เรียกใครว่า ลุง ได้บ้าง


อ่านหนังสือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของวัย แล้วเกิดความสงสัย การให้นิยายคนแก่ค่ะ

ถ้าเอาอายุเป็นตัวตั้ง การมองใครว่าแก่ คือมองไปเปรียบเทียบกับตัวเอง..ใช่ไหมนะ...เช่นคนอายุ 20 กว่าๆ ก็อาจมองคนวัยเดียวกันเองว่า ยังสาว ยังหนุ่มอยู่ และมองคนที่อายุ 30 ขึ้นไปว่าแก่  ถ้าสนิทกันเกรงใจก็ยังเรียกพี่ สบายปาก แต่คนอายุ 40 ปี อาจเริ่มสะดุ้งถูกเรียกว่า ลุงหรือป้าไปแล้ว ทั้งๆที่ดูกระจกยังหุ่นทรมานใจอยู่ อย่างนี้เป็นต้น

คำว่า แก่ เลยเหมือนคำแสลง สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าตัวที่จะเรียกขานตัวเอง และห้ามเดาอายุสูงกว่าอายุจริงกันเด็ดขาด..มีเคือง

พออายุมากขึ้นๆ คราวนี้ตัวอายุ กลับเป็นคำชมได้เหมือนกัน...เช่นโห...ตั้ง 60 70 แล้ว ยังกระฉับกระเฉงเหมือน 50 อยู่เลย ลงสมัครผู้แทนคราวหน้ายังสบายๆนะเนี่ย เจ้าตัวอาจยิ้มแก้มปริ เริ่มอยากบอกอายุจริงขึ้นมารำไร

คำว่า คนแก่ น่าจะมีความหมายที่สัมพันธ์กับสถานะทางสังคม ระดับสัมพันธภาพที่จะลึกซึ้งจนสามารถถามไถ่อายุอานามกันได้ และเป็นตามความพอใจของคนถูกเรียกด้วย

มองในแง่ คนอยู่ในสายบริการสุขภาพ เรื่องนี้น่าจะลองช่วยๆกันคิดดูบ้าง อย่างเช่นการให้บริการแบบมีมิตรจิตมิตรใจ บางครั้งก็จะเรียกผู้รับบริการ เป็น พี่ ป้า น้า อา คุณลุง คุณตา เพื่อแสดงความเคารพ นั้น อาจเป็นที่พอใจหรืออาจไปทำให้เกิดความตะขิดตะขวงใจกับคนรับบริการได้เหมือนกัน คงต้องตรวจสอบวัฒนธรรมการเรียกแบบนับญาติให้ดีๆ ก่อน

หรือแม้แต่ในเพื่อนร่วมงานกันเอง ..เคยได้ฟังมาว่า มีเคือง เพราะตกตอนเช้าสดชื่น เจอใครๆก็เรียกพี่ ตกเย็นจะกลับบ้าน แม่ค้าเรียก ป้า ..ทำเอางอนไปเลยก็มี

พิมพ์แล้ว เอ๊ะ จะโพสต์ดีไหม..คนบันทึกแก่แล้วอย่างนี้..บันทึกแบบนี้จะเรียกว่า บ่น หรือเปล่า

คำสำคัญ (Tags): #health_service
หมายเลขบันทึก: 59671เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2006 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท