002_ประเมินเจตคติ (ฝึกทักษะ)


ประชุมขับเคลื่อนช่วงชั้น มีทั้งหมด 3 วาระ

    • นำเสนอผลลัพธ์เจตคติของกลุ่มประสบการณ์
    • ทบทวนกำหนดการงาน KM ที่จะจัดขึ้นในวันพุธที่ 14 ตค.2558
    • ทบทวน action plan
  • ทีมวิชาการ นำเสนอผลลัพธ์เจตคติของกลุ่มประสบการณ์ต่างๆ ตามลำดับช่วงชั้น ป.4-5-6 โดยแสดงเป็นร้อยละของนักเรียนที่รู้สึกไม่อยากเรียน และร้อยละของนักเรียนที่รู้สึกไม่เข้าใจ
  • สังเกตเห็นว่าครูแต่ละท่านรู้สึกตื่นเต้นกับผลลัพธ์ และเห็นความสนุกที่ได้ร่วมวิเคราะห์ถึงผลความสำเร็จ หรือผลกระทบที่เกิดขึ้นเพิ่มเติมจากคะแนนดังกล่าว
  • การเก็บผลสะท้อน ไม่จำเป็นต้องดึงเด็กให้ตั้งสติ แต่ควรเก็บตามความรู้สึกหรืออารมณ์ของเด็กที่เกิดขึ้นทันทีที่อ่านคำถาม เพื่อจะได้จับอารมรณ์ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจริงๆ
  • ทีมครูได้เสนอ เพิ่มหัวข้อการสะท้อน โดยแตกหัวข้อบทเรียนออกเป็นหัวข้อย่อยๆตามที่เรียนในแต่ละสัปดาห์ ทำให้สามารถเจาะลึกลงไปได้ว่านักเรียนมีความรู้สึกกับแต่ละหัวข้อ แตกต่างกันอย่างไร คาดว่าจะได้นำไปทดลองใช้ในเทอมหน้าแล้วสะท้อนผลการทดลองกลับมาแบ่งปันกันอีกครั้งหนึ่ง ไอเดียนี้ ถือเป็นนวัตรกรรมอย่างหนึ่งของการประเมินผลการเรียนรู้
  • ที่ประชุมชมเชยนวัตรกรรมดังกล่าว และจะให้นำเสนอบนเวที KM ในวันพุธหน้า เพราะต้องการส่งเสริมพลังบวกในการทำงาน และให้ทีมคิดค้นรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของนวัตรกรรมดังกล่าว (ownership)

************************

ช่วงบ่าย

ประชุมช่วงชั้น ครูป.4-5-6 ทั้งหมด

  • ที่ประชุมนำเสนอกราฟดัชนีเจตคติความอยากเรียน เปรียบเทียบแบบสัมพัทธ์กัน 12 แท่ง (ตามกลุ่มประสบการณ์) เพื่อสะท้อนให้ครูเห็นผลลัพธ์การสอนของตนในเทอมที่ผ่านมา
  • จากนั้น ให้แบ่งกลุ่มตามชั้นเรียน ป.4-5-6 เพื่อแลกเปลี่ยน
    • สะท้อนสิ่งที่เรียนรู้ในเทอมที่ผ่านมา
    • อะไรที่ทำได้ดี และใช้แนวทางอะไรที่ทำให้สำเร็จ
    • อะไรที่เป็นปัญหาอุปสรรค ครั้งหน้าจะแก้ไขหรือป้องกันได้อย่างไร

ใช้เวลาแลกเปลี่ยนประมาณ 30 นาที และนำเสนอกลุ่มละ 5 นาที

ที่ประชุมแจ้งปฏิทินการศึกษาในเทอมหน้า ยืนยันกิจกรรมสำคัญต่างๆ


สรุปสิ่งที่เรียนรู้ในวันที่ 8 ตค.2558

  1. สิ่งที่เรียนรู้ในวันนี้
    1. What เรียนรู้เรื่องอะไร
      1. 1.1.1. เรียนรู้ว่า การประเมินเจตคติของผู้เรียน (ความรู้สึกว่าเข้าใจ, ความรู้สึกว่าอยากเรียน) ส่งผลให้ครูทราบ feedback การเรียนการสอนของตนเอง, ทำให้ครูเห็นภาพชัดขึ้น เพื่อที่จะปรับปรุงการสอนในเทอมถัดๆไป
      2. 1.1.2.เรียนรู้ว่า บรรยากาศในการวิเคราะห์การประเมินผลควรเป็นไปด้วยความสนุก ไม่ใช่การประจานหรือมาหาข้อเสียของกันและกัน เราจะร่วมกันตั้งข้อสังเกต และช่วยกันดูว่ามีปัจจัยใดทำให้เกิดผลลัพธ์นั้นๆบ้าง
      3. 1.1.3. เรียนรู้ว่า การประเมินการสอนของครู จะไม่หยิบยกเรื่องปัญหาที่เด็กมาเป็นเหตุผลความล้มเหลว แต่จะพยายามช่วยกันหาปัจจัยที่เกิดจากฝั่งครูเอง เช่น มีการปรับแผนการสอน, มีการปรับเปลี่ยนครูใหม่ระหว่างเทอม
    2. Why เรียนรู้ไปทำไม
      1. 1.2.1.เรียนรู้ เพื่อทราบว่าผลลัพธ์ของการเตรียมการสอน จะสะท้อนมาที่นี่ หากเราเตรียมตัวดี และหมั่นบันทึกการสอน ก็จะทำให้เราสามารถย้อนรอยกลับมาดูปัจจัยความสำเร็จที่เกิดขึ้นในประเมินเจตคติได้
    3. How ทำอย่างไร
      1. 1.3.1.การประเมินเจตคติ จะทำทุกปลายเทอม โดยให้นักเรียนทำแบบสอบถามความรู้สึกของแต่ละบทเรียน, การให้คะแนนจะมี 3 ระดับ เป็นรูปหน้าคนยิ้ม,เฉย,บึ้ง จากนั้นทีมวิชาการจะนำมาประมวลผล สรุปเป็นคะแนนเพื่อเปรียบเทียบกับเทอมที่ผ่านๆมา
      2. 1.3.2.เมื่อนำเสนอผลตัวเลขในที่ประชุม ทุกคนจะช่วยกันสังเกตตัวเลขที่ปรับเปลี่ยนอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อหาปัจจัยความสำเร็จ หรือปัจจัยความล้มเหลว และนำไปพัฒนาปรับปรุงการสอนในเทอมถัดๆไป
  2. ความคิดเห็นส่วนตัวต่อสิ่งที่เรียน
    1. รู้สึกสนุกที่เห็นครูมีท่าทีตื่นเต้น และมีพลังบวกในการช่วยกันหาทางพัฒนาการสอน เพราะการอ่านค่าตัวเลขเป็นเรื่องที่ยาก และต้องช่างสังเกตความสัมพันธ์ของค่าต่างๆ
    2. รู้สึกว่า ตนเองเลือกมาฝึกงานถูกที่จริงๆ
  3. ไอเดียที่อยากทดลอง/ปฏิบัติจริง
    1. อยากทราบที่มาของหัวข้อต่างๆในใบประเมินเจตคติ
    2. อยากเห็นวิธีการรวบคะแนนและประมวลผลเจตคติออกมาเป็นตัวเลข
หมายเลขบันทึก: 596006เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2015 21:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2015 18:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะครูตัง

เพลินพัฒนาก็ยินดีต้อนรับ อินเทอร์นไฟแรงที่อยากรู้อยากเรียนอย่างนี้เช่นกันค่ะ..

ไอเดียที่อยากทดลอง/ปฏิบัติจริง

  1. อยากทราบที่มาของหัวข้อต่างๆในใบประเมินเจตคติ
  2. อยากเห็นวิธีการรวบคะแนนและประมวลผลเจตคติออกมาเป็นตัวเลข

ทั้ง 2 ข้อนี้ ครูตังหาเวลามาขอเรียนรู้กับครูนุช ที่ส่วนงานมาตรฐานได้เลยค่ะ จะช่วยคีย์ข้อมูลด้วยก็ได้นะคะ จะได้ฝึกปฏิบัติไปในตัวค่ะ :)

ครูใหม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท