​ ฝนมาพัดพาปุ๋ยสูญหาย



ฤดูฝนปีนี้ล่าช้ากว่าทุกๆปีนะครับ เนื่องด้วยอาจจะเป็นอิทธิพลของเอลณีโญที่ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศเขาได้ออกมาให้ข้อคิดเห็นว่าเป็นความผิดปรกติของอุณหภูมิเหนือน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกที่สูงขึ้น ทำให้กระแสลมตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก (ทวีปอเมริกาใต้) ที่เคยพัดพาเอากระแสน้ำอุ่นไปกองอยู่ทางฝั่งตะวันตก (ทวีปออสเตรีเลีย) ทำให้มีระดับน้ำสูงเหนือฝั่งอยู่ 50 – 60 เซนติเมตร ต้องอ่อนกำลังลงส่งผลทำให้ระดับของกระแสน้ำอุ่นไหลย้อนคืนกลับนำความร้อนให้ยิ่งแผ่กระจายมาอยู่ส่วนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิกและไปกดทับกระแสน้ำเย็นที่เคยนำมาความอุดมสมบูรณ์มายังชายฝั่งอเมริกาใต้บริเวณประเทศ ชิลี เปรู

โดยปกติกระแสน้ำเย็นที่พัดจากด้านใต้มหาสมุทรแปซิฟิกจากชายฝั่งตะวันตกมายังตะวันออกก็จะนำเอาตะกอนเถ้าภูเขาไฟมาด้วย แล้วก็มาโผล่ปากอ่าวชิลี เปรู ทำให้น่านน้ำแถบนี้อุดมไปด้วยแพลงค์ตอน สาหร่าย ปลากะตัก และสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ เป็นจำนวนมาก เป็นแหล่งอาหารให้แก่นกนานาชนิด เป็นแหล่งสร้างรายได้ในการส่งออกสินค้าประมงเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่พอเกิดปรากฎการณ์เอลณิโญขึ้นก็ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเลือนรางหายไป ฝนที่เคยตกฝั่งทวีปออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซียและไทย ก็กลายเป็นฤดูแล้งที่ยาวนานอีกฝั่งทางอเมริกาใต้ ก็กลายเป็นแหล่งความชุ่มฉ่ำด่ำดื่มกับสายฝนที่โปรยปราย บางครั้งมากเสียจนเกิดน้ำท่วม เลนสไลด์ กลายเป็นโศกนาฏกรรมก็มี นักวิชาการจะเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า “ลานิญญา”

ความจริงแล้วเอลณีโญนั้นจะเกิดทุกๆ 4 ปี และควรจะเกิดตั้งแต่ปลายปี 2556 แต่เนื่องด้วยความแปรปรวนเรื่องของสภาพภูมิอากาศในหลายๆด้าน จึงไม่ค่อยแน่ใจว่าจะเกิดขึ้นปีไหนกันแน่ เขาว่าอย่างไรก็คงต้องว่าไปตามนั้นละครับ ในเมื่อช่วงนี้บ้านเราก็มีฝนจากอิทธิพลของทะเลจีนใต้ในอ่าวไทยพัดขึ้นมากระหน่ำซัมเมอร์เซลล์กรุงเทพมหานครและพื้นที่ภาคอีสาน ภาคตะวันออกและภาคกลางบางส่วน ทำให้หลายพื้นที่กระแสน้ำพัดพาชะล้างเอาอินทรียวัตถุและแร่ธาตุสารอาหารต่างๆ ติดไปด้วย ทำให้เกิดการสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ยิ่งเป็นดินที่แน่นแข็งเป็นดาน ไม่โปร่งฟูร่วนซุยก็ไม่สามารถที่จะกักเก็บน้ำซับปุ๋ยไว้ในผืนดินได้

การใช้หินแร่ภูเขาไฟ “พูมิชซัลเฟอร์ Pumish Sulpher) จะช่วยทำให้ดินโปร่งร่วนซุย ช่วยให้ดินมีประสิทธิภาพในการระบายถ่ายเทน้ำและอากาศ ค่าความสามารถในการจับและแลกเปลี่ยนประจุจะช่วยทำให้แร่ธาตุสารอาหารในดินไม่ถูกชะล้างทำลายหายไปกับน้ำ ช่วยทำหน้าที่เป็นตู้เย็นให้กับพืช พืชหิวก็กิน อิ่มก็หยุด ช่วยทำให้พืชไม่เฝือใบ อ่อนแอ อวบอ้วน ง่ายต่อการเข้าทำลายเพลี้ย หนอน รา ไร

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 595514เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2015 17:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2015 17:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท