มะนาวในกระถาง ระวังเรื่องดินแน่นแข็ง



เกษตรกรที่ปลูกมะนาวโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในเมือง มีพื้นที่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นทาวเฮาส์ หมู่บ้านจัดสรร หรือโครงการที่อยู่อาศัยในรูปแบบต่างๆ ก็ล้วนแล้วแต่มีพื้นที่ต้องจำกัดจำเขี่ย จะเพาะจะปลูกอะไรก็ต้องให้ได้ประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่หันไปให้ความสนใจในเรื่องการปลูกมะนาวในโอ่ง อ่าง กระถางที่ชำรุด หรือไม่ก็กระถางที่ดีมีสีสันลวดลายต่างๆบางคนก็ใช้วงซีเมนต์ที่มีราคาประหยัดลงมาหน่อย (เมื่อเทียบกับสี่ห้าปีที่ผ่านมาก่อนที่จะมีกระแสการปลูกในวงซิเมนต์ที่มาแรง) ไม่นับรวมพืชไร่ไม้ผลอื่นหรือไม้ดอกไม้ประดับก็เช่นเดียวกัน ต่างก็ถูกออกแบบ จัดสรรให้เหมาะสมลงตัว กับพื้นที่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

การปลูกต้นไม้ในกระถางสิ่งที่ท่านผู้รักต้นไม้ทั้งหลายจะต้องให้ความสำคัญก็คือเรื่องของการเฝ้าระวังดิน ที่นำมาเพาะปลูก เพราะส่วนใหญ่จะใช้ดินที่ซื้อมาจากข้างทาง ซึ่งมีการตักหน้าดินขายมาหลายสิบปี จนไม่แน่ใจว่าปัจจุบันพื้นที่ร้อยไร่พันไร่นั้น จะยังมีหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์อยู่หรือเปล่า หรือจะเหลือเพียงดินเหนียวบวกกับขี้เถ้าแกลบและปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกอีกนิดหน่อย เพราะนำมาใส่ในต้นไม้ทีไรเผลอแป๊ปเดียวก็มีแต่ดินเหนียวทุกที (ฮ่าๆอันนี้ไม่กล้าฟันธงนะครับ)

จะอย่างไรก็ตามครับ ถ้าเรานำมะนาวมาปลูกไว้ในกระถาง พฤติกรรมการปลูกที่ต้องรดน้ำลงไปในพื้นที่จำกัดและจะต้องมีน้ำส่วนเกินไหลออกไปนอกกระถางตามรูรั่วด้านล่างของก้นกระถางอินทรียวัตถุต่างๆ ก็จะถูกชะล้างนำพาออกไปด้วยทุกครั้ง ทำให้ดินในกระถางที่ปลูกมะนาวจะแน่นแข็งทุกๆ สามเดือน หกเดือนหรือหนึ่งปีจึงเป็นพฤติกรรมที่ทำกันบ่อยของชาวสวนผู้ปลูกต้นไม้ในกระถางที่จะต้องมีเทศกาลเปลี่ยนดินหรือวัสดุปลูก ความจริงการหมั่นเติมกลุ่มของฮิวมิค แอซิด (ชื่อการค้า โพแทสเซียม ฮิวเมท) เพื่อทดแทนอินทรียวัตถุปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกที่สูญสลายหายไปกับน้ำก็ช่วยทำให้ดินอ่อนนุ่มไม่แน่นแข็งได้เช่นเดียวกัน และยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับหินแร่ภูเขาไฟ พูมิชซัลเฟอร์ (Pumish Sulpher) ด้วยแล้ว ก็จะทำให้แร่ธาตุและสารอาหารในกระถางของมะนาวเกือบครบโภชนาการของพืช หรือครบห้าหมู่ถ้าเรียกแบบชาวบ้าน แถมหินแร่ภูเขาไฟยังช่วยทำให้ดินโปร่งร่วนซุยอย่างยั่งยืนได้อีกด้วยนะครับ

บางคนอาจจะมีปัญหาดินแน่นแข็งเป็นดานไปแล้ว ปล่อยเลยตามเลยจนรากขัดสมาธิไม่อยากจะรื้อขุดเปลี่ยนดิน ด้วยสาเหตุที่ไม่ค่อยมีเวลาหรือสุดแท้แต่จะหามาอธิบาย ท่านก็สามารถใช้สารละลายดินดาน ALS 29(แอมโมเนียมลอเลธ ซัลเฟต) นำมาละลายน้ำในอัตรา 30 – 50 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดรดหรือฉีดพ่นลงไปบนกระถางทุก 15วันถึงหนึ่งเดือน ก็ได้ตัวสารละลายดินดาน ALS29 จะช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าทำให้ดินที่แน่นแข็งนั้น กลับมาอ่อนนุ่ม โปร่งฟู ร่วนซุย ได้อย่างรวดเร็ว หมดปัญหารากขัดสมาธิ น้ำท่วมขังผิวหน้า การระบายถ่ายเทน้ำไม่ดีแต่ข้อเสียของสารละลายดินดาน ALS 29 ก็คือ ถ้าใช้จนดินโปร่งฟูและร่วนซุยแบบรวดเร็วแล้ว เกษตรกรผู้ปลูกไม่ยอมใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก หรือ ฮิวมิค แอซิด หรือกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟเข้ามาช่วยเสริมสร้างโครงสร้างดินให้ดี ดินก็สามารถที่จะยุบฟุบตัวแน่นแข็งได้อีก ....ต้องการข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม เรื่องเกษตรปลอดสารพิษ ให้คิดถึงเรานะครับ...โทร. 02 986 1680 – 2

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 595510เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2015 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2015 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท