ตามรอยเฒ่าจิ๋น : แหล่งศึกษาและท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ( โฮจิมินห์ ) ณ จังหวัดอุดรธานี (1)


ลิขิตศิลป์ : มรดกร่องรอยประวัติศาสตร์จากเฒ่าจิ๋น



แหล่งประวัตศาสตร์โฮจิมินห์ (บ้านลุงโฮ) ตั้งอยู่ที่บ้านหนองฮาง (หนองโอน : ชื่อเดิม) ต.เชียงพิณ อ.เมือง จ.อุดรธานี จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2545 หลังจากที่ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นายชัยพร รัตนะนาคะ[1] ได้ไปศึกษาดูงานที่พิพิธภัณฑ์โฮจิมินห์ ณ ประเทศเวียดนาม และด้วยจังหวัดอุดรธานีเอง มีชุมชนชาวเหวียดเกี่ยว (เวียดนามโพ้นทะเล) ที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดอุดรธานีตั้งแต่ยุคอาณานิคม รวมทั้ง ณ ชุมชนดังกล่าว ได้เคยเป็นที่พำนักของลุงโฮช่วงการวางแผนกู้เอกราชจากฝรั่งเศสอีกด้วย ความสำคัญดังกล่าวได้กอปรให้เกิดการดำริโครงการสร้างแหล่งประวัติศาสตร์โฮจิมินห์ขึ้น โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก 4 แหล่งทุน คือ งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงพิณ(มหาดไทย) เศรษฐีจากเวียดนาม คนไทยเชื้อสายเวียดนามและตู้รับบริจาคจากนักท่องเที่ยวที่เข้าชมพิพิธภัณฑ์[2] โดยมีกลุ่มนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายเวียดนามและชาวเวียดนาม ที่ทราบข่าวจากหนัง สารคดีตามรอยลุงโฮในเวียดนาม รวมทั้งทัวร์ที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเอง ก็มีการนำเสนอพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ควรมาเยือนเช่นกัน ส่วนเนื้อหาและข้อมูลที่ถูกนำเสนอในพิพิธภัณฑ์นั้น ได้รับการสนับสนุนจากพิพิธภัณฑ์โฮจิมินห์จากฮานอย โดยมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากประเทศเวียดนาม ได้นำเอกสารข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นประจำ ชุมชนโดยรอบของพิพิธภัณฑ์ ยังมีครอบครัวที่มีเชื้อสายชาวเหวียดเกี่ยว โดยมีการนิยามตัวเองว่า “ชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม” ซึ่งเป็นการใช้เรียกตัวเองหลังการได้รับอนุมัติสัญชาติไทย[3]


ลิขิตศิลป์ จรรโลงโลก


[1] คณะกรรมการแหล่งประวัติศาสตร์โฮจิมินห์, แหล่งประวัติศาสตร์โฮจิมินห์.

[2] อรรถพล เรืองสิริโชค, สัมภาษณ์โดย ดวงตา หม่องภา, แหล่งศึกษาและท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ( โฮจิมินห์ ), 24 ตุลาคม 2558

[3] จตุพร ดอนโสน, การสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของคนไทยเชื้อสายเวียดนามบ้านนาจอก, ( ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, 2555), 24

หมายเลขบันทึก: 597174เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2015 07:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2015 08:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท