นนส. เรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนชาว อุรักลาโว้ย ที่เกาะหลีเป๊ะ


ผู้เขียน ฟังชาวเล บ่นระบาย เล่าให้ฟังแล้ว ให้นึกถึง ซัลมาน ตัวละครในวรรณกรรม คนใบเลี้ยงเดี่ยว ของ ซีไรท์ชาวพัทลุง นาม กนกพงศ์ สงสมพันธ์ ในเรื่องโลกใบเล็กของ ซัลมาน ณ.วันนี้จะมีชาวเลแบบซัลมานเหลืออยู่สักกีคน .........

ณ.ท่าเทียบเรือ ปากบารา ขณะ รอเรือ สปีดโบ๊ต


คนทำงานอาสานักพัฒนาชุมชน คนของชาวบ้าน ที่ขับเคลื่อนงานเชิงพื้น และเชิงประเด็น มักถูกเชิญเข้าอบรมเชิงปฎิบัติการพัฒนาศักยภาพ ปีหนึ่งๆหลายหลายหน่วยงานและ หลายโครงการ ที่มาพัฒนาศักยภาพพวกเรา ชาว อาสาชุมชน หนึ่งวันบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้างแล้วแต่ความต้องการของเจ้าของโครงการ

ปี2558 ทาง สช(คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ)ได้พัฒนาศักยภาพ นักสานพลัง

"โครงการพัฒนาศักยภาพนักสานพลังขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม และพัฒนาสังคมสุขภาวะแบบมีส่วนร่วม" โปรแกรมการเรียนรู้นักสานพลัง(นนส) ขับเคลื่อน นโยบายสาธารณะ รุ่นปี 2558 มีผู้เข้าร่วมโปรแกรมทุกหวัดของภาคใต้ รวม 49 คน

เริ่มโปรแกรม CORE MODOULE 1 ตั้งแต่เดือน มกราคม 2558 ซึ่งแต่ละCORE MODOULE ใช้เวลา ครั้ง 4 วัน 4 คืน

CORE MODOULE 1 และCORE MODOULE 2 จัดอบรมที่ วิทยาลัยพยาบาล จังหวัดตรัง

CORE MODOULE 3 จัดที่โรงแรมหาดแก้ว รีสอร์ท จังหวัดสงขลา

ส่วนCORE MODOULE 4 จัดอบรมเมื่อวันที่ 27 - 30 สิงหาคม 2558 ณ.เกาะหลีเป๊ะ และบารารีสอร์ท อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ในครั้งนี้ เป็นการจบหลักสูตรของการเป็นนักสานพลัง มีกิจกรรมเรียนรู้มากมาย ทั้งวิธีการ เครื่องมือและการออกแบบ ในการลงไปปฎิบัติสานพลังในชุมชน ในวิชาเรียนรู้ชุมชน เรียนรู้วิถีของชุมชน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการ นโยบายสาธารณะระดับพื้นที่ กรณีพิพาทระหว่างชาวเลกับนายทุน "อุรักลาโว้ย" ที่เกาะหลีเป๊ะ เป็นวิชาที่ผู้เขียนชอบอยากเรียนรู้เป็นพิเศษ ด้วยเหตุผล 2 ประการ

คือ 1 ชอบเรียนรู้ประวัตศาตร์ ประเพณี วิถีชุมชน

2 เกาะหลีเป๊ะเคยมาเยือนเมื่อ 30 ปี ก่อน มีเกลอเป็นคน อุรักลาโว้ย

ได้มีโอกาสออกทะเลไปตกปลากัน อาศัยที่เกาะหลีเป๊ะ 5 วัน แต่น่าเสียดายที่ขาดการติดต่อ ตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันมาเยี่ยมในวันนี้ วันนั้นเมื่อ 30 ปีก่อน มีชาวอุรักลาโว้ย ไม่กี่ครอบครัว อยู่อาศัยกันแบบพี่แบบน้อง เอื้ออาทรแบ่งปันกัน ไม่มีวัด ไม่มีมัสยิด สิ่งยึดเหนี่ยว ประเพณีความเชื่อ

หาดปะไดดายา

" ชาวเลเป็นคนไม่มีศาสนา เขานับถือผีวิญญาณ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตลอดจนไสยศาสตร์ มักสร้างศาลพระภูมิเจ้าที่ ชาวเลเชื่อว่าทุกอย่างมีวิญาณศักดิ์สิทธิ์สิงสถิตย์อยู่ ต้องให้ความเคารพวิญญาณพรรพบุรุษและธรรมชาติ"(เอกสารการอบรมนนส.หน้าที่ 18)

แต่ณ.วันนี้ 30 ปีให้หลัง พอถึงเกาะลงเรือสปีดโบ๊ด ก็พบสัมผัสกับความเปลี่ยนแปลงเพื่อต้อนรับคนต่างถิ่นที่มาท่องเที่ยว มี รีสอร์ท โรงแรม ทุกหาดที่บนเกาะ พี่น้องเพื่อนเกลอผู้เขียน หายหน้าไปจากหาดทรายที่เคยเป็นสมบัติร่วมของพวกเขา ลงเรือแล้วมีรถยนต์ มารับ คณะ นนส.เข้าที่พัก ธารารีสอร์ท ที่หาดปะไดดายา ฝรั่งเรียก หาดพัทยา เข้าที่พักทานอาหารเที่ยง ชาวนนส.ก็ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูล ประเพณี วิถี วัฒนธรรม และความขัดแย้งของชุมชน จุดนัดพบคือโรงเรียนบ้านเกาะอาดัง ที่ตั้งอยู่ที่เกาะหลีเป๊ะ เพื่อฟังบรรยายให้ความรู้ จากคุณผู้เป็นทายาทของชาวเล ครูแสงโสม หาญทะเล ด้วยเนื้อเกาะเพียง 4 ตารางกิโลเมตร แต่ปัญหามากมาย

"ครูบอกว่า เพราะความไม่รู้พวกเราชาวเลจึงเชื่อคนง่าย และถูกเอาเปรียบมาตลอด จนวันนี้พวกเรานับร้อยครอบครัว ตกอยู่ในฐานะผู้บุกรุก ทั้งๆที่เป็นผู้บุกเบิกเกาะแห่งนี้ (เพ็ญศรี คีรีรอบ พลเมืองภิวัฒน์)

ปัญหาเรื่องความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัย ไม่มีทางออกทะเลไปหาปลา ปัญหาด้านสุขภาพ เป็นทุกข์ร่วมของคนชาวเลอุรักลาโว้ย ที่ไม่ได้รับการเยียวยาจากหน่วยงานไดๆ

จึงต้องพึ่งพาตนเอง โดยตั้งเป็น"ชมรมอุรักลาโว้ย มีการตั้งกองทุนออมกันเดือนละ 200 / คน เพื่อให้สมาชิกยืมไปประกอบอาชีพ และใช้จ่ายในยามจำเป็น ตอนนี้มีสมาชิก 128 คน (เพ็ญศรี คีรีรอบ พลเมืองภิวัฒน์)

จากรุ่นสู่รุ่น ถ่ายทอดทางวัฒนธรรม

และจากการที่ นนส.แบ่งกลุ่มลงเก็บข้อมูล สัมภาษณ์ แบบชวนคุย ก็พบปัญหาเดิมๆ เหมือนที่ ครูแสงโสมได้เล่าไว้ ในพลเมือง ภิวัฒน์ แต่วันนี้ที่หนักกว่าคือ การถูกรุกไล่ที่ มีชาวเลเพียงไม่กี่คนที่มีเอกสารสิทธ์ ปัญหาเรื่องสุขภาพก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งของชาวเกาะที่ เพราะ โรค หลายอย่าง เกินขีดความสามารถของ รพสต. ต้องเดินทางไปเข้ารักษาที่โรงพยาบาลจังหวัด ณ. วันนี้ วันที่ความเจริญเข้ามา นักท่องเที่ยวเข้ามา มีบริการของรัฐ มีโรงเรียน มีวัด มีมัสยิด มี รพ สต และมีรีสอร์ท แต่เจ้าของเกาะตัวจริง กลับต้องทนทุกข์ท เพราะเส้นทางออกทะเลถูกปิดกัน และถูกไล่ที่

ผู้เขียน ฟังชาวเล บ่นระบาย เล่าให้ฟังแล้ว ให้นึกถึง ซัลมาน ตัวละครในวรรณกรรม คนใบเลี้ยงเดี่ยว ของ ซีไรท์ชาวพัทลุง นาม กนกพงศ์ สงสมพันธ์ ในเรื่องโลกใบเล็กของ ซัลมาน ณ.วันนี้จะมีชาวเลแบบซัลมานเหลืออยู่สักกีคน .........

เครื่องมือหาปลา ของชาวอุรักลาโว้ย


เยาวชนทายาท เจ้าของเกาะ ที่บุกเบิก

ประเพณีวัฒนธรรม รองแง็ง

"

(“บังมานชอบอ้างอยู่เสมอ…”แหลมเล่าต่อ“โดยเฉพาะกับพวกนายหน้าว่าป๊ะมันสั่งนักสั่งหนา“เราคนทะเลได้มีผืนดินให้ตีนเหยียบนับเป็นความกรุณาสูงสุดของพระเจ้า”นี่…บังมานชอบอ้างคำนี้นายว่ามันฉลาดไหมล่ะ?…ทั้งป๊ะทั้งพระเจ้าของมันช่วยกันดึงราคาที่ดินขึ้นไปถึงสิบล้านแต่สุดท้ายมันก็โง่นั่นแหละมันยังบอกเขาอยู่นั่นแล้วว่าวิญญาณป๊ะมันไม่ยอมก็ป๊ะมันตายไปก่อนพวกโรงแรมจะเข้ามาตั้งสองปีแกจะไปรู้ได้ไงจริงมั๊ย?…ถ้าอยากรู้นะนายลองไปดูที่หลุมศพหลังกระท่อมมันสินายอาจได้ยินป๊ะของมันร้องไห้ที่มีลูกชายโง่ไม่ผิดเต่าทะเล!”) บางตอนจากเรื่องโลกใบเล็กของซัลมาน กนกพงศ์ สงสมพันธ์........


"ด้วยข้าพเจ้าไม่แน่ชัดในสาเหตุที่ทำให้ซัลมานหวงแหนผืนดินของตนยิ่งกว่าอะไรหมด--เพราะพ่อ?เพราะพระอัลลอฮ์?หรือเพราะความโง่เขลาทางธุรกิจ?…ข้าพเจ้ามองเห็นเพียงบางสิ่งบางอย่างที่รุกรานสู่โลกใบเล็กนี้ แม้จะเป็นการรุกรานอย่างเหี้ยมเกรียมและเลือดเย็นแต่มันก็เป็นได้เพียงซับพล็อตในนวนิยายหากข้าพเจ้าคิดจะเขียน ข้าพเจ้าลองให้ซัลมานเป็นนักอนุรักษ์ธรรมชาติคนหนึ่งทว่าหลังจากเรียบเรียงเรื่องราวในความคิดดูแล้วมันก็เป็นเพียงการทดลองอันโง่เขลา…ข้าพเจ้าพยายามมองโลกใบเล็กของซัลมานด้วยความเข้าใจใช้ทั้งสายตาและความคิดเข้าไปวนเวียนอยู่ในโลกใบนี้แต่มันก็ไม่มีพลังมากมายพอที่จะเก็บเกี่ยวสิ่งใดออกมาได้)

เวลาช่วงหน้าร้อนของข้าพเจ้าหมดลงบัดนี้ข้าพเจ้าได้แต่พลิกดูภาพในเอกสารแนะนำโรงแรมอันดามัน อินน์โลกใบเล็กของซัลมานยังดูสวยงามทรงเสน่ห์อยู่เสมอแต่ข้าพเจ้าก็ไม่ลืมที่จะหยิบอีกภาพหนึ่งมาเทียบด้วยทุกครั้งภาพนั้นเกิดจากฝีมือตากล้องธรรมดา ๆ ของข้าพเจ้าเองแต่มันก็มากมายเกินพอที่จะเก็บความรู้สึกของภาพไว้

ข้าพเจ้ายินดีจ่ายไปห้าร้อยบาทสำหรับของที่ระลึกจากอันดามันอินน์และโลกใบเล็กของซัลมานซึ่งเป็นเพียงภาพผู้หญิงคนหนึ่งกับลูกสองคนของหล่อนในรอยยิ้มที่ฝืดฝืนและแห้งแล้งเสียเต็มประดา ) บางตอนจากเรื่องโลกใบเล็กของซัลมาน กนกพงศ์ สงสมพันธ์

(ขอบคุณ นักเขียนกลุ่ม นาคร )

หมายเลขบันทึก: 594769เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2015 23:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2015 20:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

"...การถูกรุกไล่ที่ มีชาวเลเพียงไม่กี่คนที่มีเอกสารสิทธ์..." this is the same as the cases in America, Australia, New Zealand and ... Indigenous people had not 'paper record' to show ownership/guardianship of their land' because they "know it by heart, by tradition, by folklores,..." -- these records are not recognised by 'modern laws'.

น่าเศร้าสำหรับชาวเลนะครับ

อ่านแล้วคิดถีงเรื่องของหนังสือที่อ่านเช่นกัน

เมื่อความเจริญมา

หลายสิ่งหายไปนะครับ

น่ารักทุกคน คนหน้าสุดสวยคมขำค่ะ ได้ยินเสียงเพลงรองแงงแว่ว ๆมาค่ะ ไม่เห็นการแสดงจริงนานแล้ว

สำหรับคนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์น่าจะยังมีอีกหลายกลุ่ม รัฐน่าจะมีการจัดการให้เขามีที่อยู่ที่ทำกินอย่างเร็วก่อนการรุกไล่ที่ ทำนองเดียวกับอินเดียนในอเมริกาและแคนาดา เมารีในออสเตรเลีย รัฐเอาแต่ไล่รุก คนที่เข้าไปหาทางช่วยเหลือกลุ่มแรก ๆ กลับเป็น คนของชาวบ้าน ทำไมไม่ค่อยมีการริเริ่มโดยภาครัฐ

น่าสงสาร.

ชนกลุ่มน้อยถูกเอาเปรียบมาแต่โบราณกาล และยังคงถูกเอาเปรียบต่อไป.

น่าเป็นห่วงชนกลุ่มน้อยที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทยนะ

ที่วัฒนธรรมของเขา นับวันแต่จะถูก วั....ตถุธรรม...กลืนกิน

จนแทบไม่เหลือไว้ให้ลูกหลานได้ชื่นชม

ไปมาเมื่อเกือบสี่สิบปีที่แล้ว..น่าจะเปลี่ยนไปเป็นเกาะนักท่องเที่ยวไปแล้ว..ลิเปะ..ในอนาคต..ก็อาจจะถูกทะเลกลืน..ไปในไม่ช้า..เช่นเกาะอื่นๆ..ในทะเลใต้..เพราะช่วงสี่สิบปีที่แล้วมีฝรั่งชาติเยอรมัน..ได้พยายามทำเขื่อนจากต้นมะพร้าวช่วยอยู่..เจ้านี่แต่งงานกับหลานเจ้าเกาะ..ไม่ทราบยังอยู่รึเปล่า..ค่ะ..ท่านวอญ่าผู้เฒ่า สบายดีไหมคะ..(กลับเมืองไทยตุลานี้..ปลายปี..น่าจะมีโอกาศไปเยี่ยมกันอีกเจ้าค่ะ...ยายธีค่ะ)

เป็นกลุ่มชนที่น่าเห็นใจจริงๆครับ

ขอบคุณท่าน sr

เจ้าของชุมชน หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ถูกรุกราน ด้วยการพัฒนา

จารีตประเพณี ความเชื่อ ยึดโยงความเป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพยากร แต่กฎหมายออกมา ตอนหลัง ทำให้สิทธิ์ของของชุมชนดั้งเดิมถูกรุกราน ด้วยกฎหมาย

เรียนอาจารย์ ต้น ครั้งแรก เมื่อสามปีก่อนไป หลีเปะ ชุมชน มีความสุข ต้อนรับผู้มาเยือนด้วยความปรีเปรม แห่งสุข แต่วันนี้ ใบหน้า รอยยิ้มของพวกเขา หวาดระแวง ในการมาเยือนของอาคันตุกะ


เรียนท่านอาจารย์ ขจิต

รร เกาะอาดังที่หลีเป๊ะ น่าไปสนับสนุนการปลูกผัก

คนเล ไม่นิยมปลูกผัก เท่าที่สังเกตุ ชาวบ้านเขาไม่ปลูกอะไรกันเลย

-สวัสดีครับท่านวอญ่า

-ตามมาเยี่ยมครับ

-กิจกรรมยาวเลยนะครับ

-ด้วยความระลึกถึงครับ

-วันนี้มี"หนอนไม้"มาฝากครับ 55

ขอบคุณ อาจารย์ GD ที่มาเติมเต็ม ให้เห็นว่า ทั่วทั้งโลก คนชนเผ่า คนบุกเบิก มักถูกไล่ที่

pooklook88

สวัสดีครับ อาจารย์ พยาบาลวิชาชีพ

</a>

ทักทาย พี่ๆ นนส.ครับ จาก นนส.ภาคเหนือ ลำพูน

สวัสดีครับน้องมะเดื่อ

คนเล ก็มีปัญหาถูกไล่ที่ ตามกฎหมายเหมือนกับ ชนเผ่าที่ป่าละอู

เพราะความไม่รู้ และไม่อยากมีเรื่องมีราง จึง ถูกเอาเปรียบ

ตุลาคม มิตรรักแฟนเพลงพบกันที่บางสะพาน

ไปชมทะเลดาว กัน

เรียนคุณ ยายธี วันนี้ที่ปากพะยูน ฝนตกหนัก....

ยายธีมาเมืองไทย เราไปเยี่ยม อุรักลาโว้ยด้วยกัน

ไปดูคงามเปฃลี่ยนแปลง

ชาวบ้านชอบกินผักไหมครับ

อีกอยากดินพอจะปลูกได้ไหมครับ

สามสัก(samsuk)

เรียนท่านสามสัก ยิ้มของอุรักลาโว้ย พศ .นี้ ไม่เหมือนยิ้มเมื่อ 30 ปี ที่มาเยือน เขามองผู้มาเยือนอย่างหวาดระแวง

สวัสดีครับคุณ เพชร ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม

นำหนอนไม้ไผ่มาฝาก คงต้องชิมฝีมือ ท่าน ส้มตำตำครกเเหล็ก เมนูหนอนไม้ไผ่ สักครั้ง

บังครับ

หายป่วยหรือยังครับ

... บัง ดูแลสุขภาพดีดีนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท