​กฎหมายคุก ตอน กฎหมายเกี่ยวกับการให้นักโทษออกไปทำงานนอกเรือนจำ


กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๕๘) เป็นนวัตกรรมทางกฎหมายใหม่ของไทย ที่รองรับแนวคิด ระบบเรือนจำแรงงาน (Prison Labor System) ในการใช้แรงงานนักโทษให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แนวคิดการทำงานในช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transitional Work) แนวคิดในการอนุญาตให้นักโทษออกไปทำงานนอกเรือนจำเป็นการชั่วคราว (Work Release) และ ทฤษฎีลดค่าใช้จ่ายคุกในทันที ( Reduction in immediate costs Theory) ในการช่วยหารายได้ลดค่าใช้จ่ายคุกซึ่งมาจากภาษีอากรของประชน รวมตลอดถึง แนวคิดในการให้บริการประชาชนฟรี (Public service)..........................


กฎหมายคุก ตอน กฎหมายเกี่ยวกับการให้นักโทษออกไปทำงานนอกเรือนจำ


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์


กฎหมายคุก หรือ กฎหมายบังคับโทษ ตอน กฎหมายเกี่ยวกับการให้นักโทษออกไปทำงานนอกเรือนจำของไทย คือ กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๕๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. ๒๔๗๙ ลงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๘ โดยจะเป็นการกล่าวถึง แนวคิด /ทฤษฎี วัตถุประสงค์ หลักเกณฑ์และแนวทางการดำเนินงาน โดยสังเขป ดังนี้



แนวคิด /ทฤษฎี ที่สำคัญ ได้แก่ แนวคิดในการบริการสังคม แนวคิดในการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังในชุมชน แนวคิดในการลดการกระทำความผิดซ้ำ แนวคิดในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในงานเรือนจำ แนวคิดในการช่วยให้นักโทษมีรายได้ไว้ใช้สอยระหว่างต้องโทษ มีรายได้ช่วยเหลือครอบครัว และ เก็บเงินไว้เป็นทุนประกอบอาชีพภายหลังพ้นโทษ แนวคิดในการใช้แรงงานนักโทษให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือ แนวคิดเรือนจำระบบแรงงาน ส่วนทฤษฎีสำคัญที่รองรับ คือ ทฤษฎีการแก้ไขฟื้นฟู และ ทฤษฎีลดค่าใช้จ่ายคุกในทันที

วัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดลักษณะของงานสาธารณะที่จัดให้นักโทษเด็ดขาดออกไปทำงานนอกเรือนจำ เพื่อให้สามารถตอบสนองประชาชนและสังคมได้กว้างขวางขึ้น

ด้านหลักเกณฑ์และแนวทางการดำเนินงาน กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๕๘) ข้อ ๑ (๑) และ (๒) กำหนดให้เรือนจำสามารถจัดนักโทษเด็ดขาดออกไปทำงานใดๆ ที่มิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน เงินของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น เงินของรัฐวิสาหกิจ เงินของหน่วยงานอื่นของรัฐ ซึ่งมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยทั่วไป การจัดทำบริการสาธารณะ การช่วยเหลือบรรเทาสาธารณะภัยหรือการอื่นใด ที่มีลักษณะเป็นบริการสังคม ทั้งนี้ ไม่ว่างานนั้นจะมีผลประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ และ แก้ไขวิธีการจ่ายรางวัลใหม่เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมยิ่งขึ้น ตาม ข้อ ๒ ความว่า หากงานสาธารณะที่จัดให้นักโทษเด็ดขาดทำ นั้น มีผลประโยชน์ตอบแทนให้หักเป็นค่าใช้จ่ายก่อน เหลือเท่าใดให้ จ่ายเป็นรางวัลให้แก่นักโทษเด็ดขาดผู้มีส่วนร่วมในการทำงานนั้น ร้อยละเจ็ดสิบ จ่ายเป็นรางวัลให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ร้อยละสิบห้า และ ให้เป็นรายได้ของเรือนจำร้อยละสิบห้า




โดยสรุป


กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๕๘) ที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้นักโทษออกไปทำงานนอกเรือนจำของไทย ดังกล่าว เป็นนวัตกรรมใหม่ทางกฎหมายเกี่ยวกับการให้นักโทษออกไปทำงานนอกเรือนจำ ได้จำแนกงานสาธารณะ เป็น ๓ ประเภท คือ งานของภาครัฐ เอกชน และ งานบริการสาธารณะ โดยเน้น แนวคิดในการบริการสังคม และ แนวคิดระบบเรือนจำแรงงาน (การให้นักโทษทำงานรับจ้างภายนอกเรือนจำ) มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองประชาชนและสังคม ซึ่งหมายความว่า ต่อไปนี้เรือนจำไทยสามารถให้นักโทษทำงานรับจ้างภายนอกเรือนจำ ทั้ง งานของภาครัฐ ภาคเอกชน (บริษัท โรงงานอุตสาหกรรมของเอกชนภายนอกเรือนจำ) และ งานสาธารณะที่ไม่มีผลประโยชน์ตอบแทน ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่สามารถรับจ้างทำงานภายนอกเรือนจำได้เฉพาะของหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงการกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายรางวัลให้แก่นักโทษผู้มีส่วนร่วมในการทำงาน นั้น สูงถึงร้อยละเจ็ดสิบ พนักงานเจ้าหน้าที่ร้อยละสิบห้า และ เรือนจำร้อยละสิบห้า จึงนับเป็นนวัตกรรมทางกฎหมายใหม่ของไทยที่รองรับแนวคิด ระบบเรือนจำแรงงาน (Prison Labor System) ในการใช้แรงงานนักโทษให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แนวคิดการทำงานในช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transitional Work) แนวคิดการอนุญาตให้นักโทษออกไปทำงานนอกเรือนจำเป็นการชั่วคราว (Work Release) และ ทฤษฎีลดค่าใช้จ่ายเรือนจำในทันที ( Reduction in immediate costs Theory) ในการช่วยหารายได้ ลดค่าใช้จ่ายเรือนจำ ซึ่งมาจากภาษีอากรของประชน รวมตลอดถึง แนวคิดในการให้บริการประชาชนฟรี (Public service)


.........................



อ้างอิง

ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการคัดเลือกนักโทษเด็ดขาดจ่ายออกทำงานนอกเรือนจำประเภทความสามารถหรือทักษะพิเศษ พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๘

ข้อมูลภาพจากเว็บไซต์ https://www.cartoonstock.com/directory/p/prison_wo...




หมายเลขบันทึก: 597735เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2015 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2015 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นกฎหมายใหม่เอี่ยมถอดด้ามเลยนะคะ

และนักโทษยังมีรายได้อีกด้วย

"....หากงานสาธารณะที่จัดให้นักโทษเด็ดขาดทำ นั้น มีผลประโยชน์ตอบแทนให้หักเป็นค่าใช้จ่ายก่อน เหลือเท่าใดให้ จ่ายเป็นรางวัลให้แก่นักโทษเด็ดขาดผู้มีส่วนร่วมในการทำงานนั้น ร้อยละเจ็ดสิบ จ่ายเป็นรางวัลให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ร้อยละสิบห้า และ ให้เป็นรายได้ของเรือนจำร้อยละสิบห้า..."

กฎหมายดี ต้องมีคนใช้ รถยนต์ดี ต้องมีคนขับ.....ขอบคุณมากกครับอาจารย์ nui

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท