เทคนิคการดูแลบำรุงรักษามะนาวให้ออกดอกติดผลได้ตลอดทั้งปี



พูดถึงมะนาวในยุคนี้ก็ดูจะอยู่ในกระแสที่ผู้คนชนทั่วไปให้ความสนใจไม่น้อย และตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา หลังจากน้ำท่วมกระแสเกี่ยวกับมะนาวแพงในฤดูแล้ง หรือจะเป็นทอล์คออฟเดอะทาวที่ท่านผู้นำให้ผู้คนหันมาสนใจให้ความสำคัญเกี่ยวกับการปลูกมะนาวไว้กินกันเองในครัวเรือน จะได้ไม่เดือดร้อนเกี่ยวเรื่องของมะนาวที่แพงจนเป็นข่าว เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ที่ต้องการปลูกมะนาว เท่าที่ทราบคนที่รวยไปก่อนแล้วก็คือผู้ที่ค้าขายกิ่งพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นชนิด กิ่งตอน ติดตา เสียบยอด ทั้งต้นตอสมโอ มะขวิด ส้มทรอยเยอร์ หรือจะเป็นสารพัดส้มที่ดูแล้วทำให้ต้นพันธุ์ดูแล้วมีลักษณะที่ผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมเล็กน้อย อาจจะเป็นด้วยลักษณะของสภาพแวดล้อม การเจริญเติบโตของรากที่หาอาหารได้เก่งมากขึ้น จึงทำเซียนมะนาวที่ขายกิ่งพันธุ์นำมาจำแนกแยกแบ่งว่าเป็นพันธุ์ใหม่ ซึ่งก็มีผู้ที่ให้ความสนใจไช่ว่าจะน้อยเสียเมื่อไร

โดยที่ความจริงแล้วการที่นักวิทยาศาสตร์หรือผู้เชี่ยวชาญเรื่องสายพันธุ์กว่าจะพัฒนาให้ได้พันธุ์พืชหรือพันธุ์สัตว์นานาชนิดที่ใหม่ๆออกมา ล้วนแต่ต้องใช้ระยะเวลาหลายสิบปี ทดสอบแล้วทดสอบอีกเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่จริงๆ ไม่ใช่เอาพันธุ์ไปเสียบยอดมะขวิดแล้วลักษณะการเจริญเติบโตของผลใหญ่กว่าต้นแม่นิดหน่อยก็ตั้งชื่อพันธุ์ใหม่ หรือใช้เป็นกิ่งตอนที่เจริญเติบโตเร็วก็ตั้งชื่ออีกพันธุ์หนึ่ง แต่ถ้าให้เซียนมะนาวลองนำมาทดสอบเปรียบเที่ยบกันดู เชื่อว่าร้อยละ 90 ไม่สามารถที่จะแยกแยะสายพันธุ์ได้อย่างชัดเจนหรือพูดออกมาได้อย่างเต็มปากเต็มคำ เพราะรูปร่างสัณฐานดูละม้ายคล้ายคลึงกันไปหมดแทบไม่มีความแตกต่างจะแตกต่างอยู่บ้างก็ตรงชื่อของสายพันธุ์ที่เจ้าของเป็นผู้ตั้งเองขึ้นมาใหม่ กับราคาที่สูงกว่าหรือเกือบเท่าๆ กับค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทยเรา

ความจริงแล้วมะนาวเกือบทุกสายพันธุ์ในบ้านเรานั้นสามารถที่จะผลิดดอกออกผลได้ตลอดทั้งปี เพราะเป็นพืชที่จัดอยู่ในหมวดหมู่ของพืชที่มีดอกผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันถ้าเรามองย้อนกลับไปในอดีตที่ผ่านมานานแสนนานตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตาทวดและค่อยๆคิด ค่อยๆ นึก ก็จะพอเห็นภาพลางๆ ว่า แท้จริงแล้วมะนาวที่อยู่คู่ครัวไทยมานานแสนนานนั้นก็เป็นมะนาวที่ผลิดอกออกผลได้ตลอดทั้งปี เพียงแต่ว่าเขาปลูกประจำหัวไร่ปลายนา ปลูกไว้หน้าบ้านหลังบ้านเพียงต้นสองต้น อยู่ผสมกลมกลืนกับพืชไร่ไม้ผลชนิดอื่นๆ ที่ปัจจุบันเขาเรียกรวมๆกันว่าไร่นาสวนผสม เวลาจะทำกับข้าวทำน้ำพริก ปู่ย่าตายายหรือพ่อแม่ก็จะตะโกนให้ลูกหลานไปเก็บพริก มะนาว เอามาโขลกมาแกง แว่บหายไปพักเดียวประเดี๋ยวมาก็ได้สิ่งของทุกอย่างตามต้องการไว้กว่าออกไปซื้อหาซุปเปอร์มาร์เก็ตนอกบ้านอีก เพราะเขาเอาซุปเปอร์มาร์เก็ตมาไว้ในบ้านนั่นเอง

แต่มะนาวที่ผลิดอกออกผลได้ตลอดทั้งปีนั้น มักจะอยู่ในจุดที่เหมาะสมมีน้ำล้างจาน หรือน้ำที่ชำระล้างกับข้าวกับปลาแล้วสาดออกไปจากครัวไทยสมัยก่อนที่เป็นเรือนสูงมีใต้ถุน ได้รับน้ำ รับปุ๋ยแบบเจ้าของไม่รู้ตัวตลอดทั้งปีจนเกิดความอุดมสมบูรณ์กับต้นมะนาวพร้อมต่อการติดดอกออกผลอยู่เสมอมะนาวที่ได้รับแร่ธาตุและสารอาหารที่เพียงพอ เหมาะสม และอยู่ในดินที่มีค่าความเป็นกรดและด่างที่พร้อมต่อการละลายแร่ธาตุและสารอาหาร ไม่บล็อก ไม่ตรึง จับยึด ปุ๋ยหรืออาหารจากสภาพดินที่เป็นกรดหรือด่างจัดเกินไป ก็จะช่วยให้ได้มะนาวทะวาย หรือมะนาวที่ผลิดอกออกผลได้ตลอดทั้งปี

การที่จะปลูกมะนาวในลักษณะนี้ได้ ถ้าแนะนำก็อยากจะบอกว่าสามารถทำได้นะครับ แต่น่าจะต้องเริ่มต้นจากพื้นที่เล็กๆ ดูแลได้ทั่วถึง อย่างเช่น หนึ่งงาน หนึ่งไร่ และสูงสุดต่อหนึ่งครอบครัวไม่ควรเกิน 5 ไร่ในเรื่องน้ำถ้าเป็นฤดูแล้งหรือห่างไกลทุรกันดานแหล่งชลประทาน นอกจากจะทำสระน้ำประจำไร่นาแล้ว ก็อาจจะใช้สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ในอัตรา 1 กิโลกรัมนำไปแช่น้ำในถัง 200 ลิตร ทิ้งไว้ 2 – 3 ชั่วโมง หรือถ้ามีเวลามากๆ ก็หนึ่งคืน รอจนพองขยายตัวได้เต็มที่ คือประมาณ 200 – 300 เท่า แล้วนำมากลบฝังใต้หรือรอบทรงพุ่ม ก็จะสามารถสร้างความชุ่มชื้นให้แก่มะนาวได้ตลอดทั้งปี

แร่ธาตุและสารอาหารต่างๆ ที่จะนำมาเติมเต็มความอุดมสมบูรณ์ก็อาจจะใช้หินแร่จากธรรมชาติ (Mineral Volcanic Rock) อย่างหินแร่ภูเขาไฟ พูมิชซัลเฟอร์ (Pumish Sulpher) ที่มีคุณสมบัติพร้อมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารทั้งฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซ๊ยม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมลิบดินั่ม นิกเกิล ไททาเนียม และซิลิก้าที่ละลายน้ำได้จะขาดก็แต่เพียง ไนโตรเจน ถ้าใช้ไปพร้อมๆกับปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ก็จะทำให้ดินนั้นมีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอต่อการที่จะทำให้มะนาวออกดอกติดผลได้ตลอดทั้งปีเช่นเดียวกัน การใช้หินแร่ภูเขาไฟไปนานๆ ก็จะเหมือนเป็นการจำแลงแปลงผืนดินของเราให้เป็นหินแร่ภูเขาไฟ เหมือนเกาะบาหลีประเทศอินโดนีเซีย หรือพื้นที่รอบๆ ภูเขาไฟฟูจิ ของประเทศญี่ปุ่น ที่มีนักท่องเที่ยวไปชื่นชมการเกษตรเชิงธรรมชาติปีหนึ่งหลายหมื่นหลายแสนคน เพราะทำการเกษตรแบบปลอดภัยไม่ใช้สารพิษในระยะยาวก็ไม่เกิดผลเสียแก่ดินเหมือนกับการใส่กลุ่มวัสดุปูนอย่างเช่น ปูนมาร์ล ปูนขาว โดโลไมท์ ฟอสเฟต เพราะจะกลายเป็นการสะสมความเป็นด่างเข้าไปแทนที่ จะมีข้อเสียอยู่บ้างก็ตรงที่ทำให้เงินในกระเป๋าของท่านลดน้อยถอยลงเมื่อลองเปรียบเทียบกับผลผลิตและรายได้จากการจำหน่ายแล้วสามารถนำไปใช้ได้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่คุ้มค่าไม่ว่าจะมองในระยะสั้นหรือระยะยาวนะครับ เพราะหินแร่ภูเขาไฟนั้นสามารถที่จะย่อยสลายและค่อยๆปลดปล่อยตัวเองมาเป็นปุ๋ยละลายช้าไปทีละน้อย (Slow Release Fertilizer) ทำให้ดินนุ่มโปร่งฟูร่วนซุย เป็นปุ๋ย เป็นตู้เย็นเก็บอาหารให้รากพืชได้ดูดกินได้อย่างต่อเนื่อง.......อย่าลืมนะครับ ถ้าสนอกสนใจในเรื่องนี้เพิ่มเติมติดต่อสอบถามเข้ามายังสำนักงานส่วนกลางบางเขน กรุงเทพฯ .....เรื่องเกษตรปลอดสารพิษให้คิดถึงเราครับ

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 595505เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2015 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2015 16:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท