ใครคือผู้รู้ -> ตามรู้ -> ปล่อยรู้


พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านเมตตาสั่งสอนว่า ..

ในการนั่งสมาธินั้น ท่านให้ตั้งใจ แล้วกล่าวคำอธิษฐานจิตก่อนการนั่งสมาธิ
ให้น้อมนำคำอธิษฐานจิตเข้าสู่ใจ แล้วเริ่มต้นบริกรรม นึกพุทโธขึ้นที่ฐานของจิต (ของผมอยู่ที่หัวอกเบื้องซ้าย) ในนาทีแรก ๆ นั้นท่านให้ถามคำถามขึ้นในใจครั้งเดียวว่า "ใครคือผู้รู้ ?" ถามแล้วก็ปล่อยวางคำถามไปเลยไม่ต้องไปกังวลกับคำถามนั้น ..

แต่ก่อนผมทราบเพียงว่า การถามว่า "ใครคือผู้รู้ ?" นั้น เป็นแนวทางไปสู่ .. จุดพลังอำนาจ(ศูนย์รวมสมาธิ) และจากประสบการณ์ปฏิบัตินั้น การบริกรรมพุทโธเป็นการกรองอารมณ์หยาบ สำหรับผู้ที่ฝึกจ นชำนาญแล้ว บริกรรมไม่นาน จิตก็สามารถเข้าสู่สมาธิได้เร็วหรือทรงสมาธิอยู่แล้ว

แต่สำหรับผู้ฝึกใหม่นั้น อาจยังไม่เห็นความสำคัญ เพราะยังไม่ผ่านประสบการณ์จิตรวมลงเป็นสมาธิ ซึ่งต้องเพียรปฏิบัติต่อไปเรื่อย ๆ ก่อน


จนวันหนึ่ง เมื่อจิตรวมลงเป็นสมาธิ จิตละเอียดมากขึ้นเรื่อย ๆ

ผู้ปฏิบัติจะเริ่มเห็นชัดว่า "ใครคือผู้รู้" (จริง ๆ ก็เห็นมานานแล้วแต่ไม่ชัด ยังไม่มั่นใจ)


ในกรณีของผมนั้น เริ่มเห็นชัดว่า ใคร คือ ผู้รู้ ก็ตอนไปปฏิบัติเข้มในเทศกาลชีวิต ณ จีมานอม จังหวัดมุกดาหาร

วันนั้น เป็นวันที่ได้บ่มจิตให้สงบลึกลงไปเป็นลำดับ ตั้งแต่การพยายามถือศีล 8

การได้ทำวัตรเย็น ได้นั่งสมาธิ และได้ฟังธรรมเทศนา เรื่อง


คำสำคัญ (Tags): #สติ#สมาธิ#ปัญญา
หมายเลขบันทึก: 596012เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2015 06:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2015 08:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท