​ โปรตีนในอาหารกุ้งสูงมากกุ้งย่อยไม่หมดเกิดแก๊สของเสีย



การเลี้ยงกุ้งในบ้านเรานั้นดูเงียบเหงาซบเซามาหลายปี ตั้งแต่หลังจากเหตการณ์ ไนท์วันวัน (911) ที่สมุนของบิลลาเดน กลุ่มอัลกออิดะห์ได้บังคับให้เครื่องบินโดยสารมุ่งหน้าไปชนตึกเวิลด์เทรดของประเทศอเมริกา ทำให้ตึกแฝดที่เป็นเอกลักษณ์ของอเมริกานั้นสูญสลายหายไปจากประวัติศาสตร์ทันทีหลังจากวันนั้น 11 กันยายน 2544 จนถึงวันนี้สถานการณ์กุ้งในบ้านเราก็ยังไม่ถือว่ารุ่งโรจน์โชติช่วงชัชวาลย์เหมือนกับห้วงช่วงปี 2537 – 2542 ซึ่งขณะนั้นไม่ว่าจะพื้นที่ภูมิภาคไหนที่เป็นเขตเลี้ยงกุ้ง จะมีใบพัดตีน้ำพัดตีละออกน้ำออกมากระเซ็นเส้นสายกระทบกับประกายแดดไปทั่วทั้งพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น อ. แหลมสิงห์ จังหวัดตราดอ. แกลง จ. ระยองอ. บางน้ำเปรี้ยว และอีกหลายอำเภอใน จ. ฉะเชิงเทรา อ. พาน จ. ชลบรี อ. สามร้อยยอด อ. กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช อ. ปากพนัง สิชลอ. ระโนด สงขลาจ. พังงาจ. กระบี่ย้อนขึ้นมาแม้แต่โซนภาคกลางที่ในขณะนั้นไม่น่าเชื่อว่าจะมีกุ้งกุลาดำ ซึ่งถือว่าเป็นกุ้งน้ำเค็มจะมีการเลี้ยงได้ ทั้ง อ. บ้านแพ้ว จ. สมุทรสาครอ. บางเลน จ. นครปฐมอ. สองพี่น้อง จ. สุพรรณบุรี ในพื้นที่นี้จะเรียกว่า “กุ้ง” บูมหรือไม่บูมก็มีข่าวให้นายบรรหารศิลปะอาชา นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นต้องออกมาหย่าศึกระหว่างนากุ้ง กับนาข้าวของพี่น้องเกษตรกรที่มีปัญหาเรื่องของน้ำเค็มจากบ่อกุ้งปล่อยออกมารบกวนการปลูกข้าวทำนาของเกษตรกรท้องถิ่นกันเลยเชียวแหละ

ที่ตลาดกุ้งเงียบเหงาตั้งแต่เหตุการณ์ ไนท์วันวัน นั้นก็เพราะว่าตลาดใหญ่ของบ้านเราที่นำเข้ากุ้งกุลาดำเป็นอันดับต้นๆของโลกนั้นก็คือ ยุโรป อเมริกา และก็ญี่ปุ่นเมื่อเหตุการณ์ก่อการร้ายเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด จึงทำให้ฝรั่งตาน้ำข้าวไม่ว่าจะเป็นยุโรป อเมริกา ก็หวาดผวาไม่กล้าให้ผู้คนชนทั่วโลกเดินทางเข้าออกหรือแม้แต่การนำเข้าสินค้าเกือบทุกชนิดก็ต้องมีมาตรการที่เข้มงวด เพราะยังมีปัญหาในเรื่องของเชื้อโรค แอนแทรกซ์ ที่แอบใส่ในซองจดหมาย เมื่อใครเปิดอ่านก็จะได้รับเชื้อเจ็บป่วยตายโดยไร้ยารักษา ยิ่งทำให้โลกๆ ทั้งโลกตกอยู่ในความหวาดกลัวมาตลอด เพิ่งจะคลี่คลายก็ไม่นานมานี่เอง

หลังจากนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในบ้านเราก็เริ่มมาให้ความสนใจในเรื่องของการเลี้ยงกุ้งขาว แวนาไม ที่สร้างรายได้ดี โตเร็ว เลี้ยงง่ายแต่อย่างว่าพอเลี้ยงมาได้สักระยะก็มีปัญหาในเรื่องของโรคตายด่วน(EMS [Early Mortality Syndrome]) โรคนี้สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้แก่ผู้เลี้ยงกุ้งทั่วโลกนะครับ ไม่ใช่ว่ามีแต่ในบ้านเราบ้านเดียวปัจจุบันโรคตายด่วนนี้ก็ยังสร้างปัญหาให้กับประเทศไทย เวียดนามอินโดนีเซียม และอินเดียล่าสุดนั้นอเมริกามีการตีกลับกุ้งจากเวียดนาม และอินเดียว เนื่องด้วยมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค จึงทำให้น่าจะเป็นโอกาสอีกครั้งหนึ่งของพีน้องเกษตรกรของไทยเราที่ถ้าสามารถเลี้ยงกุ้งให้ผ่านได้ก็น่าจะทำตัวเลขการส่งออกมากขึ้น แต่เดิมเมื่อปีสองปีที่แล้วมีตัวเลขเพียงห้าถึงหกหมื่นตัน แต่มาปีนี้เห็นแว่วๆว่าเขาจะทำกันหื้ได้มากถึง 300,000 ตันทีเดียวเชียวล่ะครับ

จากนโยบายของรัฐบาล คสช. ที่ให้งบประมาณให้ทางกรมประมงไปปรับปรุงนำเข้าพ่อพันธุ์แม่พันธุ์จากต่างประเทศมาเพาะเลี้ยงแล้วจำหน่ายจ่ายแจกพันธุ์ที่ปลอดเชื้อไปสู่พี่น้องเกษตรกรปีละประมาณ 100,000 คู่ จึงทำให้สถานการณ์กุ้งบ้านเราดูเหมือนว่าจะค่อยๆ ดีขึ้นประกอบกับการเลี้ยงแบบเข้าใจในธรรมชาติและเน้นในเรื่องของการทำแบบปลอดสารพิษ คือไม่ใช่ยา ไม่ใช้ปูน แต่ใช้หินแร่ภูเขาไฟ (สเม็คโตไทต์ Smectotite, สเม็คไทต์ Smectite , ไคลน็อพติโลไลท์ Clinoptilolite) ช่วยในการจับแก๊สของเสียที่พื้นบ่อ และการใช้กลุ่มของบาซิลลัส MT (Bacillus Subthilis ssp) โดยเฉพาะกลุ่มของสมาชิกชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ซึ่งเป็นแฟนคลับเก่าแก่กันมาเกือบยี่สิบปีที่ยังเลี้ยงอยู่รอดกันอยู่ เนื่องด้วยทั้งหินแร่ภูเขาไฟและจุลินทรีย์ที่มีการคัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงให้มาทำหน้าที่ย่อยกากปลาป่น ข้าวโพด ถั่วเหลืองบด โดยเฉพาะ ให้ก๊าซของเสียมีน้อย ออกซิเจนมากขึ้น อีกทั้งเปอร์เซ็นต์ของโปรตีนในอาหารสัตว์ปัจจุบันมีการแข่งขันกันเพิ่มเปอร์เซ็นให้สูงขึ้นเพื่อโชว์ตัวเลขแข่งขันกันทางด้านตลาดส่งผลทำให้กุ้ง หอย ปู ปลา เต่า ตะพาบ ไม่สามารถจะย่อยสลายโปรตีนที่หลงเหลือหลังจากขับถ่ายออกมาให้สะอาดหมดจดได้ โปรตีนที่มากเกินความจำเป็นนี้จึงเป็นปัญหาเมื่อตกค้างอยู่ที่พื้นบ่อ บูดเน่า ย่อยสลายกลายเป็นก๊าซแอมโมเนีย ไนไตรท์ไฮโดรเย่นซัลไฟด์ (ก๊าซไข่เน่า) และมีเทน ทำให้กุ้งปลาหายใจไม่ออก เครียด กินอาหารน้อย โตช้า ภูมิคุ้มกันต่ำ เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย มี่รายงานจากคุณประสิทธิ์ทรทรัพย์ สมาชิกชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ที่เลี้ยงกุ้งอยู่ที่ อ. กุยบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์ ได้แจ้งว่า ถ้าดูแลรัก๋ษาพื้นบ่อให้สะอาด แม้แต่โรคต่ายด่วนอย่าง EMS ก็ไม่สามารถเข้าทำอันตรายใดๆแก่กุ้งของเขาได้สนอกสนใจข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 081 398 3128

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 595521เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2015 17:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2015 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท