เลี้ยงหญ้ารักษาหน้าดินช่วยให้พืชกินปุ๋ยอย่างสมดุล


พูดถึงหญ้า โดยเฉพาะหญ้าที่ไม่เป็นที่ต้องการของพี่น้องเกษตรกรลุงป้าน้าอาด้วยแล้ว ยิ่งน่าจะเป็นที่แขยงแทงขน เพราะหญ้าจัดเป็นวัชพืชที่เกษตรกรค่อนประเทศคิดว่าเป็นสิ่งชั่วร้าย แย่งน้ำ แย่งปุ๋ย แย่งอาหาร เจอแล้วจะต้องถากถางขุดรากถอนโคนให้หมดสิ้นไปโดยเร็วจึงเป็นเหตุแห่งการที่ร้านเคมีเกษตรทั่วประเทศจะต้องมียาคุมและฆ่าหญ้าทุกชนิดหลายยี่ห้อวางขายเกลื่อนกลาดดาษดื่นเต็มหน้าร้าน อาจจะเรียกได้ว่าเป็นยาสามัญประจำบ้านของพี่น้องเกษตรหรือร้านขายยาก็ว่าได้ มีทุกร้านค้าและหลังคาเรือน

แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่าหญ้านั้นก็ดีและมีประโยชน์ต่อพืชและตัวของเกษตรกรอยู่มิใช่น้อยเช่นกัน ในด้านของการช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้แก่ ช่วยสร้างที่อยู่อาศัยให้แก่จุลินทรีย์ ไส้เดือน แมลง ต่างๆ ทั้งตัวดีตัวร้ายให้อยู่กันอย่างสมดุล ในช่วงที่อากาศร้อนแล้งหญ้าจะช่วยพรางแสง ลดการคายน้ำ ลดปัญหาขี้เกลือตกผลึกสะสมอยู่ที่ผิวหน้าดิน เพราะถ้าดินมีความชื้นอยู่เกลือก็จะไม่ระเหิดระเหยตกผลิก หญ้าจะทำหน้าที่เป็นธนาคารปุ๋ยให้แก่พืชหลัก ไม่ว่าท่านจะปลูกมะนาว มะม่วง ลางสาด ลองกอง มังคุด ฯลฯ หญ้าจะดูดกินปุ๋ยในดินเข้ามาสะสมไว้ตนเอง ในช่วงที่พืชหลักยังไม่เจริญเติบก็ทำหน้าที่เป็นเพือนพี่เลี้ยง ถ้าเกษตรกรทำการตัดดายไปเพียงครึ่งเดียวอย่าถากจนเหี้ยนเตียน ส่วนปลายของต้นหญ้าก็จะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยคืนสู่ดินและธรรมชาติ กลายเป็นปุ๋ยกลับมาสู่พืชอีกครั้งหนึ่ง

นอกจากนั้นแล้วหญ้ายังทำหน้าที่ช่วยถ่วงความสมดุลให้กับพืช คอยแบ่งเบาปุ๋ยส่วนเกินไม่ให้พืชดูดกินมูมมากจนมากเกินไปและส่งผลทำให้พืชไม่เฝือใบ หลังจากทำหน้าคล้ายเป็นพี่เลี้ยงให้กับพืชหลักจนโตและสร้างล่มเงาบดบังพื้นที่มากขึ้น หญ้าก็จะเริ่มลดน้อยถอยลงไปตามธรรมชาติ ถ้าดูแลร่มเงาให้เหมาะสมหญ้าก็จะไม่รกรุงรัง สังเกตได้จากสวนยางพารา เงาะ ลองกอง ทุเรียนที่มีอายุเป็นสิบปีขึ้นไป เข้าไปในสวนในดงก็จะไม่มีต้นหญ้าที่ดูกรกลูกหูลูกตาจนน่าเกลืยดเกินไป

จะอย่างไรก็ตามการบริหารจัดการหญ้าถ้าหลีกเลี่ยงยาคุมและยาฆ่าได้ด้วยหลักการเขตกรรม ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี ดังที่ได้พูดหรือเอ่ยประโยชน์ได้ทราบกันไปในตอนต้น แต่ถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ยังต้องใช้กันอยู่ ยาคุมและฆ่าหญ้า ใช่ว่าจะไม่อันตรายต่อพืชหลักนะครับ หญ้า ก็คือ พืช,ทุเรียน ลองกอง มังคุด มะม่วง ก็พืช เพราะยาหรือสารเคมีที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของหญ้าก็ย่อมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชไร่ไม้ผลที่เราปลูกด้วยเช่นกันถ้าประสบพบเจอกับผืนดินที่มีการสะสมยาคุมและยาฆ่าหญ้าก็สามารถแก้ปัญหาด้วยการใช้สารล้างพิษในดิน อย่าง พูมิช(Pumish) หรือ พูมิชซัลเฟอร์ (Pumish Sulpher) นะครับ นอกจากจะมีค่าความสามารถในการจับสารพิษแลกเปลี่ยนประจุในดินอย่าง C.E.C. (Catch Ion Exchange Capacity) แล้ว ยังมีแร่ธาตุและสารอาหารที่จำเป็นต่อพืชอีกมากมาย ในระยะยาวถ้าใช้ร่วมกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกอยู่ตลอดก็สามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้อย่างสิ้นเชิง เรียกว่าได้ทั้งตัวที่ทำหน้าที่ล้างดินและได้ทั้งแร่ธาตุสารอาหารเร่งการเจริญเติบโตให้แก่พืชแบบ ทูอินวันกันเลยทีเดียวเชียวละครับ

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 595499เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2015 15:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2015 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท