๓๕๖. สอนการเขียน..ไม่ยากอย่างที่คิด....


ผมยังเชื่อว่า..ผู้บริหารสถานศึกษานี่ล่ะ คือ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้วยการประยุกต์นโยบายสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ให้ตรงกับ สภาพปัจจุบัน ปัญหา และเป้าหมายของโรงเรียน.........

นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย ที่สอนวิชาชีพครู..มากมายหลายคน เริ่มไม่เห็นด้วย ที่กระทรวงศึกษาธิการ จะพัฒนาสถานศึกษาขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ด้วยนโยบาย หรือแนวดำเนินการที่เป็นรูปแบบเดียวกันหมด เพราะในความเป็นจริงนั้น ต่างบริบทก็ย่อมมีศักยภาพในการพัฒนาให้เข้าถึงนโยบายได้แตกต่างกัน..

ครับ..เราไปเปลี่ยนแปลงความคิดความอ่านผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองนี้ไม่ได้จริงๆ นอกจากรับฟังนโยบาย แต่ทำให้มันหลากหลายในการปฏิบัติ สิ่งสำคัญที่สุด..ผมยังเชื่อว่า..ผู้บริหารสถานศึกษานี่ล่ะ คือ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้วยการประยุกต์นโยบายสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ให้ตรงกับ สภาพปัจจุบัน ปัญหา และเป้าหมายของโรงเรียน.........

คิดได้ดั่งนี้ จึงประชุมครูและบอกครูว่า เหลือเวลาในปีการศึกษานี้อีกเพียง ๓ เดือน การอ่าน ของนักเรียนเป็นอย่างไร คำตอบคือ..อยู่ในระดับปานกลาง ค่อนข้างดี ปัญหาอยู่ที่ไหน คำตอบคือ..ทักษะการเขียน ยังอ่อนอยู่ ต้องเร่งปรับปรุงแก้ไข..

แล้วครูใช้วิธีการใด..ครูบอกว่า ให้เขียนตามคำบอก...โดยใช้คำพื้นฐานให้ตรงกับระดับชั้น ผมถามครูว่า แล้วแก้ปัญหา ..ที่ครูพบบ่อยมาก..ได้ไหม โดยเฉพาะ ป.๒ – ป.๔ ที่ว่า นักเรียนเขียนเป็นเรื่องราว ทั้งที่เป็นเรื่องจากจินตนาการและเรื่องจากประสบการณ์ ....นักเรียนเขียนไม่ได้ ไม่มีพัฒนาการ... ตกลงครูแก้ปัญหาไม่ได้

ผมต้องบอกครูว่า การสอนการเขียน เป็นวิชาทักษะ ต้องฝึกบ่อยๆ และต้องมีรูปแบบที่น่าสนใจ เด็กต้องเรียนรู้จากง่ายไปหายาก แต่ถ้าครูเอาแต่บ่น ไม่เริ่มต้นเสียที ปัญหาจะไปตกที่ ป.๕ – ๖

ผมยกตัวอย่าง..และบอกครูว่า เด็กต้องเข้าใจรูปแบบ และเริ่มจากการเลียนแบบก่อน เช่น...

ฉันกับน้อง//เดินไปโรงเรียน//ในตอนเช้า//ผ่านหมู่บ้าน//และทุ่งนา//ฉันเห็นคนเลี้ยงวัว//ฝูงวัวมีมากมาย//หลายร้อยตัว//น้องจะเดินไป//เก็บดอกบัว//ที่หนองน้ำ//ฉันห้ามไว้//เพราะกลัวน้อง//จะตกน้ำ//พอถึงโรงเรียน//เก็บกระเป๋าหนังสือ//ฉันกับน้อง//ไปช่วยเพื่อนๆ//ทำความสะอาด//บริเวณถนน//หน้าอาคารเรียน

โดยครู..ให้นักเรียนเขียนข้อความตามคำบอก ข้อความละบรรทัด จากนั้น ครูตรวจข้อความ และสอนการแบ่งวรรคตอน แล้วให้นักเรียนเขียนเรื่องนี้อีกครั้ง....จำนวน ๑ ย่อหน้า อย่างถูกต้องและตัวบรรจง

ครับ..เด็กต้องการตัวอย่างที่ง่ายและใกล้ตัว ต้องการมีความสุขและประสบความสำเร็จในการเขียน ครูต้องค่อยๆฝึก เด็กก็จะซึมซับรับรู้.. จนเป็นวิธีการเขียนของเขาเอง...

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๘



หมายเลขบันทึก: 598459เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2015 18:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2015 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมเองก็ไม่ชอบการพัฒนาโรงเรียนแบบกระทรวงสั่งเพราะโรงเรียนแต่ละที่บริบทต่างกันมาก

แถมนักเรียนก็ต่างกัน

การเขียนเป็นทักษะ ถ้าให้นักเรียนเขียนบ่อยๆ

จะพัฒนาการเขียนได้ดีครับ

สมัยก่อนจะถูกให้เขียนเรียงความ

โตขึ้นมาเลยมีทักษะการเขียนที่ดีครับ

ขอบคุณครับ

...การเขียน...ไม่ว่าจะสอน หรือเป็นการฝึกฝน การเริ่มต้น เป็นสิ่งสำคัญครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท