ผู้ตรวจแบบนิติรัฐ ผู้ตรวจแบบนิติธรรม


จะเดินตามรอยเท้าของพ่อด้วยความตั้งใจ ด้วยหลักการเลิศล้ำหลักธรรมค้ำใจ ฉันภูมิใจที่ทำตามได้จริง


ตรวจแบบนิติรัฐ ผู้ตรวจแบบนิติธรรม


http://1drv.ms/1M7Wc5j

http://1drv.ms/1M7Z4yY

ลักษณะผู้ตรวจแบบนิติรัฐ

1.ตรวจแบบจับผิด (ควรใช้เมื่อผู้ปฏิบัติเจตนาที่จะขัดขืนไม่ทำ)

2.ผู้ปฏิบัติเกรงผู้ตรวจ ไม่ได้เกรงตระหนักถึงเจตนาของกฎ

3.รู้สึกต่อต้าน เพราะจะจับผิด ปรับ เขียนใบสั่ง นั่งมุ่งมั่นเขียนเช็คลิส

4.ตัดปัญหาการหารือ มุ่งเขียนใบสั่ง นั่งมุ่งมั่นเขียนเช็คลิส ให้จบๆเร็วๆ

5.มุ่งแก้ไขปัญหาที่การลงโทษ ไม่ใช้หลักการ"ความรู้จักผ่อนผัน" ไม่มีทางออกให้ผู้ปฏิบัติเดินต่อไปได้ เกิดผลกระทบอย่างแวดกว้าง

6.ดื้อ รั้น ไม่ฟังคนอื่น เชื่อมั่นในสิ่งที่ตนรู้ และตัวเองก็รู้มาผิดๆ

7.ใช้วิธีที่เคยปฏิบัติกันมาเป็นที่อ้างอิงว่า เคยทำมาแบบนี้ก็ต้องแบบนี้

8.ลังเลสงสัยในเรื่องที่ไม่ควรลังเล เพราะเป็นเรื่องที่ยอมรับกันอย่างแวดกว้าง ใช้เทคโนโลยีที่ซื้อมาอย่างไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย

9.ไม่เกิดความตระหนักในความปลอดภัย ไม่เรียนรู้ที่จะป้องกัน

10.ยึดติดทฤษฏีเก่าๆ หลักการไม่แน่น ไม่รู้อย่างถ่องแท้ในทุกมิติ ไม่เกิดการพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

11.ไม่ใช้เทคนิคการตรวจแบบ เป็นเพื่อนกับผู้ถูกตรวจ ใช้วิธีตรวจอบบจับผิด คิดว่าสิ่งที่ตนเองรู้นั้นถูกเสมอ หากผู้ตรวจมีความเห็นขัดแย้ง ก็จะหาทางบังคับให้ทำด้วยการใช้อำนาจในทางรัฐ ใช้หนังสือราชการบังคับ ซึ่งถ้าด้านเทคนิคไม่แน่นก็จะถูกตีตก จึงต้องหาทางใช้กฏหมายบังคับให้ผู้ตรวจจำยอม เกิดผลเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อผู้ปฏิบัติ เพราะเมือ่จำยอมทำแล้ว จะต้องเสียเวลาพิสูจน์ทราบ ก่อให้เกิดความไม่คุ้มค่ากับเครื่องมือที่ต้องลงทุน เพราะการลงทุนเช่าเครื่องมือมาใช้งาน มีตัวแปรคือเวลาที่ใช้ จะต้องใช้อย่างคุ้มค่าที่สุด มิใช่นำมาใช้พิสูจน์บางอย่างที่ผู้ตรวจลังเลสงสัยด้วยเทคนิคไม่รู้อย่างถ่องแท้ ทำให้ประเทศชาติเสียประโยชน์ที่ควรจะได้อย่างใหญ่หลวง

12.เกิดการต่อต้าน วิธีการตรวจ ไม่ยอมรับ เกิดความไม่น่าเชื่อถือต่อผู้ตรวจ และทำให้องค์กรขาดความน่าเชื่อถือและไม่เป็นมืออาชีพในที่สุด

13. ทำให้การบริการติดๆขัดๆ ไม่สามารถรักษาระดับการให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง เป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศ

ลักษณะผู้ตรวจแบบนิติธรรม

1.ตรวจแบบชี้ให้เห็นถึงภาวะอันตราย ถ้าฝืนกฎอาจทำให้เกิดอันตรายอะไร

2.ผู้ปฏิบัติตระหนักในอันตราย เกรงอันตรายที่อาจเกิดโดยรู้เท่าไม่ถึง

3.รู้สึกตระหนักในความเสี่ยงอันตราย รู้สึกเหมือนมีผู้มาบอกจุดอ่อน สิ่งที่คนอื่นรู้แต่เรามองข้าม

4.ยังไม่รีบด่วนสรุป หารือถึงสาเหตุที่แท้จริง การที่ปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามคู่มือกฏหมายกำหนด

5.มุ่งแก้ไขปัญหาที่สาเหตุ ใช้หลักการ"ความรู้จักผ่อนผัน" แนะนำทางออกให้ผู้ปฏิบัติเดินต่อไปได้ โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ ลดผลกระทบให้มากที่สุด

6.ฟังมากๆ พิจารณาตัวแปรที่มากระทบในทุกมิติ สรุปการแก้ทีละประเด็นๆ แนะนำมาตรการแก้ไข ในแต่ละด้าน

7.ใช้ประสบการณ์ตรวจ มาแลกเปลี่ยนความรู้ ช่วยหาวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดด้วยวิธีที่พิจารณารอบด้านแล้วว่าเหมาะสมและใช้ได้จริง

8.ยอมรับวิธี ขั้นตอนปฏิบัติ เทคโนโลยีใหม่ๆที่จะนำมาช่วยยกระดับการให้บริการ ได้ทันการณ์ทันสมัย คุ้มค่ากับการลงทุนให้ได้มา

9.เกิดความตระหนักในความปลอดภัย แสวงหาเทคโนโลยี นวตกรรมใหม่ๆมาปรับปรุงวิธีปฏิบัติงาน เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

10.เกิดนวตกรรมใหม่ๆ ขั้นตอนปฏิบัติใหม่ๆ มีการแก้ไขขั้นตอนการปฏิบัติงานให้ทันสมัยอยู่เสมอ เกิดการพัฒนางาน เกิดความคิดริเริ่ม สู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ในที่สุด

11.ใช้เทคนิคการตรวจแบบ เป็นเพื่อนกับผู้ถูกตรวจ เพราะจะต้องทำงานด้วยกันไปอีกนานเป็นสิบปียี่สิบปี ควรแนะนำเป็นที่ปรึกษามาตรฐานให้กันและกัน ด้วยแนวความคิดเป็นมิตรที่ต้องพึ่งพากัน Alliance เป็นองค์ความรู้ด้ายกฏระเบียบสามารถแนะนำวิธีปฏิบัติให้ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติได้ Data-warehouse นำประสบการณ์ตรวจและประสบการณ์ปฏิบัติงาหา วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุดเสี่ยงน้อยที่สุดร่วมกัน Best Practice

12.เกิดการยอมรับ ในการมุ่งมั่นพัฒนาระบบ พัฒนางานของส่วนรวมร่วมกัน ผู้ตรวจได้รับความไว้ใจและได้รับความเชื่อถือจากต่อผู้ถูกตรวจ ทำให้ผู้ถูกตรวจอยากให้มาช่วยหาจุดบกพร่องจะได้ช่วยกันแก้ไขให้ประชาชนปลอดภัยโดยเร็วที่สุด (ที่ผู้ตรวจได้ยินบ่อยครั้งว่า ข้อบกพร่องที่กรมเจอข้อนี้ขอเป็นระดับ1เลยได้ไหมจะได้งบประมาณแก้ไขได้โดยเร็ว - ตระหนักในความปลอดภัย)ทำให้องค์กรเป็นที่น่าเชื่อถือเป็นมืออาชีพในที่สุด เพราะเจตนาคุ้มครองประชาชนด้วยกัน จึงทำงานกันด้วยความสุข

13. ทำให้การบริการเดินไปได้อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพสูง ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด

เขียนโดยว่าที่ร้อยตรีโสตถิทํศน์ เอี่ยมลำเนา นักแม่นปืนเหรียญทอง นายทหารสัญญาบัตรยศว่าที่ร้อยตรี รุ่นที่ ๕๗ กองพันทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์ ค่ายจักรพงศ์ภูวนารถ จังหวัดปราจีนบุรี

.....................................................................................................................................

ความไม่เป็นธรรมทางกฎหมาย

....หากผู้รักษากฎ หรือผู้ตรวจไม่เข้าใจเจตนาของกฏหมายข้อนั้นๆอย่างถ่องแท้แล้ว ก็ยากที่จะนำมาบังคับใช้ให้เป็นธรรม ...เกิดการต่อต้านกฎ....กริ่งเกรงพนักงานจนท.ที่นำกฏมาบังคับ(เคารพผู้รักษากฎ)...ไม่ได้ตระหนักว่าถ้าไม่ทำตามจะเกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้อื่น(ไม่เคารพกฎ) .....เป็นปัญหาที่เรามักเห็นอยู่ในปัจจุบัน ว่า จนท.ไม่เข้าใจเจตนากฏหมายอย่างถ่องแท้ และความรู้ความสามารถของการที่จะอธิบายเจตนาของกฎหมายและผลกระทบผลเสียหายหรืออันตรายที่จะตามมา ได้อย่างชัดแจ้งแล้ว ก็จะเกิด "ความไม่เป็นธรรมจากการบังคับใช้กฏหมาย" ขึ้นได้......

.......ซึ่งความไม่เป็นธรรมทางกฎหมาย นั้น แบ่งได้ 3 ประเภทได้แก่
1. ความไม่เป็นธรรมจากตัวบทกฎหมาย ผู้ร่างกฎได้เนื้อความข้อมูลที่ได้มาอย่างไม่มีคุณภาพ
2.ความไม่เป็นธรรมจากบริบทของกฎหมาย ผู้ร่างกฎไม่ใช้วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดในการออกเนื้อความบังคับ ทำให้ไม่ทันยุคทันสมัย การพัฒนาเป็นไปได้ช้า
3.ความไม่เป็นธรรมจากการบังคับใช้กฎหมาย และเป็นกฎหมายนั้นเป็นที่ยอมรับของสังคม....ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั่นเอง....

.................................................................................................................................................................

ความแตกต่างของคำว่านิติรัฐกับนิติธรรม

ถึงแม้ว่าสองคำนี้จะมีความเหมือนกันมาก แต่ก็มีนักวิชาการบางท่านให้เสนอความแตกต่างเอาไว้ มีดังนี้

1.พิจารณาจากต้นกำเนิด ข้อความคิดเรื่อง นิติรัฐ มีวิธีการศึกษา (Approach methodology) ตั้งต้นเริ่มจากรัฐ เพราะเป็นธรรมเนียมของนักกฎหมายมหาชนและนักปรัชญาภาคพื้นยุโรปที่มุ่งเน้นศึกษาทฤษฎีว่าด้วยรัฐเป็นสำคัญ กล่าวคือใช้ข้อความคิดว่าด้วย รัฐ เป็นวัตถุแห่งการศึกษา และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับกฎหมายนั่นเอง ในขณะที่ข้อความคิดเรื่อง นิติธรรม นั้นมีต้นกำเนิดจากความหวั่นเกรงการใช้อำนาจโดยมิชอบของรัฐ หลักนิติธรรมจึงมุ่งหมายไปที่การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกชน กล่าวให้ถึงที่สุด หลักนิติรัฐเป็นมุมมองจากรัฐ แต่หลักนิติธรรมเป็นมุมมองจากปัจเจกชน อีกนัยหนึ่งก็คือนิติรัฐพยายามคุมรัฐ จำกัดอำนาจของผู้ปกครอง แต่นิติธรรมเน้นไปที่ปัจเจกเรื่องสิทธิและเสรีภาพ เน้นไปที่การกระจายอำนาจให้กับประชาชน

2. พิจารณาทางเนื้อหาสาระ หลักนิติรัฐเกี่ยวกับกรณีที่รัฐยอมตนลงมาอยู่ภายใต้กฎหมาย เป็นเรื่องของโครงสร้างลำดับชั้นทางกฎหมาย เป็นเรื่องของหลักความชอบด้วยกฎหมาย ที่สถาปนาให้กฎหมายเป็นทั้งที่มาและข้อจำกัดของอำนาจมหาชน เป็นเรื่องการแบ่งแยกอำนาจอย่างสมดุล และเป็นเรื่องบทบาทขององค์กรตุลาการในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและความชอบด้วยกฎหมาย

ในขณะที่หลักนิติธรรมนั้น ไม่มีกรอบความคิดที่เป็นระบบระเบียบเท่ากับหลักนิติรัฐ แต่สร้างหลักขึ้นมาเฉพาะเรื่องเฉพาะราวตามแนวคิดเสรีนิยม เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้พ้นจากการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐ กล่าวให้ถึงที่สุด หลักนิติรัฐของภาคพื้นยุโรป เน้นที่รูปแบบ-โครงสร้าง และวิธีการในการไปให้ถึงเป้าประสงค์ ในขณะที่หลักนิติธรรมของแองโกลแซกซอนหรืออังกฤษเน้นที่เนื้อหา และกระบวนการ

3. พิจารณาจากสกุลกฎหมาย หลักนิติรัฐกำเนิดและพัฒนาในสกุลกฎหมาย Romano-Germanic ซึ่งยอมรับการแบ่งแยกกฎหมายเอกชน-กฎหมายมหาชน ยอมรับความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ มีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ในขณะที่หลักนิติธรรมกำเนิดในสกุลกฎหมายแองโกล-แซกซอน หรืออังกฤษซึ่งไม่มีการแบ่งแยกกฎหมายเอกชน-มหาชน ไม่มีการแบ่งแยกศาลยุติธรรม-ศาลปกครอง และยอมรับความมีอำนาจสูงสุดของรัฐสภา อย่างในระบบกฎหมายอังกฤษ กฎหมายที่ศาลนำมาใช้ในการตัดสินเป็นกฎเกณฑ์ที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับจารีตประเพณีที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไปในราชอาณาจักร หรือที่เรียกว่าคอมมอน ลอว์ Common Law และคดีที่ได้รับการตัดสินไปแล้ว และกลายเป็นหลักตัดสินคดีตกทอดมาเป็นลำดับ กฎหมายในระบบนี้จึงไม่ได้มีแต่กฎหมายที่ตราขึ้นโดยรัฐสภาเท่านั้น (Statute Law) แต่ยังรวมไปถึงหลักการและแนวทางการตัดสินของผู้พิพากษา(Case Law) ที่ศาลยอมรับสืบต่อกันมาด้วย ส่งผลให้กฎหมายสอดคล้องกับสภาพสังคมตลอดเวลา เพราะศาลมีอำนาจตัดสินได้ตามอำเภอใจ (Satre Decisis) แต่ศาลในคดีหลังต้องผูกพันตามกฎหมายที่ศาลในคดีก่อนได้ตัดสินไว้แล้ว การเปลี่ยนแปลงจึงกระทำได้โดยยาก

4. พิจารณษความแตกต่างในด้านการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน ด้านนิติรัฐนั้น รัฐคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนเป็นลายลักษณ์อักษร ในรูปแบบของกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือ กฎหมายอื่น ๆ อย่างเช่นในเยอรมัน การคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนเป็นการคุ้มครองในระดับรัฐธรรมนูญของประเทศ เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้โดยตรง ในการตรากฎหมายใช้บังคับ องค์กรนิติบัญญัติไม่สามารถตราขึ้นขัดหรือแย้งได้ มิฉะนั้นจะถือว่ากฎหมายดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ส่วนด้านนิติธรรมนั้น ไม่มีลายลักษณ์อักษรเป็นหลักประกันแน่นอน แต่ในทางปฏิบัติบุคคลย่อมได้รับการประกันสิทธิขั้นพื้นฐานโดยองค์กรตุลาการ

5. พิจารณาความแตกต่างด้านการควบคุมตรวจสอบการตรากฎหมาย ตามหลักนิติรัฐ องค์การนิติบัญญัติย่อมผูกพันต่อรัฐธรรมนูญในการตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับ เพื่อให้มีผลในทางปฏิบัติ จึงกำหนดให้มีองค์กรที่คอยควบคุม ตรวจสอบ ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายที่องค์กรนิติบัญญัติตราขึ้น ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ตามหลักนิติรัฐ การตรากฎหมายย่อมตกอยู่ภายใต้การควบคุมตรวจสอบขององค์กรตุลาการ ส่วนหลักนิติธรรมนั้น ถือว่ารัฐเป็นรัฐาธิปัตย์ ในทางทฤษฎี รัฐสภาสามารถตรากฎหมายอย่างไรก็ได้ทั้งสิ้น ไม่อาจมีกรณีที่รัฐสภาตรากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้ การควบคุมการตรากฎหมายของรัฐสภาจึงเป็นการควบคุมกันทางการเมือง กล่าวคือประชาชนถ้าเห็นวว่ารัฐออกกฎหมายที่ล่วงละเมิดสิทธิและเสรีภาพของเขาแล้วก็อาจประท้วง ไม่ยอมรับกฎหมายนั้น ไม่ใช่ต้องตรวจสอบกันในทางกฎหมายหรือต้องมีศาลปกครองหรือศาลรัฐธรรมนูญ

6. พิจารณาความแตกต่างทางด้านการแบ่งแยกอำนาจ ด้านนิติรัฐ หลักการแบ่งแยกอำนาจ ถือได้ว่าเป็นหลักสำคัญอันจะขาดมิได้ เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจและตรวจสอบกันและกัน เพื่อมิให้มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจมากกว่าและกระทำการตามอำเภอใจ ส่วนหลักนิติธรรมนั้น ไม่ปรากฏให้เห็นเรื่องการแบ่งแยกอำนาจ เนื่องจากรัฐสภาและรัฐบาลมีความเชื่อมโยงกันเป็นอย่างมาก แต่ทั้งหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรมต่างก็ยอมรับความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการ

โดยสรุปจากเนื้อหาดังกล่าวสรุปได้ว่า หลักนิติรัฐนั้น กำหนดอำนาจ หน้าที่ และการควบคุมตรวจสอบอำนาจของรัฐไว้ โดยที่รัฐจะกระทำการใด ๆ ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และจะกระทำการใดอันนอกเหนือกฎหมายบัญญัติไว้มิได้ ส่วนหลักนิติธรรมนั้น คนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกัน กฎหมายเดียวกัน และศาลเดียวกัน โดยที่กฎหมายนั้นจะต้องมีความเป็นธรรม ละเลิกเสียซึ่งความไม่เป็นธรรมทางกฎหมาย ซึ่งแบ่งได้ 3 ประเภทได้แก่ 1. ความไม่เป็นธรรมจากตัวบทกฎหมาย 2.ความไม่เป็นธรรมจากบริบทของกฎหมาย 3.ความไม่เป็นธรรมจากการบังคับใช้กฎหมาย และเป็นกฎหมายนั้นเป็นที่ยอมรับของสังคม

หนังสืออ้างอิง

พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย.สังคมไทยกับหลักนิติรัฐ. http://www.oknation.net/blog/print.php?id=439615เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สมชาย เหล่าพิทักษ์วรกุล. นิติรัฐกับนิติธรรม. http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1442 เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. นิติรัฐ. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90 เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ปิยบุตร แสงกนกกุล. “นิติรัฐ” (Rechtsstaat, Etat de droit) ไม่เหมือนกับ “นิติธรรม” (Rule of Law). http://www.enlightened-jurists.com/directory/16/Rule%20of%20%20Law.html เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

พิมพ์พิมล นวชัย. ความแตกต่างของนิติรัฐและนิติธรรม. http://wanwila.exteen.com/20110911/entry เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/536993

หมายเลขบันทึก: 596920เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2015 13:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015 06:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท