ปรัชญาคุก


ปรัชญาคุก (Prison philosophy) มีความสัมพันธ์กับสิ่งที่เราเชื่อบางอย่าง ถึงแม้ปรัชญาการจำคุก จะยังไม่มีจึงสมมติฐานรองรับที่ชัดเจนว่าการจำคุกจะนำไปสู่การลดลงของอาชญากรรม (undercutting) ทั้งปรัชญาคุกทางอาญาที่ขึ้นอยู่กับการป้องปราม การแก้ไขฟื้นฟู และ การลงโทษที่รุนแรง อย่างไรก็ตาม ภายใต้ความเชื่อที่วาดภาพสังคมไว้ว่าเมื่อกระทำผิดต้องติดคุก (reviling) จึงยังเป็นความเชื่อของสังคมที่จะต้องดำเนินต่อไป และ ความพยายามใด ๆ ในการวาดภาพสังคมโดยไม่ต้องติดคุกยังคงเป็นสังคมในจิตนาการของมนุษย์ต่อไปอีกนาน.............................


ปรัชญาคุก


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์


ปรัชญาคุก (Prison philosophy) ข้อมูลจาก รายงานวิจัย เรื่อง ประวัติและปรัชญาคุก ของ โรเบิร์ต จอห์นสัน โดยเป็นการศึกษาจากสมมุติฐานจากประวัติและปรัชญาคุกในอดีต และ ปัจจุบัน ปรากฏผลการศึกษาวิจัย โดยสังเขป ดังนี้



ผลการศึกษา พบว่า ปรัชญาคุกในอดีต และ ปัจจุบัน มีความสัมพันธ์กับสิ่งที่เราเชื่อบางอย่าง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยในการตรวจสอบแรงจูงใจ และ วัตถุประสงค์ที่อยู่เบื้องหลังการดำเนินงานคุก โดยประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินงานคุกเป็นที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับสิ่งที่เราคาดหวังจากคุก เช่น คนจำนวนมากรวมทั้งนักโทษ เชื่อว่าหน้าที่หลักของคุก คือ การแก้ไขฟื้นฟู ซึ่งในความเป็นจริงหน้าที่หลักของคุก คือ การควบคุมนักโทษ สำหรับประเด็นปัญหาที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาคุกที่สำคัญ คือ ปัญหาที่ว่ามีหลักฐานใด ในการสนับสนุนของเหตุผลในการลงโทษ เช่น ปรัชญาทางอาญาที่ขึ้นอยู่กับการป้องปราม ที่ยังไม่ปรากฏข้อมูลที่เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสามารถป้องปรามการกระทำผิดทางอาญาที่มีโทษจำคุก และ จากการศึกษายังพบว่าอัตราการเกิดอาชญากรรมที่มีโทษจำคุกของแต่ละมลรัฐมีความแตกต่างกัน จึงไม่มีสมมติฐานที่ว่าการจำคุกจะนำไปสู่การลดลงของอาชญากรรม (undercutting) ปรัชญาทางอาญาที่มีการสนับสนุนโปรแกรมการแก้ไขฟื้นฟู ที่เชื่อว่าสามารถลดปัญหาการกระทำความผิดซ้ำ แต่ยังไม่ปรากฏข้อมูลที่เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสามารถป้องปรามการกระทำผิดซ้ำทางอาญาที่มีโทษจำคุก ปรัชญาทางอาญาที่ขึ้นอยู่กับการลงโทษที่รุนแรง (แก้แค้นทดแทน) แต่ยังไม่ปรากฏข้อมูลที่เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าสามารถป้องปรามการ กระทำผิดทางอาญาที่มีโทษจำคุก


โดยสรุป


ถึงแม้ปรัชญาคุก (Prison philosophy) จะยังไม่มีจึงสมมติฐานรองรับที่ชัดเจนว่าการจำคุกจะนำไปสู่การลดลงของอาชญากรรม (undercutting) ทั้งปรัชญาคุกทางอาญาที่ขึ้นอยู่กับการป้องปราม ปรัชญาคุกทางอาญาที่ขึ้นอยู่กับ การแก้ไขฟื้นฟู และ ปรัชญาคุกทางอาญาที่ขึ้นอยู่กับการลงโทษที่รุนแรง อย่างไรก็ตาม ภายใต้ความเชื่อที่วาดภาพสังคมไว้ว่าเมื่อกระทำความผิดต้องติดคุก (reviling) จึงยังเป็นความเชื่อของสังคมที่จะต้องดำเนิน ต่อไป และ ความพยายามใด ๆ ในการวาดภาพสังคมโดยไม่ต้องติดคุกยังคง เป็นสังคมในจิตนาการของมนุษย์ต่อไปอีกนาน


.......................



อ้างอิง

ข้อมูลจากรายงานวิจัย เรื่อง ประวัติคุกและปรัชญาคุก (The Philosophy and History of Prisons by Robert Johnson)

ข้อมูลภาพจากเว็บไซต์ http://www.astorcollege.org/index.php?option=com_content&view =article&id=28&Itemid=75




หมายเลขบันทึก: 596517เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2015 10:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 11:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณมากครับคุณมะเดื่อ ภาพสวยมาก ผมชอบครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท