไทยน้อยคนทราบและสนใจถึงพระบรมราชปรีชาญาณ ตลอดจนพระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานไว้ต่อประเทศชาติ ซึ่งทั้งในรัชสมัยของพระองค์และต่อมานั้นมีคุณค่าอย่างยิ่งสำหรับประเทศชาติและชาวไทย โดยเฉพาะพระราชนโยบายในการดำเนินราชกิจที่เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ จะเห็นได้ว่าแม้แต่ชาวต่างประเทศผู้ซึ่งในรัชสมัยของพระองค์ซึ่งคิดที่จะเอาเปรียบประเทศไทย ก็ต่างยกย่องและเกรงขามในพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เสด็จเถลิงราชสมบัติในยามที่ประเทศไทยยังปั่นป่วน อันเป็นผลเนื่องแต่การเสียกรุงศรีอยุธยาต่อพม่า และยังเป็นขณะเวลาที่กำลังเพิ่งจะเริ่มตั้งตัวได้ โดยที่ศึกพม่าก็ยังต้องทำอยู่ และพร้อมๆกันนี้ ภัยจากนโยบายการขยายจักรวรรดิของชาวตะวันตกก็ได้ขยายตัวถึงขีดสุดและคืบหน้าเข้ามาในตะวันออกไกล กำลังจะเป็นภัยต่อชาติไทยอย่างยิ่งใหญ่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กลับทรงใช้ภัยทั้งสองประการนี้ให้เป็นประโยชน์เพื่อความปลอดภัยของประเทศชาติ ทรงทำให้ภัยจากการรุกรานของพม่าหมดไป ด้วยการใช้การขยายอาณานิคมของประเทศอังกฤษนั่นเองเป็นเครื่องมือ และพร้อมๆกันนี้ก็ทรงใช้พม่าเป็นเครื่องมือกีดกั้นมิให้ภัยของการขยายอาณานิคมของชาวตะวันตกมาแผ้วพาลราชอาณาจักร พระราชนโยบายต่างประเทศต่างๆของพระองค์จัดได้ว่าเป็นรากฐานของนโยบายการต่างประเทศของไทย ซึ่งสมเด็จพระอนุชาธิราช พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระมหากษัตริย์ในรัชสมัยต่อมาทรงดำเนินตามกันมา จนเป็นเหตุให้ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในพื้นที่ถิ่นนี้ที่ดำรงอิสรภาพอยู่ได้ และเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบกระเทือนจากผลของการขยายอาณานิคม ของประเทศตะวันตกน้อยที่สุด

พระธรรมเทศนาเฉลิมพระเกียรติ

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชนิพนธ์ใน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

(ตอนที่ ๑)

พระธรรมเทศนาเฉลิมพระเกียรติ

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชนิพนธ์ใน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

(ตอนที่ ๑)

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล โปรดให้พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพะราชทานเพลิงศพ “ หม่อมเจ้าชนม์เจริญ ชมพูนุท” ณ.เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๖

เนื่องด้วยจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าชนม์เจริญ ชมพูนุท ในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๖ ณ.เมรุวัด มกุฎกษัตริยาราม บุตรและธิดาหม่อมเจ้าชนม์เจริญ ได้มาปรึกษาข้าพเจ้า ว่าจะจัดพิมพ์หนังสือแจกเรื่องอะไรจึงจะเหมาะสม และขอให้ข้าพเจ้ารวบรวมเขียนพระประวัติ หม่อมเจ้าชนม์เจริญ ข้าพเจ้าได้แนะให้จัดพิมพ์หนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระราชประวัติ ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สามในราชวงศ์จักรี เพราะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ยังมีคนไทยน้อยคนทราบและสนใจถึงพระบรมราชปรีชาญาณ ตลอดจนพระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานไว้ต่อประเทศชาติ ซึ่งทั้งในรัชสมัยของพระองค์และต่อมานั้นมีคุณค่าอย่างยิ่งสำหรับประเทศชาติและชาวไทย โดยเฉพาะพระราชนโยบายในการดำเนินราชกิจที่เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ จะเห็นได้ว่าแม้แต่ชาวต่างประเทศผู้ซึ่งในรัชสมัยของพระองค์ซึ่งคิดที่จะเอาเปรียบประเทศไทย ก็ต่างยกย่องและเกรงขามในพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เสด็จเถลิงราชสมบัติในยามที่ประเทศไทยยังปั่นป่วน อันเป็นผลเนื่องแต่การเสียกรุงศรีอยุธยาต่อพม่า และยังเป็นขณะเวลาที่กำลังเพิ่งจะเริ่มตั้งตัวได้ โดยที่ศึกพม่าก็ยังต้องทำอยู่ และพร้อมๆกันนี้ ภัยจากนโยบายการขยายจักรวรรดิของชาวตะวันตกก็ได้ขยายตัวถึงขีดสุดและคืบหน้าเข้ามาในตะวันออกไกล กำลังจะเป็นภัยต่อชาติไทยอย่างยิ่งใหญ่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กลับทรงใช้ภัยทั้งสองประการนี้ให้เป็นประโยชน์เพื่อความปลอดภัยของประเทศชาติ ทรงทำให้ภัยจากการรุกรานของพม่าหมดไป ด้วยการใช้การขยายอาณานิคมของประเทศอังกฤษนั่นเองเป็นเครื่องมือ และพร้อมๆกันนี้ก็ทรงใช้พม่าเป็นเครื่องมือกีดกั้นมิให้ภัยของการขยายอาณานิคมของชาวตะวันตกมาแผ้วพาลราชอาณาจักร พระราชนโยบายต่างประเทศต่างๆของพระองค์จัดได้ว่าเป็นรากฐานของนโยบายการต่างประเทศของไทย ซึ่งสมเด็จพระอนุชาธิราช พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระมหากษัตริย์ในรัชสมัยต่อมาทรงดำเนินตามกันมา จนเป็นเหตุให้ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในพื้นที่ถิ่นนี้ที่ดำรงอิสรภาพอยู่ได้ และเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบกระเทือนจากผลของการขยายอาณานิคม ของประเทศตะวันตกน้อยที่สุด พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระอัยยิกาของ หม่อมเจ้าชนม์เจริญ หม่อมเจ้าชนม์เจริญทรงเป็นโอรสองค์ที่ ๔ ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชมพูนุท กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์พระราชโอรสหม่อมเป้าเป็นหม่อมมารดา ประสูติเมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๓๔ ตามลำดับดังนี้

๑.พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวร สิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภุชชงค์)

๒.หม่อมเจ้าหญิงสงวนวงศ์วัฒนา

๓.หม่อมเจ้า โสตถิผล

๔.หม่อมเจ้า ชนม์เจริญ

ข้าพเจ้ารู้จักรักใคร่นับถือหม่อมเจ้าชนม์เจริญ ซึ่งข้าพเจ้าเรียกว่าลุงชนม์ ทั้งๆที่ท่านมีศักดิ์เป็นตามาตั้งแต่สมัยที่ข้าพเจ้ายังนุ่งกางเกงติดกัน และติดต่อสัมพันธ์กับท่านตลอดมา นับเป็นเวลาหลายสิบปี ทั้งนี้เพราะว่า

เมื่อพระชนม์ท่านได้ราว ๑ ปี พระบิดาของท่านกรมขุนเจริญผล ทรงพระประชวรหนัก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเยี่ยมพระอาการ กรมขุนเจริญผลได้กราบบังคมทูลว่า ท่านได้ทรงนิมนต์ให้พระโอรสพระองค์ใหญ่ คือสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ซึ่งขณะนั้นทรงผนวชอยู่ให้ทรงลาสิกขาออกมาดูแลน้องๆ แต่พระสังฆราชเจ้าได้ทรงปฏิญาณไว้แล้วว่าจะไม่ทรงลาผนวชจนตลอดพระชนม์ชีพ ท่านจึงขอทูลเกล้าถวายพระโอรสคือ ลุงโสต (ม.จ.โสตถิผล) กับลุงชนม์เป็นข้าใต้เบื้องพระยุคลบาท ดังนั้นเมื่อกรมชุนเจริญผลสิ้นพระชนม์แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงรับลุงชนม์เข้ามาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง และเนื่องด้วยลุงชนม์เป็นเจ้านายในรัชกาลเดียว (รัชกาลที่ ๓) กับพระวิมาดาเธอ กรมพระสุธาสินีนาถ (พระอรรคชายาในขณะนั้น) จึงได้พระราชทานให้พระวิมาดาผู้ทรงเป็นย่าของข้าพเจ้า เป็นผู้ปกครองดูแลลุงโสต ลงุชนม์ และพระวิมาดาก็ได้สนองพระมหากรุณาธิคุณตามพระราชกระแสรับสั่งมาจนตลอดพระชนม์ชีพ

ลุงชนม์ประทับอยู่กับพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนารถ ในพระบรมมหาราชวัง จนกระทั่งทรงโสกัณฑ์ พระวิมาดาจึงได้โปรดให้เสด็จออกมาประทับอยู่นอกพระบรมมหาราชวัง และทรงศีกษาในโรงเรียนมกุฎราชกุมารจนทรงจบหลักสูตร ต่อมาได้ทรงผนวชเป็นสามเณร จนกระทั่งมีพระชนม์ครบจึงทรงผนวช สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ และทรงจำพรรษาอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร

ภายหลังที่ทรงลาสิกขาบทแล้ว พระวิมาดาโปรดให้ไปประทับอยู่ที่วังลดาวัลย์ โดยประทานให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร พระโอรสเป็นผู้ทรงอุปการะ และโปรดให้รับราชการในกระทรวงมหาดไทย

ในปี พ.ศ.๒๔๕๕ ได้ทรงสมรสกับคุณเขียน บุณยมานพ ธิดา คนโตของพระยาสัตยพรตสุนันนท์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ มีโอรส ธิดา ๑๒ คน กับหม่อมเขียน ๑๐ คน และหม่อมเรียมอีก ๒ คน

๑.ม.ร.ว.หญิง ชมพู

๒.ม.ร.ว.หญิง ฟูผล

๓.ม.ร.ว.ชนม์สวัสดิ์

๔.ม.ร.ว.มนัศปรีดี

๕.ม.ร.ว.หญิง ฉวีเฉลิม

๖.ม.ร.ว.เสริมจิต

๗.ม.ร.ว.ชิดฉันท์ (ถึงแก่กรรม)

๘.ม.ร.ว.จันทร์ศรี (ชัยวัฒน์) (ในหม่อมเรียม ชมพูนุท)

๙.ม.ร.ว.หญิง ฤดีมน

๑๐.นาวาอากาศตรี ม.ร.ว.อนุผลพัฒน์ (ในหม่อมเรียม ชมพูนุท)

๑๑.ม.ร.ว.วัฒนากร

๑๒.ม.ร.ว.อนุจรจรัส

เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๘ ลุงชนม์ ทรงลาออกจากราชการมาประกอบธุรกิจส่วนพระองค์ ต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๐ เริ่มประชวรด้วยโรคพระหทัย และประชวรกระเสาะกระแสะเรื่อยมา โดยพระอาการดีบ้างทรุดบ้างตลอดมา จนกระทั่งวันศุกร์ที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๐๖ ได้สิ้นพระชนม์ชีพที่บ้าน เลขที่ ๕๐๗/๓ ถนนศรีอยุธยา พญาไท

ยศที่ได้ทรงรับ

พ.ศ.๒๔๖๐ มหาดเล็กสำรอง

พ.ศ.๒๔๖๑ มหาดเล็กพิเศษ

พ.ศ.๒๔๖๓ รองหุ้มแพร

พ.ศ.๒๔๖๖ หุ้มแพร

พ.ศ.๒๔๖๙ สำรองอำมาตย์เอก

ตำแหน่ง

พ.ศ.๒๔๕๔ เสมียนมหาดไทยมณฑลปราจีน

พ.ศ.๒๔๕๕ รองปลัด ฉะเชิงเทรา

พ.ศ.๒๔๕๗ นักเรียนปกครอง

พ.ศ.๒๔๕๗ รองปลัด ระยอง

พ.ศ.๒๔๕๘ รองเวรกระทรวงมหาดไทย

พ.ศ.๒๔๖๙ – ๒๔๗๔ ปลัดกรม กระทรวงมหาดไทย

พ.ศ.๒๔๗๖ เสมียนตรามณฑลอุดรธานี

พ.ศ.๒๔๗๗ นายอำเภอบ้านผือ อุดรธานี

พ.ศ.๒๔๗๘ นายอำเภอหมากแข็ง อุดรธานี

พ.ศ.๒๔๘๐ ปลัดจังหวัดพิจิตร

พ.ศ.๒๔๘๑ นายอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง

พ.ศ.๒๔๘๒ ปลัดกรม กรมมหาดไทย

เครื่องราชอิสสริยภรณ์

พ.ศ.๒๔๖๒ เหรียญรัตนาภรณ์ชั้น ๕

พ.ศ.๒๔๖๔ ตรามงกุฎสยามชั้น ๕

พ.ศ.๒๔๖๗ ตราช้างเผือกชั้น ๕

พ.ศ.๒๔๗๓ ตรามงกุฎสยามชั้น ๔

พ.ศ.๒๔๘๐ (จ.ป.๔) ตราช้างเผือกชั้น ๔

ดังได้กล่าวแล้วว่า ข้าพเจ้าสนิทสนมกับท่านมานาน ตลอดจนท่านได้เคยเสด็จมาช่วยเหลือทำงานให้ข้าพเจ้า จึงพอจะกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้ารู้จักท่านดี ลุงชนม์มีพระนิสัยเงียบสุขุมและอ่อนโยน ไม่ค่อยชอบยุ่งกับคนอื่น แต่พร้อมๆกันนี้ มิใช่ว่าท่านจะเป็นคนที่อ่อน ตรงกันข้าม ท่านเป็นผู้ที่รักษาเกียรติตนอย่างยิ่ง เพราะว่าเมื่อท่านมีความคิดเห็นของตนอย่างไร ในเมื่อท่านเห็นว่าท่านถูก ท่านก็มักจะรักษาไว้ไม่ค่อยจะโอนอ่อนผ่อนให้ใครง่ายๆ ชีวิตของท่านก็คล้ายๆกับพระนิสัย คือท่านไม่เคยรุ่งโรจน์เฟื่องฟูจนเหลือเฟือ แต่ท่านก็ไม่ทำความเสียหาย ไม่ทำให้ใครต้องเดือดร้อน ท่านเป็นคนที่ต้องต่อสู้กับภาวะของชีวิตมาตลอดพระชนม์ชองท่าน ดังเช่นที่บิดาผู้มีบุตรมากส่วนใหญ่ที่ต้องเผชิญ ในเมื่อท่านมาสิ้นพระชนม์ลง จึงเป็นที่เศร้าโศกของญาติมิตรที่คุ้นเคยรักใคร่ท่านเป็นอย่างยิ่ง

ภาณุพันธุ์

คัดลอกโดย ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๘

หมายเลขบันทึก: 598718เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2015 17:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ธันวาคม 2015 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท