​เมื่อเด็กทานคุกกี้ง่ายๆ แต่มาวิเคราะห์ตาม Model of Human Occupation (MOHO) ยากๆ


  Model of Human Occupation (MOHO) พัฒนาโดย Gary Kielhofner ในปี1997 พื้นฐานของโมเดลนี้ให้ความสำคัญกับ
>แรงจูงใจ (Motivation)ภายในที่แสดงถึง ความสามารถ ความสำเร็จ และบทบาทในแต่ละบุคคล 
>สิ่งแวดล้อม (Environment)ที่เป็นสิ่งเร้าที่ให้ข้อมูลเข้าไปสู่ระบบ การตอบสนองต่างๆต้องมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
>ลักษณะทางกายภาพ และโครงสร้างสังคม ได้แก่ วัฒนธรรม ผู้คนรอบข้าง ประชากร กลุ่มสังคม องค์กร วัตถุ

MOHO มองว่า..............................มนุษย์เสมือนระบบเปิด

credit: https://www.pinterest.com/pin/432134526715963444/

โมเดลนี้อธิบายรูปแบบการประกอบกิจกรรมของมนุษย์ที่ใช้ในเด็กว่า

  • เด็กเป็นระบบเปิดที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
  • กิจกรรมที่เด็กทำ (Child’s occupation) เป็นการแสดงผล (Out put) ของระบบ
  • ไม่มีระบบย่อย(Subsystem)ใดที่สามารถประเมินหรืออธิบายได้โดยปราศจากความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

และยังสนใจ กิจกรรม (Occupation) เกี่ยวกับการเล่น สนุกสนาน การทำงาน การพักผ่อนหย่อนใจที่สัมพันธ์กับความเชื่อ ความชอบ ประสบการณ์เดิม และแบบแผนพฤติกรรมที่เด็กต้องการ ความสามารถ (Competence) รวมทั้งบทบาท ทักษะ และแบบแผนพฤติกรรมที่สังคมยอมรับ และเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (Occupational role)

จากโจทย์ที่ให้นักศึกษาช่วยหาคำตอบ ให้อธิบายการทานคุกกี้ของเด็ก โดยใช้โมเดล MOHO ทำให้ดิฉันเข้าใจว่าโมเดลนี้มีความยากและลึกซึ้งมาก กว่าจะตกผลึก ก็ได้ขอความช่วยเหลือจากอ.ดร.ป๊อป มาช่วยกันวิเคราะห์.......................................การทานคุกกี้ ดูหมูๆง่ายๆ เคี้ยวแล้วกลืน แต่อธิบายโดยใช้MOHO จนเกือบจะโมโหกว่าจะได้คำตอบว่า

credit: https://www.pinterest.com/pin/135037688796807030/

การทานคุกกี้ของเด็ก


เด็กรู้สึกหิว จึงเลือกคุกกี้ของโปรดมาทานแก้หิว เขากัดหนึ่งคำเข้าปาก

เขามักเลือกทานคุกกี้บ่อยๆ เวลาหิวเพราะมันอร่อย

credit: https://www.pinterest.com/pin/27936460166064782/

หากนำทฤษฎีของมาสโลว์ มาใช้อธิบายการให้คุณค่า(value)ในการทานคุกกี้ของเด็ก ตามลำดับขั้นต่างๆได้ดังนี้

เด็กทำพฤติกรรม(หิว>ทานคุกกี้)นี้ซ้ำๆจนเป็นอุปนิสัย

เขาเป็นนักบริโภคในตอนนี้ แต่ในอนาคตเขาอาจจะอยากจะลองเปลี่ยนบทบาท เป็นคนทำขนม หรือคนขายขนมดูบ้าง

จะเห็นว่าการทานคุกกี้ทำให้เกิดหลากหลายทักษะจากง่ายๆ ไปซับซ้อน หากเขาทำบ่อยๆ ซ้ำๆ ได้รับการฝึกฝนอย่างเข้มข้นอาจจะกลายเป็นเด็กทานไว หรือแค่ชิมก็รู้แล้วว่าขนมชิ้นนี้มาจากร้านอะไร

หากพิจารณาแค่การเคี้ยวการกลืน

การทำทักษะ(skill)การดูดกลืน การเคี้ยว การกิน จึงจะทำให้เขาเคี้ยวหรือกลืนขนมได้ (Out put) การที่เด็ก เคี้ยวบ่อยๆ เร็วๆ จะเป็นการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ให้เกิดกระบวนการนำอาหารเข้าปาก (Input) อีกครั้ง ซ้ำๆ ซ้ำๆ


credit ภาพประกอบจาก pinterest

ขอยกเครดิตให้กับคำถามจากนักศึกษา อ.ป๊อป และความอุตสาหะของตนเอง



คำสำคัญ (Tags): #MOHO#กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 594298เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2015 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2015 22:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อ่านแล้วได้อารมณ์ และมุมมอง อย่างเป็นรูปธรรม และชัดเจนขึ้นมากๆครับ

ยินดีและดีใจกับความมุ่งมั่นเข้าใจโมเดลสุดยอดทางกิจกรรมบำบัดแบบไม่โมโห ขอบคุณมากน้องรัก

ขอบคุณ Mentor ที่น่ารักกับแอนเสมอค่ะ

ขอบคุณอาจารย์มากครับ

ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากเลยครับ

ยินดีอย่างยิ่งค่ะ พี่ขจิต :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท