CADL _ โครงการสืบสานฯ ปี ๒๕๕๘ _ "สร้างคนดี เหนือสิ่งใด" โรงเรียนสัตยาไส อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี (๕) "กระบวนการเรียนรู้เพื่อยกระดับจิตใจ"


อ่านบันทึกที่ ๑ ที่นี่ อ่านบันทึกที่ ๒ ที่นี่ อ่านบันทึกที่ ๓ ที่นี่ และ อ่านบันทึกที่ ๔ ที่นี่ ครับ

แนวคิดของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา เกี่ยวกับ "กระบวนการเรียนรู้เพื่อยกระดับจิตใจ" ให้ นักเรียนเป็น "คนดี" แสดงดังภาพด้านล่าง


(คัดลอกและปรับจากสไลด์ที่ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา เมื่อครั้งมาบรรยายที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๘ อ่านได้ที่นี่ และบันทึกของคุณสุรพงษ์ ผานาค อ่านที่นี่)


หลักคิดสำคัญของกระบวนการเรียนรู้นี้ ได้แก่

  • นักเรียนเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมที่มากระทบกับประสานสัมผัสทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย
  • สิ่งที่มากระทบกับประสาทสัมผัสทั้ง ๕ จะถูกบรรจุเป็นความทรงจำ และประสบการณ์ ไว้ใน "จิตใต้สำนึก" ไม่ว่านักเรียนจะรับรู้ รู้สึกหรือไม่ก็ตาม
  • "จิตใต้สำนึก" จะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ใส่เข้าไป หากเป็นสิ่งแวดล้อมดีๆ ใส่แต่สิ่งดีๆ นักเรียนก็จะเป็นคนดี สิ่งที่ครูควรทำคือ ปลูกฝัง "คุณค่าความเป็นมนุษย์" ลงในใจของนักเรียนให้จงได้
  • จิตใต้สำนึกที่ดีจะทำให้ ตีความไปในทางที่ดี หรือก็คือ "คิดดี" ถ้าจิตใต้สำนึกไม่ดีจะส่งผลตรงข้าม เปรียบเหมือน คนใส่แว่นสีอะไรก็จะทำให้มองสิ่งใดกลายเป็นสีนั้นไปหมด ...
  • การรับรู้ หรือ "รู้" ของนักเรียน ท่านเรียกว่า "จิตสำนึก" เกิดจากการ "ตีความ" ข้อมูลใหม่ที่ได้จากสัมผัสทั้ง ๕ ร่วมกับข้อมูลที่เก็บไว้ในจิตใต้สำนึก ... สรุปคือ รับรู้เพราะคิดบนฐานความรู้หรือประสบการณ์เดิม
  • การฝึกรับรู้ด้วยใจ หรือ รับรู้ด้วย "สัมผัสที่ ๖" จากแรงบันดาลใจ จากความรัก ความเมตตา จะสามารถยกระดับจิตใจของนักเรียนให้สูงขึ้นได้
  • เมื่อฝึกฝนสมถะและวิปัสนาถึงระดับหนึ่ง จะเข้าถึง มโนสำนึกหรือการหยั่งรู้ ท่านเรียกว่า "จิตเหนือสำนึก" .... ผมตีความว่านี้คือ ปัญญาญาณ...
  • ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ กระตุ้นการเรียนรู้ ปลูกฝังจิตใต้สำนึกที่ดี เป็น "แรงเสริม" ของการยกระดับจิตใจของนักเรียน

ผมเขียนกระบวนการนี้จากความเข้าใจที่เกิดจากการฟัง (สุตมยปัญญา) และคิด (จินตมยปัญญา) ตามสิ่งที่ อาจารย์ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ท่านบรรยาย ผิดถูกประการใด คงต้องเรียนรู้จากท่านโดยตรงนะครับ


AAR ตอนท้าย

คำถามสุดท้ายสำหรับการใช้ KM ทำงานคือ " กลับไปจะไปอย่างไรต่อ? " อันที่จริงเราก็ไม่ได้ตั้งคำถามตรงๆ ขนาดนี้ เพียงแต่พยายามให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมสะท้อนความเข้าใจ ว่าตนเองประทับใจอะไรเป็นที่สุด และจะนำสิ่งใดไปปรับใช้ได้บ้าง...

คำตอบคือ "การรับประทานอาหารมังสวิรัติ" "พี่ดูแลน้อง" "การกอด" และ การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วย ๒ คำถาม คือ ดีต่อตัวเองไหม ถ้าดีต่อเราเอง แล้วดีต่อทุกคนไหมหรือทุกสิ่งไหม ถ้าใช่ทั้ง ๒ ข้อ ก็ทำได้เลย.... ดังที่ผมเขียนไว้ในแต่ละบันทึกที่ผ่านมานั่นเองครับ ...

หมายเลขบันทึก: 595855เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2015 23:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ตุลาคม 2015 11:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท