ขับเคลื่อน PLC ที่ สพป. กาฬสินธุ์ เขต 1_27 : ถอดบทเรียน BP อ่านออกเขียนได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ (๓) "บ้านบ่อโมเดล"


บันทึกที่ ๑, บันทึกที่ ๒ "คำโพนทองโมเดล"

บันทึกนี้ มีเรื่อง "บ้านบัวโมเดล" มาเล่าให้ฟังครับ ...

ศาสตราจารย์สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตอธิการนิด้า (NIDA) เสนอว่า "ควรสร้างโรงเรียนประจำ" เพราะโรงเรียนประจำจะแก้ปัญหา "โรงเรียนขนาดเล็ก" กว่าสามหมื่นแห่งทั่วประเทศ ๔ ประการหลัก คือ ๑) แก้ปัญหาการขาดแคลนงบประมาณ ซึ่งอนุมัติต่อรายหัวของนักเรียน ๒) ครูไม่ครบชั้น ๓) ขาดวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย เช่น คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ สืบเนื่องจากข้อแรก และ ๔) ขาดการดูแลจากผู้ปกครอง (อันนี้รุนแรงจริงครับ... อ่านบทความท่านเผยแพร่ได้ที่นี่ครับ)

ในฐานะคนในพื้นที่ ผมเห็นด้วยกับท่านเต็มที่ แม้จะมีอุดมการณ์ส่งเสริมการสร้าง "โรงเรียนของชุมชน" ซึ่งส่วนหนึ่งรณรงค์ต่อต้านการยุบโรงเรียนขนาดเล็กผ่าน Change.org เพราะขณะนี้ไม่อยู่ในสถานการณ์ที่เราจะทำอย่างนั้นได้ในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม "ห้ามนโยบายเหมาเข่ง" เด็ดขาด ...

เมื่อยุบก็ไม่ได้ เพิ่มครูหรือเติมเงินก็ไม่ได้ จึงเกิดนโยบายครูตู้จากท่านนายกตู่ขึ้น คือนำ DLTV มาใช้ในโรงเรียนขนาดเล็กทั้งหมด ... ซึ่งผมคิดว่าเป็นแนวคิดที่ดีในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ... แม้ว่าจะอันตรายหากตีความว่า "ครูจะสบาย" หากใช้นโยบายนี้...

หลังจากใช้นโบาย DLTV ต่อไปนี้คือรูปแบบกิจวัตรของโรงเรียนขนาดเล็กแห่งหนึ่ง ซึ่งผมว่าน่าจะคล้ายๆ กันทั้งประเทศ


สังเกตว่า กิจวัตรของโรงเรียน หรือ "โรงเรียนวัตร" จะแตกต่างๆ กันระหว่างโรงเรียนได้เพียงช่วงต้นและช่วงท้ายของวัน ในกรณีของโรงเรียนแห่งนี้ ใช้กิจกรรม BBL ๒ ฐาน ใช้เวลาประมาณ ๒๐ นาที ก่อนจะเข้าห้องเรียนจาก DLTV ตามตาราง และมีการสอนเสริมช่วงบ่ายสองครึ่งถึงบ่ายสามครึ่ง มอบการบ้านก่อน จึงเลิกโรงเรียนไป ...

ความยากของ "ครูจริง" คือ ต้องทิ้งบทบาทเดิมๆ ให้ "ครูตู้" หันมาเป็น "ผู้อำนวยการเรียนรู้" ผมคิดว่า นี่เป็นโอกาสทองของผู้อำนวยการโรงเรียน ที่จะ "ปรับวิธีการเรียน เปลี่ยนวิธีการสอนของครู" ซึ่งจะสอดคล้องกับนโยบาย "สอนน้อย เรียนมาก" ของรัฐบาลต่อไป ...

ระบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่โรงเรียนบ้านบ่อโนนมะค้ำวิทยาคาร เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างครูกับผอ.ที่ทำงานร่วมกัน ดังถอดบทเรียนได้ดังแผนภาพด้านล่าง




แม้ว่าโรงเรียนบ้านบ่อโนนมะค้ำวิทยาคาร จะต้องดำเนินการสอนแบบ ทามไลน์ ของโรงเรียน DLTV ทั่วไป แต่โรงเรียนก็เลือกใช้เพียงบางวิชาเท่านั้น ส่วนรายวิชาหรือชั้นเรียนใด ที่โรงเรียนมีพร้อมก็จะจัดการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมระหว่างครูกับผู้อำนวยการ ดังมีขั้นตอนตามแผนผังข้างต้น ดังนี้

  • กำหนดเป้าหมายตามหลักสูตรร่วมกัน
  • เตรียมการสอนโดยเน้นนวัตกรรมและสื่อเทคโนโลยีต่างๆ ขั้นนี้ครูทุกคนจะออกแบบการสอนตามวิธีของตนเอง เขียนในแผนการสอน ก่อนขั้นตอนการเสนอให้ ผอ.พิจารณาต่อไป
  • ผอ. พิจารณาเห็นสมควร หรืออ่านให้ปรับปรุงบางส่วน เช่น อาจแนะนำส่งเสริมให้ใช้สื่อ หรือปรับนวัตกรรมการสอนให้ดีขึ้น โดยให้ครูเอาแผนฯ กลับคืนไปปรับใหม่
  • หาก ผอ. อนุมัติ ครูก็จะจัดการเรียนการสอนตามแผนฯ ของตนเอง ซึ่งรวมกระบวนการประเมินผลในแผนด้วย
  • ผอ. และครูร่วมกัสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำเอาความรู้หรือปัญหาใหม่ ไปปรับปรุงในวงรอบต่อไป

สังเกตว่า ผอ. กับ ครู จะรู้กันทุกขั้นตอน... ระบบนี้ดีครับ แต่คงต้องมีรายละเอียดและตัวอย่างมาเสนอต่อไป ผู้อ่านจึงจะสามารถนำไปใช้ได้จริงๆ ...

หมายเลขบันทึก: 595927เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2015 06:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2015 06:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท