​Recovery model แค่มองผู้ป่วยจิตเวชให้เป็นมนุษย์เหมือนกันกับเรา


ขอขอบคุณสมาคมสายใยครอบครัวที่ได้จัดกิจกรรมที่ดีและมีประโยชน์ในการทำงานร่วมกันของเครือข่ายจิตเวช ไม่ว่าจะเป็นคนดูแล ครอบครัว จิตแพทย์ อาสาสมัคร ผู้ที่ทำงานกับผู้รับบริการจิตเวช

หากเรามองว่าคนๆหนึ่งป่วยทางจิต ปฏิกิริยาหลังจากฟังอาจจะมีการแสดงออกที่ต่างกัน เช่น กลัว รู้สึกแปลกแยก หรือเฉยๆกับสิ่งนี้ ... โมเดลการฟื้นคืนสุขภาวะทางจิต นี้ มองมนุษย์ทุกคนมีคุณค่า มองหาศักยภาพสูงสุดที่มีขณะที่เจ็บป่วย โดยเคารพคนๆหนึ่ง ให้กำลังใจ และ มองทุกอย่างตามความเป็นจริง

อาจารย์ Marcus ได้ยกตัวอย่าง รพ.จิตเวชที่หนึ่งในอเมริกา ที่มีพื้นที่ด้านนอก รพ. เต็มไปด้วยหลุมศพที่มีเพียงแค่หมายเลข แต่ไม่ระบุชื่อผู้ตาย ภาพนี้ให้ความหมายอะไร? ...ในอดีตเรายังมองว่าการเจ็บป่วยทางจิตเป็นเรื่องที่น่าอับอาย ครอบครัวไหนก็ไม่อยากแสดงตัว ไม่มีใครรู้ว่ารักษาและจะทำให้กลับมาดำรงชีวิตได้อย่างปรกติได้ เทียบได้กับคำนิยามที่เรียกว่าการตีตรา หรือ Stigma ที่ยังพบเจอได้เสมอในปัจจุบัน สำหรับข้อมูลผู้ป่วยที่เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้นั้น อาจารย์เล่าว่าได้ถูกเก็บไว้ใต้อาคารเรียนของโรงเรียนปฐมแห่งหนึ่ง....

เมื่อมีผู้รับบริการทางจิตเวชมารับบริการ ตามหลักการ Recovery model สิ่งที่ควรถามคือ อะไรคือความหมายของการมีชีวิตอยู่ เช่น คุณมีอะไรที่อยากทำในช่วงชีวิตหนึ่งของคุณ? คุณมีความฝันอะไร? คุณมีความหวังอะไร?

อาจารย์Marcus ยกตัวอย่างได้น่าสนใจ กรณีของ Mr.D นักศึกษาปริญญาเอก ที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าหลังจากที่จิตแพทย์คุยกับเคสนี้ เพื่อถามคำถามที่คนๆหนึ่งโดยไม่คิดว่าจะเกิดความหมายกับชีวิตของตนเอง ด้วยการถามว่า คุณมีอะไรที่อยากทำในช่วงชีวิตหนึ่งของคุณ? คุณมีความฝันอะไร? คุณมีความหวังอะไร?Mr.D ก็มีแววตาเป็นประกายและตอบกลับจิตแพทย์ของตนเองว่า “ตอนนี้ฉันรู้แล้ว ฉันอยากเป็นคนๆหนึ่งที่เป็นเหมือนคุณ” ดูเหมือนว่าจะเป็นไปได้ยากใช่ไหมคะ........ หลังจากนั้นจิตแพทย์ของ Mr.D ก็อธิบายว่าการเป็นจิตแพทย์ต้องเรียนแพทย์ทั่วไปและเรียนเฉพาะทางเพิ่มด้วย ท้ายที่สุดเขาก็เรียนจบจิตแพทย์ในระยะเวลาสิบปี

มีคำถามจากฟอร์เหมือนกันว่าถ้าเกิดมีความคิดอยากจะแต่งงานกับเจ้าหญิงหรือเจ้าชายล่ะเราจะตอบยังไง ...อาจารย์ Marcus ยกตัวอย่างว่า โอเครถ้าคุณเกิดมีคุณสมบัติที่เพียบพร้อมและมีทางเป็นไปได้ ก็อาจจะสามารถเป็นไปได้ เราจะเน้นการมองตามความเป็นจริงและมองตามเหตุและผล เพื่ออธิบายผู้รับบริการ ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องดูอาการของเขาประกอบด้วย

หากจะพูดถึงโมเดลนี้บุคคลที่จะระลึกถึงคือ Pamela Hyde ท่านมีส่วนผลักดันในเชิงนโยบาย เพื่อเป็นปากเป็นเสียง (advocacy) ในการผลักดันการใช้โมเดลนี้ในทุกสังคมของการทำงาน โดย เมื่อเราอยากจะเข้าทำงาน คำถามที่ผู้สมัครงานจะต้องตอบเวลาสมัครงาน คือ คุณจะช่วยให้คนคนๆนึงมีการฟื้นฟูสุขภาวะของตนเองได้อย่างไร?

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในการดูแลผู้รับบริการในปัจจุบันเราใช้การฟื้นฟู (Rehabilitation) แต่การใช้ Recovery model มีความแตกต่างดังนี้

สิ่งที่เราเรียนรู้ระหว่างการเดินทางคือความสำเร็จของเรา อาจจะไม่ใช่เป้าหมายซะทีเดียว การใช้ Recovery model ก็เช่นกัน อาจารย์ Marcus ให้นิยามว่า recovery is a journey

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 596915เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2015 10:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2016 23:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท