อากาศหนาวพืชพักตัวใบเหลือง อย่าสิ้นเปลืองด้วยการเพิ่มเสริมยูเรีย


อากาศที่หนาวเย็นก็เป็นธรรมดานะครับที่พืชส่วนใหญ่จะพักตัวสะสมอาหาร หยุดการเจริญเติบโตทางด้านใบ (แตกใบอ่อน) การที่ไนโตรเจนหยุดทำงานก็ทำให้แป้งและน้ำตาลมีการสะสมเพิ่มมากขึ้นแทนที่ จึงทำให้พืชมีความพร้อมต่อการพัฒนาเป็นตาดอกได้มากขึ้นและค่อยๆเจริญเติบโตตามลำดับ ส่วนความอุดมสมบูรณ์จะมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับวันเวลาที่ผ่านมาว่าเจ้าของสวนนั้นมีการดูแลบำรุงรักษามาดีมากน้อยเพียงใด ถ้าพืชมีการสะสมอาหารที่ผ่านมามีจำนวนจำกัดหรือน้อยเกินไป ก็อาจจะส่งผลให้กระบวนการสังเคราะห์อาหารจากแสงแดดไม่สามารถที่จะลำเลียงแร่ธาตุและสารอาหารออกไปเลี้ยงดอกและผลอ่อนได้อย่างเพียงพอ จึงทำให้ดอกและผลอ่อนอาจจะมีการหลุดร่วงได้

ในห้วงช่วงที่กำลังติดดอกออกผลอยู่นี้จึงมีหลายสวนมักจะต้องมาสิ้นเปลืองแร่ธาตุและอาหารเสริมกันค่อนข้างมากโดยเฉพาะ แคลเซียมกับโบรอน นำมาฉีดพ่นสำหรับสวนหรือต้นไม้ที่ได้รับแร่ธาตุสารอาหารไม่เพียงพอ หรือมีการสะสมกักเก็บมาไม่พอใช้นำไปเลี้ยงดอกและผลอ่อน

มีเกษตรกรหลายท่านที่เข้ามาติดต่อสอบถามเกี่ยวกับเรื่องการทำแคลเซียมโบรอนใช้เอง เพราะราคาในท้องตลาดจะไปซื้อหามาใช้ก็มีราคาค่อนข้างแพงวันนี้จึงอยากจำนำมาบอกกล่าวเล่าสู่พี่น้องเกษตรกรอีกสักครั้งการทำแคลเซียมโบรอนสูตรซุปเปอร์แบบชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เพื่อป้องกันดอกและผลหลุดร่วงหรือช่วยป้องกันผลแตกอีกทางหนึ่งนั้นก็มีดังนี้นะครับ

ให้เตรียมน้ำสะอาด 20 ลิตร ใส่ภาชนะที่เหมาะสม แล้วเติมปุ๋ยแคลเซียมไนเตรท 15-0-0 ลงไป1.2 กิโลกรัม โบรอนพืช4 ขีดหรือ 400 กรัม ซิลิสิค แอซิด1 กิโลกรัม กวนละลายให้เข้ากัน แล้วเติมม้อยเจอร์แพล้นท์ลงไปอีก 50 ซี.ซี. เก็บใส่ภาชนะไว้ใช้ในคราวต่อไปครั้ง100 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตรในห้วงช่วงที่มีปัญหาดังที่ได้กล่าวไป

ทีนี้กลับมาพูดคุยกันในหัวข้อเรื่องของอากาศหนาวกันต่อนะครับ ว่าถ้าประสบพบเจอกับอากาศหนาวพบว่าพืชมีอาการขาดแร่ธาตุและสารอาหารเนื่องด้วยที่เข้าพักตัว ก็อย่าได้ใช้ปุ๋ยยูเรียไปใส่เพิ่ม (ภาษาชาวบ้านเรียก “กระทุ้ง”) เด็ดขาดนะครับ เพราะหลังจากพ้นอากาศหนาวหรือในช่วงที่อากาศอบอุ่นนั้นพืชจะกลับมาดูดกินปุ๋ยยูเรียอย่างมากมายตามน้ำหนักที่เราใส่ลงไป จนทำให้พืชเฝือใบอวบอ้วนง่ายต่อการเข้าทำลายของโรค แมลง เพลี้ย หนอน ราและไร โดยที่ไม่ได้ช่วยทำให้ข้าวหรือพืชที่กระทบหนาวนั้นกลับมาเขียวได้แต่อย่างใดนะครับ คือสรุปว่าจะมีแต่เรื่องที่เสียมากกว่าดี ทำให้สิ้นเปลืองเงิน พืชอ่อนแอ เปลืองยาฆ่าแมลง หนอน

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ มีผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้พืชต้านทานความหนาวเย็นแรกๆ เลยนั้นคือ “ซิงค์คีเลท 75 %” ต่อมาก็พัฒนาเป็น“ไวตาไลเซอร์” และล่าสุดนั้นตัวที่สมบูรณ์แบบที่สุดในขณะนี้นั่นก็คือ “ไรซ์กรีนพลัส” ซึ่งประกอบไปด้วย แร่ธาตุและสารอาหารที่ช่วยกระตุ้นกระบวนการ “เมทาบอลิซึม” ให้แก่พืช ทำให้พืชสามารถปรับตัวต้านทานต่อกาศที่หนาวเย็นจัดและร้อนจัดได้ตัวนี้จึงเหมาะสมต่อการนำมาใช้ในเรื่องของการแก้ปัญหาอากาศที่หนาวเย็นนะครับท่านผู้อ่านและพี่น้องเกษตรกรที่มีปัญหาแบบนี้ อีกทั้งการนำกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟมาใช้ (พูมิช, พูมิชซัลเฟอร์) ก็มีข้อมูลและรายงานวิจัยจากดอกเตอร์ทั่วโลกในหนังสือชื่อ “Silicon In Agriculture” ว่าช่วยทำให้พืชมีสถานะที่ทนต่อพื้นที่ดินเค็ม ดินกรด ดินด่างและต้านทานต่ออากาศที่หฤโหดได้ด้วยเช่นเดียวกันนะครับ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมโทรศัพท์มาคุยกันนะครับที่สำนักงานส่วนกลางบางเขน กทม. 029861680-2

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 595478เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2015 12:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2015 12:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท