พายุฝนฟ้ากับการแก้ปัญหาโรคแมลงศัตรูข้าว



ค่อยโล่งอกโล่งใจไปได้มากพอสมควร สำหรับพี่น้องเกษตรกรชาวไร่ชาวนา กับปัญหาภัยแล้งที่คาดหมายกันว่าจะต่อเนื่องยาวนานไปยังต้นปีหน้าคือเดือนพฤษภาคม 2559 เพราะผลพวงที่พ่วงด้วยปรากฏการณ์สภาพภูมิอากาศในระดับโลกที่เรียกว่า เอลณีโญ (Elnino) ซึ่งจะส่งผลกระทบให้ทวีปออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียมและไทย ประสบพบเจอกับปัญหาภัยแล้ง ควันไฟป่า ทุ่งหญ้าแห้งแล้ง สัตว์ขาดแคลนแหล่งอาหารแต่อีกฟากฝั่งหนึ่งทางฝึ่งของทวีปอเมริกาใต้ อย่าง ชีลี เปรู เอกวาดอร์ บราซิล กลับประสบพบกับปัญหาน้ำท่วมหรือที่เรียกกันในชื่อว่า ลาณีลญา (Lanina) ซึ่งก็จะตรงข้ามกับทางฝั่งของบ้านเรา

เมื่อฝนฟ้าพายุกระหน่ำซ้ำซัดเข้ามาอย่างนี้ ก็ทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนหรือพื้นที่เพาะปลูกเดิมก็อาจจะได้รับอาณิสงฆ์เพิ่มขึ้นมาได้บ้างไม่มากก็น้อย ช่วยทำให้ข้าวหรือพืชไร่ไม้ผลได้ฟื้นยืนต้นกลับมามีชีวิตชีวา ช่วยให้หัวจิตหัวใจพี่น้องเกษตรกรสามารถที่กระด๊ากระดี๊กระปรี้กระเปร่าขึ้นมาได้บ้างไม่มากก็น้อย

แต่สิ่งที่ควรระวังไว้อย่างหนึ่งในห้วงช่วงหน้าฝนก็คือเรื่องของโรคแมลงนะครับ เพราะว่าปริมาณไนโตรเจน ที่มากับน้ำฝนนั้นค่อนข้างมาก ปรากฎการณ์ฟ้าร้องฟ้าผ่า ที่เรียกว่า ไนตริฟิเคชั่น ก่อให้เกิดไนตริก ไนไตรท์ และท้ายที่สุดก็ได้ไนโตรเจนหรือปุ๋ยตัวหน้าไปสู่พืช ทำให้พืชเจริญเติบโต อวบอ้วน อ่อนแอ ง่ายต่อการเข้าทำลายของโรคแมลงและเชื้อโรค การระบาดในเรื่องดังกล่าวก็จะมีมากในช่วงนี้

ยิ่งถ้าพี่น้องชาวไร่ชาวนาใช้เมล็ดพันธุ์ที่หนาแน่นเกินความจำเป็น ก็จะยิ่งทำให้ต้นข้าวแออัดยัดเยียดมากยิ่งขึ้น ต้องใส่ปุ๋ยมากขึ้น ฉีดพ่นปุ๋ย ยา ฮอร์โมน มากขึ้น ใบห่อม้วนพันกันเป็นบ้านเป็นกระท่อมให้เพลี้ย หนอน แมลง ไร รา หลากหลายชนิดเข้ามาอยู่อาศัย ทำให้ต้นทุนเพิ่มทั้งค่าเมล็ดพันธุ์และค่าการดูแลบำรุงรักษาผสมกลมกลืนกับฟ้าฝนยิ่งทำให้เหมือนกับเป็นเคราะห์ซ้ำกรรมซัดมาสู่ชาวนา

โดยเฉพาะโรคใบไหม้จะพบระบาดกันมากนะครับ ในลักษณะภูมิอากาศแบบนี้ มีหลายพื้นที่หลายจังหวัดที่เกษตรกรแจ้งมายังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกรมส่งเสริมการเกษตร ดังนั้นจึงควรหาวิธีป้องกันในเบื้องต้นไว้ก่อน โดยเฉพาะเทคนิคในเรื่องของการล้างใบทำลายสปอร์ ในรูปแบบที่พึ่งพิงอิงอาศัยตนเอง ด้วยการใช้สารสกัดจากเปลือกมังคุดโดยการนำเอาเปลือกมังคุดแห้งที่ผึ่งลม นำมาโขลก บด ตำ ให้ละเอียด หมักกับแอลกอฮอล์หรือเหล้าขาว 500 ซี.ซี. หมักไว้ 7 วัน แล้วนำมาใช้ครั้ง 2 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้เปียกชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุกครั้งหลังฝนตกไปวันหรือสองวันต้นทุนประมาณ 10 สตางค์ และถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นก็ควรกลุ่มของพวก ผงจุลสี แมงกานีส ซิลิก้าจากหินแร่ภสตางค์ และถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นก็ควรกลุ่มของพวก ผงจุลสี แมงกานีส ซิลิก้าจากหินแร่ภูเขาไฟ สังกะสี (ชื่อการค้า ฟังก์กัสเคลียร์) ในอัตรา 2 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ร่วมไปด้วย ต้นทุนจะเพิ่มมาอีก 25 สตางค์หรือหนึ่งสลึงค์ ก็จะยิ่งเพิ่มความมั่นใจในการล้างใบทำลายสปอร์ลดการระบาดของโรคใบไหม้หรือโรคที่เกี่ยวกับเชื้อราได้เป็นอย่างดีสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02 986 1680 – 2

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 595539เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2015 18:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2015 18:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท