หินภูเขาไฟใช้กับ เมล็ดทานตะวันอ่อน ผักโตเหมี่ยว ช่วยเพิ่มน้ำหนัก เหี่ยวช้ากรอบอร่อย



ในอดีตเมล็ดธัญพืชนำมาเพาะให้งอกแล้วนำมาผัดกับน้ำมันหอย ถ้าย้อนกลับไปสักประมาณสิบกว่าปีที่แล้ว ก็น่าจะมีแต่ผักโตเหมี่ยวเท่านั้นที่มีอยู่ห้างโมเดิร์นเทรด ซึ่งนำเข้ามาจากต่างประเทศโดยเฉพาะญีปุ่น แต่ปัจจุบันคนไทยให้ความสนใจในการบริโภคอาหารแนวเกษตรปลอดสารพิษ เกษตรออร์แกนิค ยิ่งราคาไม่แพงมากเหมือนผักโตเหมี่ยว เมล็ดของทานตะวันงอก เมล็ดทานตะวันออกจึงฮอทฮิตติดตลาด มีความต้องการมากขึ้นเป็นลำดับ ทำให้การเพาะในคราวละมากๆ เริ่มมีปัญหามาสู่พี่น้องเกษตรกรที่เริ่มมีออร์เดอร์เพิ่มมากขึ้น และดูแลรักษาไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวดองหนองยุ่งกับเชื้อรา นำมาซึ่งสาเหตุของโรคเน่าในลักษณะต่างๆ

ไม่ว่าจะเป็นใบเน่า ใบด่าง ใบดำ หรือลำต้นเน่า หรือรากเน่า สาเหตุส่วนหนึ่งก็มาจากวัสดุที่เพาะ แหล่งน้ำที่ไม่สะอาด หรือไม่ก็ความอ่อนแอจากสภาพแวดล้อมการดูแลบำรุงรักษา จึงทำให้โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ก่อกำเนิดเกิดขึ้นกับเมล็ดทานตะวันอ่อนได้ง่าย ไม่ว่าสาเหตุจะมาจากเชื้อโรคชนิดใดๆ ก็ตาม ทั้ง เชื้อราพิเทียม (Pythium spp.), ไฟทอฟเทอร่า (Phytopthora spp.) เชื้อราสเคอโรเทียม (Sclerotium spp.) เชื้อราไรซอกโทเนีย (Rhizoctonia spp.) เชื้อราคอลเลทโททริกัม (Colletotrichum spp.) เชื้อราอัลเทอนาเรีย (Alternaria spp.) เชื้อรา ฟิวชาเรียม (Fusarium spp ฯลฯ

การดูแลแก้ปัญหาในลัษณะที่เป็นการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุนั้นก็น่าจะใช้ได้ในกรณีเดียวกันกับที่เมืองนอกนิยมกัน คือการใช้แร่ธาตุซิลิก้าที่อยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้นำมาใส่ให้เป็นองค์ประกอบในวัสดุปลูก ช่วยให้เมล็ดของทานตะวัน ดึงดูด (Absorb) ซึมซาบเข้าไปในเมล็ดตั้งแต่เริ่มการเจริญเติบโต ช่วยทำให้ผนังเซลล์ในส่วนต่างๆ มีความแข็งแรง ต้านทานต่อโรคแมลงเพลี้ย หนอน รา ไรต่างๆ ได้เป็นอย่างดี (Silicon In Agriculture Program Agenda and Abstracts September 26-30, 1999 – Lago Mar Resort Fort Lauderdale, Florida USA.)

หินแร่ภูเขาไฟจะปลดปล่อยแร่ธาตุซิลิก้าออกมาได้มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์แตกต่างจากดิน หิน ทราย ทั่วไปที่มีซิลิก้า ในรูปโครงสร้างทางเคมี Sio2 ที่คงที่ละลายได้ยาก จึงเป็นประโยชน์ต่อพืชในการลำเลียงเลี้ยงส่งขึ้นไปสะสมในผนังเซลล์ได้น้อยกว่าหินแร่ภูเขาไฟที่ มีความสามารถในการปลดปล่อยแตกตัว ซิลิก้า (Sio2) เป็น โมนซิลิสิค แอซิด [Si(OH)4] และซิลิคอน (H4Sio4) ที่พร้อมต่อการดูดกินของพืชได้ทันที

เมื่อนำหินแร่ภูเขาไฟ (พูมิช (Pumish), พูมิชซัลเฟอร์ (PumishSulpher), ไคลน็อพติโลไลท์ (Clinoptilolite), ม้อนท์โมริลโลไนท์ (Montmorillonite) ฯลฯ มาใช้ในวัสดุปลูกของพวกเมล็ดอ่อนทานตะวัน หรือโตเหมี่ยว ในอัตราหินแร่ภูเขาไฟ 2 ส่วนกับวัสดุปลูก 8 ส่วน ก็จะช่วยทำให้พืชเหล่านี้มีคุณสมบัติที่ดีพิเศษขึ้นมา ทั้งแข็งกรอบ อร่อย มีน้ำหนักมีไฟเบอร์ ช่วยขับจับสารพิษในลำไส้ได้ดีขึ้น และที่สำคัญช่วยในเรื่องของการการเกิดโรคที่เกิดจากเชื้อราชนิดต่างๆ อีกทั้งกลุ่มของแมลงปากดูดอย่างพวกเพลี้ยไฟไรแดงต่างๆได้ด้วยเช่นเดียวกัน สนใจในเรื่องเกษตรปลอดสารพิษ อย่าลืมคิดถึงเรานะครับ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 02 986 1680 -2

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 595507เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2015 16:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2015 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท