010_สมรรถนะการเรียนรู้ และความรู้สำคัญใน ศ.21


ในการสอนนักเรียน ครูมักจะพูดถึงการสอนความรู้ และทักษะให้กับนักเรียน เช่น วิชาคณิตศาสตร์ สอนเรื่องเศษส่วน(ความรู้) และสอนวิธีการนำเศษส่วนไปประยุกต์ใช้งานแก้ปัญหาโจทย์ในชีวิตประจำวัน(ทักษะการใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์) หรือในวิชาสังคม สอนเรื่อง วัฒนธรรม(ความรู้) และสอนวิธีการเปรียบเทียบ วิเคราะห์วัฒนธรรมของชนชาติต่างๆ เพื่อเข้าใจวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในชาตินั้น

แต่...

แต่สิ่งที่ครูควรพัฒนานักเรียน ควรเป็นการพัฒนาด้านสมรรถนะ ซึ่งมีความลึกซึ้งมากกว่าความรู้ และทักษะ ที่เราคุ้นเคย

สมรรถนะการเรียนรู้ คือ อะไร

สมรรถนะ (Competency) คือคุณลักษณะที่ผู้เรียนควรจะมี อันได้แก่

1) แรงขับ (Drive) ข้อนี้สำคัญมากและมักจะลืมกันไป หากไม่มีข้อนี้ ต่อให้พยายามพัฒนาอีก 2 ข้อที่เหลือไปสักเท่าใดก็ตาม ผู้เรียนก็จะยังไม่เกิดสมรรถนะได้สมบูรณ์ แรงขับแบ่งย่อยออกอีกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

1.1) เจตคติ (attitude) ความรู้สึกที่มีต่อความรู้นั้นๆ พูดง่ายๆคือ ใจมาไหม ชอบไหน โดนไหม ปิ๊งไหม

1.2) ความเป็นเจ้าของ (ownership) ตัดใจสินที่จะอยู่กับความรู้นั้นไหม คือ นอกจากชอบแล้ว ยังอยากจะหยิบมาใช้บ่อยๆด้วย

1.3) ความเพียร (perseverance) มีความพยายามที่จะทำ ไม่ท้อถอย ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็จะทำ

2) ความรู้ (Knowledge) หรือเนื้อหาความรู้ของบทเรียนนั้นๆ

3) ทักษะ (Skill) คือ การนำความรู้นั้นใช้ประยุกต์ใช้ แบ่งได้เป็น

3.1) ทักษะวิธี (procedure skill) คือ ความชำนาญในการใช้เครื่องมือสำเร็จรูป เช่น ความคล่องแคล่วในการใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ สามารถหยิบสูตรได้เหมาะสมกับโจทย์ปัญหา และมีลำดับการใช้สูตรอย่างถูกต้อง

3.2) ทักษะกระบวนการ (process skill) คือ ความชำนาญในการแก้ปัญหา สามารถวิเคราะห์ปัญหา คิดหาวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ ความถึงความสามารถในการสร้างเครื่องมือขึ้นมาใหม่ เพื่อแก้ปัญหากรณีนั้นๆ


เมื่อนำทั้งหมดมาเขียนออกเกณฑ์ประเมินเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนด้านสมรรถนะการเรียนรู้ จึงเขียนได้ในตารางดังนี้

**สามารถกดที่รูป เพื่อดูเนื้อหาได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น


ในตารางดังกล่าว ผู้สอนจะแตกช่องการประเมินให้คะแนนออกไปทางขวา ได้ตามระดับความเข้มข้น เช่น

4 คะแนน คือ มากที่สุด ไล่ลงไปถึง 1 คะแนนคือ พบเห็นได้น้อย

เมื่อผู้สอนสามารถประเมินระดับผู้เรียนตามตารางดังกล่าว จะทำให้ผู้สอนสามารถเห็นจุดปรับปรุงของตนเอง และของผู้เรียน และนำไปพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นไป


สังเกตได้ว่า การประเมินสมรรถนะ เราไม่ได้เน้นเรื่องของเนื้อหา ว่าผู้เรียนควรรู้เรื่องใดบ้าง มากน้อย/ลึกตื้นเพียงใดเลย

เพราะในยุคนี้ ผู้เรียนสามารถสืบค้น และเรียนรู้เนื้อหาอะไรก็ได้ได้ด้วยตนเอง (หรือจากผู้มีประสบการณ์ ที่จะได้พบเจอในอนาคต) แต่สิ่งที่ผู้สอนควรปลูกฝังให้ติดตัวผู้เรียนไปตลอดชีวิต คือ สมรรถะทั้ง 9 ข้อนี้

เมื่อผู้เรียนมีสมรรถนะที่ดีแล้ว จะสามารถเรียนรู้เรื่องอะไรก็ได้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์กับตัวผู้เรียนแน่นอน

คำสำคัญ (Tags): #เพลินพัฒนา
หมายเลขบันทึก: 598349เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2015 15:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2015 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท