เตรียมบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำตามวิถีธรรมชาติปราศจากยาฆ่าเชื้อ


อากาศที่เริ่มหนาวเย็นลงมาทีละน้อยๆ ทำให้เกษตรกรที่เลี้ยงกุ้ง หอย ปู ปลา อาจจะมีปัญหาบ้างเล็กน้อยถึงปานกลางจากพฤติกรรมที่สัตว์น้ำเหล่านี้อาจจะเซนส์ซิทีป(sensitive) อ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมหรือภูมิกาศในลักษณะที่หนาวเย็น ฟ้ามืด ฟ้าหลัว อากาศปิด โดยจะชะลอการกินอาหาร ทำให้เศษอาหารที่ตกค้าง และมูลต่างๆ ที่สัตว์น้ำเหล่านั้นขับถ่ายออกมา ทำให้เกิดการบูดเน่า จะมีปัญหาหนักยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อเจ้าของบ่อหรือพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาไม่สังเกตุและปรับการให้อาหารให้สอดคล้องเหมาะสมด้วยการเช็คยอ หรือเช็คปริมาณอาหารในยอให้พอเหมาะพอดีกับความต้องการกินของสัตว์น้ำชนิดนั้นในขณะที่กำลังเลี้ยงอยู่

นอกจากสัตว์น้ำไม่ว่าจะเป็น กุ้ง หอย ปู ปลา จะกินอาหารที่ลดน้อยถอยลงแล้ว จุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียอยู่ที่พื้นบ่อก็หยุดกิจกรรมด้วยเช่นกัน หรืออาจจะมีจำนวนที่ลดน้อยถอยลงไม่เพียงพอต่อการย่อยสลายก็จะยิ่งทำให้ทั้งเศษอาหารและมูลต่างๆนั้นสะสมมากยิ่งขึ้นช่วงนี้การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ควรต้องเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้นเพื่อเจือจางปริมาณของแก๊สของเสียที่บูดเน่าอยู่ที่พื้นบ่อ ไม่ว่าจะเป็นแก๊สแอมโมเนีย ไนไตรท์ ไฮโดรเย่นซัลไฟด์ และแก๊สมีเทน เพื่อไม่ให้เข้มข้นเกินจนไปทำลายสุขอนามัยของสัตว์ที่เลี้ยงอยู่จนเกิดอันตรายหรือถึงตายได้

การเตรียมบ่ออย่างประณีต อย่างถูกวิธีก็สามารถช่วยแก้ปัญหาเบื้องต้นจนถึงยันจับได้อย่างมากทีเดียวเหมือนกัน อย่างเช่นตอนขุดบ่อขุดสระใหม่ หรือหลังจากจับสัตว์ไปขายแล้ว หลังจากปาดหรือดูดขี้เลนออก ก่อนจะเติมปูนขาวควรจะต้องทำการตรวจวัดกรดด่างของดินให้แน่ใจเสียก่อนว่าดินนั้นเป็นกรด แล้วจึงค่อยใส่ปูน ดินที่เป็นกรดจะต้องมีค่าพีเอชต่ำกว่า 7 ลงมาแต่ถ้าเลี้ยงกุ้งน้ำเค็มอย่างกุ้งกุลาดำ กุ้งขาวแวนนาไม นั้นอาจจะต้องปรับพีเอชขึ้นมาให้ได้ถึง 8.5 ซึ่งถือว่าเป็นช่วงพีเอชที่เหมาะสมที่สุดแต่ถ้าจะต่ำกว่านี้ก็พอได้อยู่ครับ แต่ก็จะได้ประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำที่ย่อหย่อนตามลงมาด้วยเช่นกัน ทำให้ต้องสิ้นเปลือง วิตามิน ฮอร์โมนมาบำรุงเสริมเพิ่มเติมจนเสียสตุ้งสตางค์มากเกินไป

การใส่ยาฆ่าเชื้อและสารทำสีน้ำเทียมก็ควรหลีกเลี่ยงด้วยนำครับ ในช่วงเริ่มปล่อยกุ้งควรล้อมคอกและปล่อยน้ำอยู่ที่ระดับ 80 – 100 เซนติเมตร เพื่อให้อากาศถ่ายเทลงไปที่พื้นได้ง่าย เพราะกุ้งยังตัวเล็กอยู่ ใส่จุลินทรีย์บาซิลลัสMT เพื่อย่อยสลายขี้เลนหรือของเสียจากอินทรียวัตถุ (organic matter) ที่ตกค้างให้หมด อีกทั้งบาซิลลัส MT (Bacillus Subthilis) ยังทำหน้าที่เป็นอาหารให้สัตว์หน้าดิน เบนโธส ซึ่งถือว่าเป็นห่วงโซ่อาหารเบื้องต้นให้แก่ลูกกุ้ง ลูกปลา เต่า ตะพาบต่างๆ ได้ด้วยเช่นกัน การจับสารพิษและแก๊สของเสียที่อยู่ในชั้นของขี้เลนหรือขี้โคลนด้วยกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟ สเม็คโตไทต์ (Zeo smectotie) ก็จะช่วยทำให้แหล่งอาหารธรรมชาติเพิ่มขึ้นจากสารพิษ แก๊สของเสียที่ลดลง อีกทั้งตัวของหินแร่ภูเขาไฟเองนั้นเมื่อย่อยสลายก็ปลดปล่อยแร่ธาตุสารอาหารออกมาเป็นประโยชน์ต่อสัตว์หน้าดินและแพลงค์ตอนพืชและแพลงค์ตอนสัตว์ทำให้การสร้างสีน้ำทำได้ง่ายขึ้น อ้อเกือบลืมไปการทำสีน้ำให้เขียวเข้มนวลแบบธรรมชาติ แนะนำให้ใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกใส่ผ้ามุ้งเขียวปักไว้ตามจุดต่างๆ ซึ่งจะทำงานสอดประสานสัมพันธ์กับ บาซิลลัสMT , สเม็คโตไทต์ ทำให้ได้น้ำเขียวที่เป็นธรรมชาติ ไม่เข้ม ข้นหนืด เหมือนอย่างการใช้สารที่ทำสีน้ำเทียมช่วยทำให้กุ้ง หอย ปู ปลา เต่า ตะพาบโตเร็วดีขึ้นมากเลยทีเดียวเชียวล่ะครับ

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 595486เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2015 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2015 14:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท