001_ปฐมนิเทศ


ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา (IQA-internal quality assurance)

Assurance = “Right at first” ทำให้ถูกตั้งแต่แรก คือ วางแผนและทำให้ถูกที่สุด ในครั้งแรกไปเลย ดีกว่าทำไปก่อนแล้วค่อยมาคุมคุณภาพทีหลัง


IQA 1 คือ OLE (Object Learning Evaluation) หรือ PDCA (Plan, Do, Check, Action)

IQA 2 คือ ตัว metaprocess หรือตัวซ้อน เพื่อมาจับ IQA1 ตัวอย่างของ IQA2 เช่น นิเทศ supervision, LS, KM

เป้าหมายสูงสุดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างทีม และงานของ IQA1 กับ IQA2 ก็ือ การสนธิและผสานให้เป็นเนื้อเดียวกัน แม้ว่าจะเป็นงานต่างประเทศและต่างระดับก็ตาม

ตัว IQA1, IQA2 มันจะปรับปรุงไปด้วยกัน โดย IQA1 มีกลไกในการมองและปรับปรุงตัวเอง แต่ก็ยังไม่สามารถมองตัวเองได้กระจ่างชัด จึงต้องมี IQA2 ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็น IQA1 ได้กระจ่างชัด ทำให้สามารถสะท้อนและร่วมปรับปรุง IQA1 ได้อย่างแม่นยำทันท่วงที และในขณะเดียวกัน IQA1 ก็ส่ง feedback กลับไปให้ IQA2 ในการปรับปรุงด้วย

ถ้าไม่มี IQA1 มาก่อน แล้วทำ IQA2 เลย ทีมงานจะเหนื่อยมาก เพราะไม่รู้จะจับตาดูอะไร ทีมงาน IQA2 ก็ต้องไปสร้าง IQA1 ขึ้นมาเอง เพื่อจะได้มีงานทำ ซึ่งเป็นการทำงานที่ผิดขั้นตอน

แต่ IQA2 แม้มีกลไกในการมองและพัฒนาตัวเอง แต่ก็ยังไม่กระจ่างชัด จึงต้องมี IQA3

IQA 3 ทำหน้าที่ซ้อนอีกทีนึง โดยจะจับตาดู IQA1, IQA2

เพื่อสะท้อนและปรับปรุง IQA1 และ IQA2 ให้สอดคล้องเป็นเอกภาพ

IQA3 ผูกพันอยู่กับ feedback และความร่วมมือของ steak holder จึงอาศัย steak holder เป็นผู้มองให้

*****************************************************************

ในการตั้งโรงเรียน จำเป็นต้องกำหนดหลักสูตรขึ้นมา โดยมีลำดับการทำงาน 5 ขั้นตอนดังนี้

หลักสูตรสถานศึกษา

  • 1) โครงสร้างหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดแนวคิด, เป้าหมาย, โครงสร้างการจัดการศึกษา
    1. แนวคิด เช่น ปรัญชาในการพัฒนาคน, ความเป็นมาในอดีต, วิสัยทัศน์ในอนาคต
    2. เป้าหมาย (outcome) ต้องการกี่ด้าน, แต่ละด้านมีหัวข้อย่อยอย่างไร
    3. โครงสร้างการจัดการศึกษา (หรือเรียกว่า ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้) เมื่อต้องการบรรลุเป้าหมายในข้อที่แล้ว เราจะ
      • i.จัดกลุ่มประสบการณ์อะไรบ้าง มีกี่แบบ
      • ii.กลุ่มประสบการณ์ แต่ละแบบมีจุดเน้น ขอบเขตและกรอบความคิดในการทำงานอย่างไร
      • iii.ให้น้ำหนักและจำนวนเวลาทั้งหมดของแต่ละกลุ่มประสบการณ์อย่างไร
      • iv.กระจายหรือกระจุก กลุ่มประสบการณ์เหล่านั้น จัดเวลาอย่างไร
      • v.การเรียงลำดับกลุ่มประสบการณ์
        1. คู่ขนาน ดังที่กระทรวงจัดมา คือ เรียนทุกวิชาขนานกันไป
        2. บันไดตรง เมื่อเรียนชุดความรู้ที่ 2 แล้วสามารถทิ้งชุดความรู้ที่ 1 ได้เลย เพราะมันหลอมรวมทับไปแล้ว เช่น กีฬาบาส เมื่อเรียนการส่งลูกสลับ 3 คน ก็ไม่ต้องกลับไปฝึก การส่งลูก 2 คนแล้ว
        3. บันไดเวียน เป็นการเรียนซ้ำอีก แต่จะซ้ำในระดับที่เนื้อหาลึกลงไปเรื่อยๆ
        4. หัวหอม เรียนบวกเข้าไปเรื่อยๆ บวมไปเรื่อยๆ
      • (**รอบของการจัดกลุ่มประสบการณ์ แล้วแต่ รร.กำหนด อาจจะ 1 ปี หรือ 3 ปี อย่างไรก็ได้)
  • 2)ประมวลการจัดการเรียนการสอน ประมวลนี้จะเป็นพิมพ์เขียวสำหรับการประเมินผล และจะเป็นต้นแบบการทำแผนละเอียด (ถือเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่าง เชิงนโยบายของข้อ 1 กับเชิงปฏิบัติของข้อ 3) จะเป็นเอกสารของแต่ละกลุ่มประสบการณ์ (รายปีหรือรายภาคก็ได้) เขียนขึ้นจากกรอบการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มประสบการณ์นั้นๆ ได้แก่
    1. เป้าหมายของกลุ่มประสบการณ์นั้น (ซึ่งแบ่งย่อยเรียงลำดับเป็นรายสัปดาห์)
    2. วิธีการบรรลุเป้าหมายของกลุ่มประสบการณ์นั้น
    3. วันเวลา ที่จะจัดกลุ่มประสบการณ์นั้น
    4. สื่อ, อุปกรณ์, ชุดความรู้, แบบฝึก, แหล่งเรียนรู้ ของกลุ่มประสบการณ์นั้น
    5. ตัวชี้วัดของโรงเรียน (ของกระทรวงคือ หลักสูตรปี 51 ซึ่งเขียนล็อคไว้) จริงๆใน รร.สามารถเขียนขึ้นมาเองได้
  • 3)แผนการเรียนการสอน (แบบหยาบคือรายสัปดาห์ แบบละเอียดคือแต่ละคาบในสัปดาห์นั้นๆ) พร้อมคู่มือครู
    1. แผนการสอนนี้ มีจุดแข็ง/จุดอ่อนอย่างไร
    2. เด็กตอบสนองต่อแผนการสอนอย่างไร และจะแก้เกมส์อย่างไร
    3. ในแต่ละคาบ จะแบ่งกิจกรรมต่างๆกี่นาที, จะทำอะไรบ้าง(what), จะทำไปทำไม(why), จะทำอย่างไร(how)
  • 4)ทรัพยากร (+ทะเบียน+การจัดเก็บ) ที่ต้องใช้ในการจัดการเรียนการสอนทั้งหมด เช่น สื่อ, อุปกรณ์, ชุดความรู้, ชุดคู่มือการเรียนรู้สำหรับเด็ก, แบบฝึก, แหล่งการเรียนรู้ และทรัพยากรอื่นๆ
  • 5)การประเมินผล+หลักฐานการศึกษา โดยดูอ้างอิงจากข้อ 2 เป็นต้นแบบ
    1. หลักการ + แนวทางการประเมิน + ระบบการประเมิน
    2. เครื่องมือในการประเมิน เช่น แบบทดสอบ, แบบสังเกต, เครื่องมือสถิติต่างๆ, เกณฑ์การวัด
    3. รูปแบบเอกสารใบเกรด (transcript format)

*****************************************************************

ระบบหลักสูตรและการเรียนการสอน (IQA1) **ให้ดูรูปกล่อง IQA1**

  • 1.O= Object (Plan) คือการจัดทำและปรับปรุงหลักสูตรดัง 5 ข้อด้านบนให้เสร็จ
  • 2.L= Learning (Do) คือการนำหลักสูตร 5 ข้อด้านบนไปใช้จัดการเรียนการสอน
    • 2.1.สร้างความเข้าใจในหลักสูตรแก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น ครู, ฝ่ายวิชาการ, ผู้ปกครอง
    • การเตรียมความพร้อมของผู้สอน ได้แก่
      1. 2.2.1. PRE lesson study
      2. 2.2.2. การซ้อมสอนในส่วนที่ยาก PRE(มีครูสมมติบทบาทเป็นนักเรียน และครูอีกท่านลองซ้อมสอน)
      3. 2.2.3. WHILE
  • 3.E= Evaluate (Check) การประเมินผลการสอน โดยดูอ้างอิงจากหลักสูตรข้อ 2 ประมวลการจัดการเรียนการสอน
  • 4.(Act) การนำผลการประเมินและคำร้องเรียนติชม กลับไปพัฒนา O, L, E

*****************************************************************

สรุปสิ่งที่เรียนรู้ในวันที่ 7 ตค.2558

  1. สิ่งที่เรียนรู้ในวันนี้
    1. What เรียนรู้เรื่องอะไร
      1. เรียนรู้เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษา (Quality Assurance)
      2. เรียนรู้เรื่อง การวางหลักสูตรสำหรับสถานศึกษา มี 5 ข้อ
      3. เรียนรู้เรื่อง ระบบหลักสูตรและการเรียนการสอน (IQA1 = OLE/PDCA)
    2. Why เรียนรู้ไปทำไม
      1. เรียนรู้เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษา ไปเพื่อ พัฒนาผู้เรียนให้ได้คุณภาพที่ตรงกับเป้าหมายให้มากที่สุด ก่อนที่จะไปถึงขั้นตอน quality control ซึ่งเป็นขั้นตอนที่แก้ไขยากและใช้เวลามากกว่า
      2. เรียนรู้เรื่อง การวางหลักสูตรสถานศึกษา ไปเพื่อ ตั้งเป็นธงที่ชัดเจน ให้ครูทุกท่านเห็นทิศทางที่จะมุ่งไปด้วยกัน
      3. เรียนรู้เรื่อง ระบบหลักสูตรและการเรียนการสอน (IQA1) ไปเพื่อ ใช้เป็นแผนที่ในการจัดการเรียนการสอน และนำพาครูทุกท่านเดินทางไปสู่เป้าหมายคุณภาพได้อย่างมั่นใจ
    3. How ทำอย่างไร
      1. กำหนดคุณภาพผู้เรียนว่าต้องการผู้เรียนในลักษณะใด ครอบคลุมแต่ละหมวดได้แก่ Affective, Cognitive, Psychomotor&Skill
      2. ตั้งเป็นเป้าหมายและยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ ใน หลักสูตรการศึกษา ซึ่งมีทั้งหมด 5 ข้อ
      3. นำหลักสูตรทั้ง 5 ข้อ ไปสร้าง ระบบหลักสูตรและการเรียนการสอน (IQA1)
      4. นำ IQA1 ไปสร้าง IQA2 เพื่อใช้ในการตรวจสอบกลับมายัง IQA1
  2. ความคิดเห็นส่วนตัวต่อสิ่งที่เรียน
    1. รู้สึกดีใจ ที่ได้รู้จักขั้นตอนการประกันคุณภาพ ผ่านการเห็นภาพรวมของหลักสูตร, ระบบหลักสูตรและการเรียนการสอน
    2. ทำให้ครูรู้สึกมั่นใจว่า การมีระบบเหล่านี้ จะเป็นเครื่องมือพาผู้เรียนพัฒนาตนเองไปตรงตามเป้าที่วางไว้
  3. ไอเดียที่อยากทดลอง/ปฏิบัติจริง
    1. อยากศึกษาหลักสูตร, ระบบหลักสูตรการเรียนการสอน ของ รร.เพลินพัฒนา เป็นตัวอย่าง
    2. อยากลองนำหลักสูตร, ระบบหลักสูตรการเรียนการสอน ของ รร. ปัญญาประทีป มาเป็นโจทย์กรณีศึกษา
หมายเลขบันทึก: 596001เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2015 20:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ตุลาคม 2015 07:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท