การพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่น เพื่อรับการเปลี่ยนแปลงของโลก ในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


วันนี้ (10 พฤศจิกาย 2558) ผมได้รับเกียรติจากกรมเจรจการค้าระหว่างประเทศมาบรรยยายพิเศษหัวข้อ "การพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่น เพื่อรับการเปลี่ยนแปลงของโลก” ใน การสัมมนา “โอกาส ผลกระทบ และการปรับตัวสู่การเปิดเสรีทางการค้าในระดับท้องถิ่น" ที่โรงแรมกิจตรงวิลล์ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งผมได้พูดถึงประเด็นหลักในการเข้าสู่อาเซียนและยังได้ให้ทำ Workshop 3 เรื่องเกี่ยวกับโครงการที่จะทำและเสนอในท้องถิ่นและชุมชนที่จะทำและทำอยู่แล้วเพื่อให้โครงการสู่อาเซียนและจุดอ่อน จุดแข็งและวิธีที่จะพัฒนาทุนมนุษย์ในท้องถิ่นให้ประสบความสำเร็จจะทำได้อย่างไร แต่ละกลุ่มมีข้อเสนอแนะแนวคิดดีที่ควรที่จะนำไปทำต่อได้ครับ

หมายเลขบันทึก: 597180เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2015 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2015 13:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ทีมงาน Chiraacademy

การสัมมนา “โอกาส ผลกระทบ และการปรับตัวสู่การเปิดเสรีทางการค้าในระดับท้องถิ่น” หัวข้อ การเสวนาเรื่อง “การพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่น เพื่อรับการเปลี่ยนแปลงของโลก” กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • สวัสดีผู้นำกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดูรายชื่อแล้วเป็นเทศบาล อบต.และผู้นำท้องถิ่นทั้งท่านนายกฯและปลัดทุกท่าน
  • สิ่งที่ทำในวันนี้เป็นสิ่งที่ผมสะสมวิธีการ การเปลี่ยนแปลงไม่เฉพาะอาเซียน ทำมัยที่ดินในภาคอีสานถึงขึ้นราคา
  • การศึกษายุคต่อไปอยู่ในมือพวกเรา ต้องทำเรื่องทุนมนุษย์ อาเซียนเปิดโอกาสให้เราได้คิดกว้าง
  • ต้องสนใจเรื่องคน ผมหวังดีเรื่องทุนมนุษย์
  • ในเรื่องภูมิศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ผมอยากกระเด้งไปสู่การค้นหาตัวเอง และทำ Workshop โลกเปลี่ยนแปลงเราต้องเข้า ASEAN และจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาด้วย

อ.พิชญ์ภูรี : ภาพรวมในแผนที่คือสิ่งที่ผู้นำต้องทำ อ.จีระเรียนทฤษฎีตัว T ทางกรมเจรจาฯต้องปรับตัวให้เหมือนตัวที

ต้องมีความรู้ ต้องเป็นทฤษฎีกระเด้งและกระโดดขึ้น และสามารถกลับไปใช้ต่อได้

อ.จีระ : วัฒนธรรม วิถีชีวิตต้องการศึกษามีภาษาที่แน่นอน มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมูลค่าหลายแสนล้าน อยู่ต่างจังหวัดนั้นดีมากๆ

  • กลับไปต้องคิดถึงประชาชน ไม่ใช่ชาวนาอย่างเดียว ต้องกระจายไปให้ได้มากที่สุด หลักสูตรนี้ทำให้มีการคิดเป็น หรือเรียกว่า Chira way
  • ถ้าจะพัฒนาคน ถ้าทำแค่เหมือนปลูกแตงกวา เพราะปลูกแค่ 3 เดือน เพราะการปลูกเรื่องคน ต้องปลูกทั้งชีวิต ทำตลอดชีวิต
  • ค้นหาตัวเอง รู้จักยกย่องตัวเอง และให้เกียรติคนอื่น เราต้องขึ้นบันได ฝึกคิด และใฝ่รู้
  • คิดให้เป็นและมีบรรยากาศที่ดี คิดให้เป็น ผมพูด 1 2 3 คุณต้องทำ 4 5 6
  • และจบไปแล้ว คุณต้องได้อะไรกลับไปบ้าง
  • การปรับตัวเข้าอาเซียน ว่าฉันขาดอะไร และต้องแก้มันให้ได้ ในเวลา 2 ชั่วโมงนี้ขอให้ใช้ ทฤษฏี 2R คือ ตรงประเด็นและมองความจริง
  • การพัฒนาคนเพื่อรองรับอาเซียน ต้องไปใน 3V ได้วิธีการและวิธีการคิด และคิดให้มันไกลและหลุดโลก คิดสร้างสรรค์ คิดออกนอกกล่อง
  • เกิดขึ้นแล้วในห้องแล้วคือความหลากหลาย เอาทุกอย่างมาเป็นความสามัคคีและคิดร่วมมือกัน ต้องพึ่งตัวเอง มีวัฒนธรรม มีวิถีชีวิต ไม่ต้องรอให้ใครมาช่วยเหลือ

อ.พิชญ์ภูรี : ทฤษฎีต่างๆ เป็นการสอนเพื่อให้กลับไปใช้ในท้องถิ่น แต่ท่านต้องไปขยับและขับเคลื่อนในท้องถิ่น เรียนรู้และเอากลับใช้ก่อน ยกตัวอย่าง 2R คือต้องดูภาพรวมและคนในท้องถิ่น มีปัญหาอะไรหรือไม่ ภาษา การโกง เศรษฐกิจในท้องถิ่น จริยธรรม ทำอย่างไรแก้ปัญหาความจริงให้ได้ อ.ให้ทฤษฎี ตรงประเด็นขึ้น และมองความจริง และจะแก้อย่างไร ถ้าเงินเป็นเรื่องสำคัญ ต้องลงไปดู เรื่องวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ เช่น ข้าวหอมมะลิ และเพิ่มมูลค่าเพิ่มโดย 3V คือการเพิ่มมูลค่าเพิ่ม เช่น นำไปทำชูชิในโรงแรมได้ ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นมา ความหลากหลาย คือต้องเอาความสามารถหลายๆคนมารวมกันได้มีผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้เช่น บ้านเชียง วัฒนธรรมแบบนี้จับต้องไม่ได้ เป็นความรู้สึกมาแล้วรู้สึกเห็น ทำอย่างไรเรื่องแบบนี้ให้เกิดขึ้นในท้องถิ่นให้ได้ ต้องทำในเรื่องและทฤษฎี Chira way มาปรับให้ได้

อ.จีระ :ในโลกมีทรัพยากรอยู่ คนคือทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร ชุมชนและประเทศชาติ ผมอยากกระตุ้นให้คุณเป็นเลิศ

ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน ไม่ใช่เงิน สิ่งของหรือเครื่องจักร แต่เป็นคน เช่น สิงคโปร์ หรืออิสราเอล

  • วันนี้ชุมชนต้องคิดกว้าง อย่าคิดเฉพาะชุมชนหรือตำบลของเราเท่านั้น ดูว่าอาเซียนทำอะไรบ้าง อย่าหยุดการเรียนรู้

อ.จีระ : สร้างแนวร่วม ร่วมกัน และแบ่ง เป็นคัสเตอร์ ในภาคกลาง และรวมตัวกันเพื่อเป็นคัสเตอร์ อยากให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน อยากทราบว่าคุณคิดอย่างไร เกี่ยวกับโครงการ ที่จะทำ Workshop ในวันนี้ และนำไปพัฒนาในธุรกิจและกรมอื่นๆ และจะทำให้ทุกท่านได้แก่น

อ.พิชญ์ภูรี : กระตุ้นความเป็นเลิศทุกท่านออกมา ได้องค์ความรู้ กระบวนอะไรกระตุ้นกับองค์ความรู้ที่ท่านได้ จะได้เป็นทฤษฎี กระเด้งในวันนี้

อ.จีระ : วิธีการเรียนรู้ในวันนี้ คือ เริ่มจาก 4L's โดยการกระตุ้นให้คุณคิด สิ่งที่เราได้ฟัง เราสามารถค้นหาในตัวเอง บรรยากาศการเรียน ไม่น่าเบื่อ , การปะทะกันทางปัญญา คือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความหลากหลายของคนในกลุ่มต้องมาเป็นพลังและความหลากหลาย และเปลี่ยนมาเป็นมูลค่าให้ได้ ภูมิปัญญาจะสร้างมูลค่าได้อย่างไร มีการบริหารจัดการ มี Teamwork มีภาษาที่ดี และค้นหาตัวเอง นั่นคือ ความใฝ่รู้

  • Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี
  • Learning Environment มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี
  • Learning Opportunities สร้างโอกาสจากการเรียนรู้ร่วมกัน
  • Learning Communities เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้
  • อีกประเด็นคือ 2 R's คือ เราต้องรู้ความจริง ในอาเซียนคืออะไร อย่าเวอร์ รู้ความจริงในชุมชนของเรา ต้องรองรับการเปลี่ยนแปลงและการมีคุณค่าที่สูงขึ้น ลำดับความคิดให้เป็น Reality มองความจริง ,Relevance ตรงประเด็น
  • ประเด็นที่ 3 คือ มีความคิดใหม่ๆ ใน 3V's : Value Addedสร้างคุณค่า/มูลค่าเพิ่ม ,Value Creation สร้างคุณค่า/มูลค่าใหม่ ,Value Diversity สร้างคุณค่า/มูลค่าจากการ
  • ทำอย่างต่อเนื่อง เช่น ที่ผมทำที่ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬามาต่อเนื่อง 4 ปี อย่าทำและขึ้นหิ้ง ต้องนำไปทำต่อ
  • สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยใช้ C – U - V คือ Copy ทำตามอย่าง Understanding

บริหารความหลากหลาย

ใช้ความเข้าใจ ,Value Creation/Value added

สร้างมูลค่า/คุณค่าเพิ่ม

อ.พิชญ์ภูรี ความหลากหลาย คือมูลค่า และ ทฤษฎี ตัว T มีความลึก ในท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่น แต่ในทางแนวกว้างเรื่อง AEC เปิด ASEAN ซึ่งกว้างและเยอะมาก เลือกสิ่งที่มีประโยชน์และต่อเนื่องไปในอนาคต เสริมในสิ่งที่กรมฯทำ แล้วสรรหาความรู้ ไปในแนวนอน

อ.จีระ : บ้าน สิงคโปร์ อินโดฯ เป็นต้น คือตลาดของเรา ซึ่งเมื่อก่อน ตลาดปิด แต่ตอนนี้สามารถทำได้ สิ่งดีๆ อยู่ที่ชุมชน และขึ้นบันไดไปสู่ความเป็นเลิศ อย่ามีแค่มาตรฐานชุมชนอย่างเดียว แต่ต้องมีมาตรฐานโลกด้วย เชื่อมโยงในคัสเตอร์ และเชื่อมนักวิชาการ นักธุรกิจ ผู้ว่า นายอำเภอ มาร่วมกัน เพื่อทำงานร่วมกัน หากต้องการความช่วยเหลือสามารถ สร้างเครือข่ายร่วมกันกัน และต้องมีความไว้ใจซึ่งกันและกัน ต้องมีศักดิ์ศรีเท่ากัน

อ.พิชญ์ภูรี : Learning how to learn : 8k's 5k's คือทุนพื้นฐานของคน ต้องมีในหลายเรื่องมาร่วมด้วย เช่น ต้องมี 4L's , 2r's เป็นต้น ซึ่งรวมอยู่ในตารางนี้ เกิดความคิดในการ turn idea into Action และการทำงานและในการคิดโครงการ อาจจะเกิดนวัตกรรมขึ้นมาได้ จะมีกรอบและมีความต่อเนื่องไปถึงความยั่งยืน เป็นการสร้างและเกิดแรงบันดาลใจ และจะมีองค์ความรู้ใหม่ในเรื่องนี้

อ.จีระ: ความคิดแตกต่างกัน คือให้เกียรติกัน บางทีคนที่พูดน้อยอาจจะเก่งก็ได้

เราอยู่ยุคการเปลี่ยนแปลง เราต้องมีมาตรฐานที่เป็นเลิศ เราต้องปรับตัวเอง ลำดับแรกในการปรับตัวเรื่องคนในชุมชนคืออะไร ต้องตอบให้ได้จุดอ่อน คืออะไร จะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร ต้องมีการร่วมมือและแก้ไขในตนเอง ถามตัวเองว่าใน 4 วัน ต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน สร้างศักยภาพของเรา เป้าหมายคืออะไร ค้นหาตัวเอง ศักดิ์ศรีในตัวเอง

  • เคยจัดมาหลายครั้ง อยากให้ไปติดตามดูในลิงก์ได้
  • 10 ประเด็นที่ต้องรู้จริง..เพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี ข้อตกลงร่วมมือกัน เศรษฐกิจ และการค้า การลงทุน สังคมและวัฒนธรรม

ความมั่นคงทางการเมือง และสำคัญที่สุดจะเชื่อมโยงทั้ง 3 เรื่องเข้าด้วยกัน เรียกว่า “ASEAN

  • เสรี แปลว่า สินค้าและบริการที่ตกลงกันแล้ว จะไม่มีการกีดกัน ประเทศใดเก่งก็สามารถไปขายสินค้าหรือบริการในประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียนได้โดยไม่มีภาษีศุลกากร
  • แต่ขณะเดียวกัน.. ถ้าประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนเก่งกว่าประเทศไทย เขาก็เข้ามาแข่งกับประเทศเราได้ ถ้าท้องถิ่นอ่อนแอ.. ธุรกิจบางอย่างก็จะหายไป
  • นอกจากนั้น.. ยังเปิดเสรีเรื่องการลงทุน เช่น ประเทศใดมีความสามารถในการระดมทุนการเงินมากกว่าประเทศอื่น ก็เข้าไปลงทุนในประเทศเหล่านั้นได้ เช่น ถ้าสิงคโปร์มีทุนมากกว่าก็สามารถนำเงินมาลงทุนในประเทศไทยได้ เมื่อเห็นภาพดังกล่าวแล้ว..
    สิ่งที่สำคัญที่สุดในวันนี้ ก็คือ ค้นหาตัวท่าน ยิ่งไปกว่านั้นยังเปิดโอกาสให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามประเทศอาเซียนด้วย เช่น ถ้าคนไทยเก่งก็สามารถไปทำงานในอาเซียนได้ และคนมาเลเซียก็อาจจะมาทำงานแข่งกับคนไทยได้ คนไทยก็อาจจะตกงานได้ หากไม่พัฒนาทุนมนุษย์
  • ต้องคิด วิเคราะห์ว่าอะไรเกิดขึ้น เตรียมพร้อม และสำคัญที่สุดจะฉกฉวยโอกาส และหลีกเลี่ยงการคุกคามอย่างไร?
  • มีความมั่นใจว่าท้องถิ่นปรับตัวได้
  • มีทั้งโอกาสและความเสี่ยง สร้างโอกาสและสร้างปรับตัวกับความเสี่ยงให้ได้
  • ก่อนที่จะมีอาเซียนเสรี ก็มีการเปิดประเทศที่กำหนดโดยองค์การการค้าระหว่างประเทศ (WTO) หรือการเซ็นสัญญาเปิดเขตการค้าเสรีเฉพาะ (FTA) เช่น ไทย – อินเดีย, ไทย – จีน มาแล้ว ซึ่งในอดีตจุดอ่อน ก็คือ รัฐบาลยังไม่ได้ให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ ทำให้ประชาชนชาวไทยโดยเฉพาะผู้นำท้องถิ่นบางกลุ่มได้ แต่บางกลุ่มเสีย เช่น ผู้ส่งออกได้ แรงงานมีคุณภาพได้เพราะมีทักษะ และภาษาดีกว่า มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ธุรกิจเล็ก เช่น โชห่วย ต้องปิดตัวไป.. วันนี้จึงเป็นจุดที่สำคัญที่ได้มาแบ่งปันความรู้กัน
  • ในการปรับตัวของผู้นำท้องถิ่นในวันนี้ สิ่งแรกก็คือ เข้าใจ ศึกษาให้ถ่องแท้ โอกาสที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง อยู่ที่ว่าผู้นำจะฉกฉวยอย่างไร?
  • การปรับตัวที่สำคัญที่สุด ก็คือ เรื่องทัศนคติ คือ ประเทศไทยจะไม่เหมือนเดิม จะเป็นประเทศที่ต้องอยู่ร่วมกับประเทศอื่น ๆ อีก รวม 10 ประเทศ - ผู้นำท้องถิ่นไม่ใช่แค่ผู้นำของอำเภอหรือตำบล ในประเทศไทยอีกต่อไป จะต้องเป็นผู้นำในชุมชนเดียว (One Community) คือ ชุมชนอาเซียน
  • การปรับตัวครั้งนี้ต้องกระจายความรู้ไปยังชุมชนในแนวกว้าง
  • การปรับทัศนคติต้องเน้นการยกย่องให้เกียรติ ซึ่งกันและกัน ไม่ใช่มองบางประเทศยากจน เช่น มองพม่าว่าจนกว่าเรา เขามีมิตรภาพที่ดีต้องยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน (Respect and dignity ) นับถือเพื่อนบ้านด้วยความจริงใจ นี่คือ ทฤษฎี ตัว R และ ตัว D
  • รักษาภูมิปัญญาและรากเหง้าหรือความเป็นตัวตนของท้องถิ่นไทย แต่ที่สำคัญที่สุด ถึงเราจะเป็นชุมชนอาเซียน แต่เราก็ต้องคงไว้ที่ภูมิปัญญาและรากเหง้าความเป็นตัวตนของท้องถิ่นไทย ของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งในอนาคตก็จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น หากมีบริหารจัดการที่ดี
  • ถึงเราจะเข้าอาเซียนเราต้องเก็บของดีเอาไว้ เช่น เรื่องวัฒนธรรม เรามีด้านนี้มากที่สุด ในภาคอีสาน เปลี่ยนสิ่งเหล่านี้มาเป็นเงินให้ได้ ขอเน้นวิถีชีวิตเป็นหลัก ต้องเสนอในนามท้องถิ่นให้ได้
  • ถ่ายทอดออกมาเป็น Story ดูชุมชนและภูมิปัญญาของแต่ละพื้นที่
  • ต้องพัฒนา “คนไทย” ให้ “สื่อสาร” ภาษาอังกฤษ+ภาษาอาเซียนได้ ถึงเวลาแล้วที่ท้องถิ่นต้องพร้อมมากขึ้นในเรื่องภาษา ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน และยิ่งไปกว่านั้นภาษาคอมพิวเตอร์ ที่จะคุยแลกเปลี่ยนกับชาวอาเซียนด้วยกัน
  • ต้องสนับสนุนให้โรงเรียนภายใต้การดูแลของ อบจ. / เทศบาล และอบต. สนใจการพัฒนาภาษาต่างประเทศ ทั้งอังกฤษ + ภาษาอื่น ๆ เพื่อสร้างทุนมนุษย์ของประเทศไทยให้มีความสามารถเรื่องภาษาให้ได้โดยเร็วที่สุด
  • การปรับตัวที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือ ความใฝ่รู้ คือสร้างให้ท้องถิ่นเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ เปิดเวทีให้ชาวบ้านได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนกันไม่ใช่ผู้นำสั่งการให้ทำตามสั่งอย่างเดียว – ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นก็ต้องมีความใฝ่รู้ด้วยและต้องมีเจ้าหน้าที่ดูแลกิจกรรมที่เกี่ยวกับ“อาเซียน”เป็นพิเศษ ซึ่งจะต้องกระตุ้นให้ชุมชนสนใจและเข้าใจเพื่อสร้างโอกาส
  • การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ ในการอยู่รอดและแข่งขันได้ในวันนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ ของข้าราชการท้องถิ่น รวมทั้งประชาชน เกษตรกร และธุรกิจในระดับชุมชน หรือ หลายๆ คนอาจเรียกว่า รากหญ้า ผมขอเสนอแนวคิดการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์
  • 8K’s : Human Capital ทุนมนุษย์, Intellectual Capital ทุนทางปัญญา Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม, Happiness Capital ทุนแห่งความสุข, Social Capital ทุนทางสังคม, Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน, Digital Capital ทุนทาง ITalented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ
  • ให้เยาวชนจากหลายๆที่มาลิงก์กัน ระดับท้องถิ่น ในเอเซียน คุยเรื่องสิ่งแวดล้อม ผักปลอดสารพิษ หรือจะเป็นเรื่องยางก็ยังได้ ต้องเป็นคนคิดไกล ความรู้ที่ได้จากวันนี้จะนำไปใช้อย่างไรบ้าง นำไปใช้กับลูกบ้านอย่างไรบ้าง
  • จะกระเด้งได้ต้องมี 5K's
  • 5K's : Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ ,Knowledge Capital ทุนทางความรู้ ,Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม,Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ ,Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม
  • วัฒนธรรมเกิดมาก่อน มีภูมิปัญญาต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมให้เป็นประโยชน์ ต้องนำภูมิปัญญาของเราใส่ลงไป
  • ซึ่งประเด็นทั้ง 8k’s , 5K’s ก็คือ จะทำอย่างไรจึงจะพัฒนาศักยภาพของทุนเหล่านี้ในท้องถิ่นได้
  • สรุป..ผมหวังว่าแนวคิดทั้ง10 ประเด็นที่นำเสนอในวันนี้..จะเป็นบันไดขั้นแรกที่เราจะสามารถเดินไปข้างหน้าด้วยกัน
  • ถ้าผู้นำสนใจถึงจะเป็นหนทางที่ขรุขระ มีอุปสรรคมาก แต่ผมรู้ว่า ผู้นำในห้องนี้ มีสติปัญญา และหวังดี ถ้ามีแรงบันดาลใจ ร่วมมือกันทำงาน ใกล้ชิดกับประชาชนแล้วคงจะช่วยกันพัฒนาท้องถิ่นของเราให้ก้าวไปสู่การเสรีอาเซียนได้อย่างเข้มแข็ง..โดยจะมีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ+ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และผมจะช่วยกันเป็นแนวร่วมครับ

โอกาสแรก คือ เรื่องการขยายของตลาด เฉพาะอาเซียน อย่างเดียวก็เพิ่มประชากร/ผู้บริโภคเพิ่มจาก 64 ล้านคน เป็น 500 ล้านคน.. ถ้านับอาเซียน+6 ก็มีผู้บริโภคเพิ่มขึ้นหลายพันล้านคน

การปรับทัศนคติ ต้องรู้ภาษา ต้องรู้และปรับทัศนคติในโลกการเปลี่ยนแปลง คนไทยปรับยากมาก

8K’s และ 5 K’s ของผม ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ช่วยให้ผู้นำท้องถิ่นอยู่รอด และก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน

อ.พิชญ์ภูรี : อ.จีระ พูดไว้สรุป เราอยู่แบบเดิมไม่ได้แล้ว เราต้องพัฒนาต่อไป หาวิธีแก้ไขว่าเราขาดอะไร เราใช้วัฒนธรรมบ้านพี่เมืองน้อง ไม่ได้หมายความว่าใครใหญ่กว่า ใคร หลายแห่งทำประสบความสำเร็จมาแล้ว การบรรจุหีบห่อต้องมีความคิดสร้างสรรค์ หรือหาผู้รู้มาช่วยเสริม

workshop

  • จุดอ่อนทางด้านคุณคุณภาพของทุนมนุษย์ของท้องถิ่นที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงในระดับ ASEAN และระดับโลก 3 ข้อใหญ่ๆคืออะไร (อธิบาย)
  • เสนอแนะวิธีการที่จะพัฒนาทุนมนุษย์ในท้องถิ่นมีศักยภาพสูงขึ้น ต้องทำอย่างไร และให้ประสบความสำเร็จ
  • เสนอโครงการระดับในกลุ่มของท่าน เกี่ยวกับ ASEAN ที่คิดจะทำและทำอยู่แล้วที่เป็นไปได้ และทำใหม่ 2 โครงการ

1.จุดอ่อนทางด้านคุณคุณภาพของทุนมนุษย์ของท้องถิ่นที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงในระดับ ASEAN และระดับโลก 3 ข้อใหญ่ๆคืออะไร

กลุ่ม 1. นำเสนอ : นางนิชา จากโคราช ปัญหาเรื่องคน ในชุมชมในภาคอีสาน คุณภาพมีปัญหามาก การบริหารจัดการและการจัดการด้านความคิด ตามชนบท ไม่สนใจเรื่องเข้าสู่อาเซียน เขาไม่ได้ตั้งตัวและไม่รองรับเรื่องภาษาเลย การสื่อสารต่างๆ ทั้งคนบุคคลากรต่างๆที่จะได้ประโยชน์ต่ออาเซียน พื้นที่ระดับประชาชน ทั้ง 10ประเทศเราจะทำธุรกิจอะไร ซึ่งชุมชนเราทำไม่ได้เลย

ปัญหาเรื่องการศึกษา : การพัฒนาการศึกษา ไม่สอนให้เด็กคิดเลย สอนให้ท่องจำ ไม่สอนคิด วิธีคิดก็อปมาจากเมืองนอก แต่ใช้ในเมืองไทยไม่ได้ ไม่ดูว่าจะต้องทำอย่างไรให้เข้ากับประเทศไทยได้บ้าง

เรื่องวัฒนธรรมการโกงขึ้นชื่อมาก

ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ อาเซียนเราจะแข่งขันอย่างไร จะทำอย่างไรในเรื่องเอกลักษณ์ที่มีอยู่ให้มีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็เกี่ยวข้องกับภาษาด้วยเช่นกัน

กฎกติกามารยาทในสังคม จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ยังยกย่องเชิดชูความเป็นไทย ใครแต่ต้องไม่ได้เป็นต้น การที่เราอยู่ร่วมกันเราอย่าพูดเรื่องที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง

แรงงาน : แรงงานที่เข้ามาอยู่ในไทย มีตั้งแต่เงิน 300 บาท แรงงานแพง จึงมีต่างด้าวเข้ามา และคนไทยก็ไม่อยากไปทำเกษตรอีกต่อไป ชาวนาขาดความอดทนไม่เหมือนก่อน หวังแต่จะรอคนมาช่วยเหลือ ไม่รู้จักช่วยเหลือตัวเอง นี่คือปัญหาของพี่น้องในชนบท

การเมืองที่เปลี่ยนรัฐบาลบ่อย กำหนดแผน 5 ปี 10 ปี คนที่อยู่จัดทางไม่ถูก แผนที่เปลี่ยนตลอดเวลา

กลุ่ม 2 วิจารณ์ : คุณเกรียงศักดิ์ จ.สุรินทร์ จุดอ่อนด้านคุณภาพทุนมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง คนและการศึกษา วัฒนธรรม ถือว่าตรงและเกิดขึ้นจริง แต่จะแตกต่างกันไปแต่ละท้องถิ่น เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า การเคลื่อนย้ายแรงงาน จะสร้างปัญหาทางเศรษฐกิจ แรงงานมีทักษะที่จะเข้ามา แรงงานที่ไม่มีทักษะเข้ามาก่อนแล้วเป็น 10 ปี แล้ว ปัญหาเศรษฐกิจ แรงงาน ประเทศเพื่อนบ้านมายึดตลาด กลุ่ม 1 สะท้อนปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองได้ดี เน้นความเป็นจริง

ขอเสริม คุณภาพทุนมนุษย์ ที่เป็นกังวลเรื่องการให้เกียรติกัน ไทยเข้าใจว่าเราเคยสู้รบกับพม่า ลาว กัมพูชา บางประเทศไม่เขียนหนังสือให้อ่านว่าสู่รบกัน การพัฒนาความคิดให้เด็กให้เข้าใจประวัติศาสตร์ใหม่ในการเป็นมิตรซึ่งกันและกัน

อ.จีระ : ขอชมเชย ว่ามีประโยชน์มีสาระ เราไม่ความเอาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองขึ้นก่อน ควรนำทุนมนุษย์เรื่องคนขึ้นก่อนแล้วค่อยไปสอดคล้องกับเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ต่อไป น่าจะทำวิจัยว่าอนาคตแรงงานต่างด้าวใน 10 -20 ปี ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร อาจจะแรงงานกลับไปพม่าถ้าเขาเจริญจริง หรือถ้าเค้าจะอยู่ต่อ จะทำอย่างไรกับเหล่านี้เพราะเขาขยันกว่าคนไทย วันนี้ทำหน้าที่ได้ดีแล้ว ในประเด็นที่กล่าวมา คนในชนบทมีพลังแต่ขาดกำลังใจ ต้องกระตุ้นเขาออกมา ให้เป็นคนและสังคมที่มีความเสมอภาค

2 เสนอแนะวิธีการที่จะพัฒนาทุนมนุษย์ในท้องถิ่นมีศักยภาพสูงขึ้น ต้องทำอย่างไร และให้ประสบความสำเร็จ

กลุ่ม 2. นำเสนอ : คุณอลงกรณ์ จ.ร้อยเอ็ด สืบเนื่องจาก กลุ่ม 1 ในการแก้ปัญหา คือปัญหาเรื่องคนเกี่ยวพันกับหลายปัจจัย ถ้าเราจะแก้ แยกเป็นระดับออกมา คนเราถ้าจะพัฒนาหลักๆก็เรื่องการศึกษา เพราะการศึกษาเราล้มเหลว การศึกษาจากผู้ใหญ่ก่อน ผุ้ใหญ่เป็นอย่างไรเด็กก็จะเดินตาม การศึกษาชุมชน ระดับประเทศวางนโยบายถูกหรือไม่และเดินตามได้หรือไม่ มองผู้ใหญ่เป็นหลัก ต้องมองบริบทรากฐานชุมชนให้ทัน

อ.จีระ : วันนี้พวกคุณดูแลการศึกษา ผมยินดีช่วยด้วย เป็นภูมิปัญญาที่สุดยอด คนยิว เขาไม่ได้มีธุรกิจเยอะ แต่พ่อแม่ทุ่มเทเรื่องการศึกษา คนยิวไม่ได้รวยอะไรแต่ทุ่มเทในเรื่องการศึกษา คนจนอดทนอีกนิดเพื่อให้ลูกได้เรียนต่อจะได้หลุดพ้นเรื่องการศึกษาเพิ่มขึ้น ต้องได้รับแรงกระตุ้นออกมา คนในภาคใต้เค้าส่งลูกเรียน แต่ภาคอีสานน้อยกว่า รีบให้หารายได้มาเลี้ยงครอบครัว โดยไม่ให้เรียนหนังสือต่อ ต้องมีความอดทนในการเสียสละอีกนิด จะช่วยเหลือได้มาก

กลุ่ม 3 วิจารณ์ : ปัญหาการพัฒนาคนผิดพลาด ไม่สร้างฐานความคิด ไม่จดจำ ถูกรัฐบาลตั้งแต่อดีต การตั้งมหาลัย อีสานสมัยก่อนขาดการส่งเสริมด้านการศึกษา ภาคใต้สู้และรักพวกพ้อง คนอีสานอุดมสมบูรณ์คือข้าว ปลูกข้าวอย่างเดียว เก็บผัก และไม่ต้องดิ้นรน อยากฝากว่าถ้ามีโอกาสไปกระตุ้นระดับประเทศด้วย ก็จะยิ่งดี และชนชั้นผู้ปกครองน่าจะมีตรงนี้ คิดให้เป็นระบบและน่าจะนำไปสร้างนวัตกรรมได้

3. เสนอโครงการระดับในกลุ่มของท่าน เกี่ยวกับ ASEAN ที่คิดจะทำและทำอยู่แล้วที่เป็นไปได้ และทำใหม่ 2 โครงการ

กลุ่ม 3. นำเสนอ : เรื่อง AEC ส่วนตัวก็มีการค้าด้วย ประเทศเพื่อนบ้าน สปป.ลาว การปกครองไม่เหมือนกัน ข่าวสารทุกอย่าง ไทยไม่รู้ว่าลาวทำอะไรบ้าง สปป.ลาว ดูข่าวของไทยเรา เพราะฉะนั้นแล้ว ต้องรู้เขารู้เรา แต่เราไม่สามารถรู้เรื่องเขาเลย เราต้องระวังก่อนเสนอโครงการ ทำอย่างไรจะขายได้ บ้าน 10 หลังคาเรือน 10 ประเทศเค้ารู้เรา แต่เราไม่รู้เขา

เรื่องโกง : เป็นอุทาหรณ์ มีคนบอกว่าเป็นหนี้แล้วไม่ใช้ รัฐบาลคนจนเป็นหนี้แล้วต้องใช้ รถดาวน์ บ้านดาวน์ เสื้อผ้าดาวน์ เป็นหนี้

โครงการ เชื่อมสัมพันธ์ไทย - ลาว , จัดอบรมด้านกฎหมายตามแนวตะเข็บชายแดน ต้องการความรู้

ประเพณีวัฒนธรรม จะให้ทางคณะวิทยากร สปป.ลาว สัปดาห์ละ 3 วัน กีฬาสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่น และโอท็อป ต่างๆ เอากลุ่มแม่บ้านมาทำร่วมกัน

อ.จีระ : บ้าน 10 หลัง เสรี เรารู้ทุกอย่าง ประเทศลาว ครั้งหนึ่งผมชอบประเทศลาว และเก่งอยู่เรื่องหนึ่งคือ เป็นประเทศเดียวที่รักสิ่งแวดล้อมมากกว่าประเทศอื่นๆ ไม่เหมือนไทย ซึ่งมีความโลภในทรัพย์สิน เราต้องเป็นแนวร่วมกัน มีประเด็นยิงเข้าในกะโหลกให้ได้ บ้านเปิดเสรีแค่ภาษีแค่สะพาน แต่ไม่ได้อยู่ข้างในของเรา ต้องมีการปะทะกันถึงจะเห็นลึกเข้าไปข้างใน การเรียนยุคใหม่ต้องออกความคิดเห็นเยอะๆ จะได้รู้ว่าใครต้องการอะไร ต้องมีจิตวิทยาทางการเมือง ทั้งหมด ประเทศลาวแอบดูรายการเราทุกชนิด เห็นค่านิยมแย่ๆในละครของไทย

อ.พิชญ์ภูรี : ขั้นตอน คือจังหวะ อัตราเร่ง การออกแบบโจทย์ ปัญหาคนในท้องถิ่น ดีมาก คิดไม่เป็นและพูดเรื่องการตื่นตัวและกฏกติกามารยาท วิธีการพัฒนาคน ท่านพูดเรื่องการศึกษาในชุมชนด้วย สามารถนำไปคิดต่อได้เลย เรื่องเยาวชน เชียงคาน สมัยก่อนมีแต่คนแก่ ต้องทำให้ทันสมัย เยาวชนเก่งๆจะไปที่ไหนก็ปล่อยเขาเก่ง ทำเศรษฐกิจชุมชนร่วมสมัย กลับสู่ชุมชนได้เลย

แนวทาง ตรงประเด็น มีการเชื่อมสัมพันธ์ เชื่อมประเด็นและคิดตาม และสุดท้ายได้อะไรบ้าง สามารถคลิกได้หรือไม่ จะได้จังหวะและอัตราเร่ง และนำไปใช้ได้ในชุมชน วันนี้สิ่งที่ให้คือ Learn share care ให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ

อ.จีระ : คุณภาพการทำ Workshop ออกมามีความแหลมคม สะท้อนภูมิปัญญาของคนในห้องได้ดี ขอชมเชย เข้ามาแทรกแซง 2-3 ประเด็น เรามีบ้าน เราไม่เข้าใจบ้านบางบ้าน ที่ไม่เปิดให้เรารู้ ทรัพยากรที่กำหนดโดยรัฐบาล ก.พาณิชย์ ก.ศึกษา ดาวกระจาย ล้มเหลว ผมมีนโยบายว่า จะเยี่ยมลูกศิษย์ตามสถานที่ต่างๆ รวมอาเซียนด้วย ผมเป็นคนเห็นโลกเยอะ อยากให้เป็นคนติดตามที่นำเสนอไปให้เป็นสมบัติของเรา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท