704. เรียนรู้ศาสตร์ OD จาก "สามก๊ก" (ตอนที่ 34)


การศึกษาสามก๊ก ให้ประโยชน์ต่อชีวิตมากๆ ครับ มองไปจะเห็นอะไรดีๆมากมาย ผมเห็นตอนหนึ่งที่น่าเอามาคุยกัน ก็คือตอนเล่าปี่ยกทัพไปตีง่อก๊ก เพื่อล้างแค้นให้กวนอู แต่ด้วยความไม่รู้ ไม่เชี่ยวชาญในกลศึก แถมไม่ถามใคร ที่สุดก็ไปตั้งค่ายเรียงตัวกันไปตามแม่น้ำยาวกว่า 700 บี้ แถมตั้งอยู่ในที่ๆ เสียเปรียบมากๆ ที่สุดก็ถูกกองทัพง่อก๊กเผาทิ้ง และนำมาสู่ความสิ้นหวังและตรอมใจตายในที่สุด ตอนโจผีรู้ข่าวว่ากองทัพเล่าปี่ตั้งค่ายยังไงถึงกับทำนายได้เลยว่าแพ้ เพราะไม่มีใครทำกัน ส่วนขงเบ้งรู้ก็บอกว่าพังแน่ แต่ก็ยกไปช่วยไม่ทัน ที่สุดก็พังจริงๆ ..มันเกิดอะไรขึ้นกับเล่าปี่ในช่วงนั้นครับ มาวิเคราะห์กัน

เมื่อวันก่อนผมนำทฆฤษฎี Flow มาวิเคราะห์เตียวหุย เล่าเสี้ยน สุมาอี้ไปแล้ววันนี้ขอเอาทฤษฎีนี้มาวิเคราะห์เล่าปี่ครับ ผมฟันธงเลยว่าช่วงนั้นภาวะอารมณ์ของเล่าปี่เต็มไปด้วยความโกรธ และมีความวิตกกังวลสูง ผมเชื่อว่า เล่าปี่ไม่มีความสุขจริงๆ ไม่ไหลลื่น (Flow) และผมเชื่อว่าเนื่องจากเล่าปี่ไม่ Flow นี่เองทำให้เล่าปี่แพ้ มาดูกันว่าสิ่งที่ผมสันนิษฐาฯนั้นพอไปได้ไหม แต่ก่อนจะมาวิเคราะห์กัน เรามาดูว่า Flow คืออะไร ผมขออ้างบทความเมื่อสองตอนก่อน ที่ผมเขียนไว้ละเอียดพอสมควรดังนี้

The Flow หรือภาวะลื่นไหล ทฤษฎีนี้เกิดจากการวิจัยของนักจิตวิทยาคนสำคัญของโลกคือชิกเซ๊นมีฮาย ที่ศึกษาคนเป็นหมื่นคน แล้วพบว่าคนจะมีภาวะอารมณ์หลักๆ อยู่สี่อย่าง นั่นคือภาวะชิลล์ๆ พายเรือในอ่าง หรือหลงทาง (Apathy) เบื่อ (Boredom) วิตกกังวล (Anxeity) และสุขแบบลื่นไหล เพลินลืมวันลืมคืน (Flow) สามอารมณ์แรกไม่ดี แต่ตัวหลัง Flow นี่ถือว่าดีมากๆ งานได้ผลคนเป็นสุข สำเร็จด้วย โดยอารมณ์ที่ส่าเป็นผลผลิตของปัจจัยสองประการนั่นคือความท้าทาย (Challenge) และ ทักษะ (Skills)

ผู้คนพบทฤษฎีความสุขนี้เรียกทฤษฎีตนเองว่า “Flow” คนไทยเรียกว่า “ภาวะลื่นไหล” ซึ่งถือว่าเป็นภาวะความสุขที่พึงปราถนาที่มนุษย์ควรมี

เราจะ Flow หรือไม่ก็ต้องขึ้นกับเงื่อนไขสองอย่างคือ เราทำกิจกรรมที่มีความท้าทายสูง ในขณะเดียวกันเราก็ทักษะสูงด้วย ถ้าสองตัวนี้ไม่สมดุลจิตใจเราก็จะตกอยู่ในอีกสามสถานะ ซึ่งไม่ดีเลยนั่นคือ Apathy Anxiety หรือ Boredom

ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นไปตามกราฟข้างล่างนี้ครับ

มาดูกันในรายละเอียดที่ลึกกว่าเดิม คราวนี้ผมได้ยกตัวอย่างการตีเทนนิส

มาดูกันครับ

A1: Apathy ประมาณว่าพายเรือในอ่าง ลั๊นลากับชีวิต ตรงนี้ประมาณว่างานที่ทำอยู่ไม่ต้องใช้ทักษะมาก ความท้าทายก็ไม่มาก เหมือนคุณหัดเล่นเทนนิสและคุณเอาแต่เดาะบอร์ด ตอนแรกมันก็ดูสมดุลย์มีความสุขดี แต่ทำไปมากๆ ถ้าคุณไม่ลงสนามแข่งซักทีคุณก็จะเหมือนพายเรือในอ่าง ดูจับจดทำอะไรง่ายๆ อยู่แต่ใน Comfort Zone (พื้นที่สบาย) บางที่จากจุดนี้ก็สามารถขยับไป A 2 คือเบื่อชีวิต ได้ไม่ยาก ดูลั๊ลลาแต่ไม่ก้าวหน้าในชีวิตแน่นอน

A2: Boredom เบื่อหน่าย ประมาณว่าได้ทำอะไรที่ไม่มีความท้าทาย แต่ขณะเดียวกันผู้นั้นกลับมีทักษะสูง ถ้าอยู่ตรงนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะเบื่อหน่ายหมดไฟ ประมาณว่าสมมติคุณเล่นเทนนิสเก่งแล้ว แต่วันๆ ได้เล่นกับคู่ที่ไม่ค่อยเก่ง ไม่ท้าทาย สักพักคุณก็ไม่อยากเล่นสนามนั้นอีกต่อไป

A3: Anxiety หรือขั้นวิตกกังวล ตรงนี้เหมือนเล่นเทนนิสใหม่ๆ แต่คุณต้องไปเล่นกับประเภททีมชาติ (ผมก็เคยเผลอไปเล่น) หมดกันครับ ไม่เล่นแล้ว ไม่ไหวประสาทกิน ถ้าเป็นเทนนิส ก็ประมาณว่าเข้าแข่งทัวนาเม๊นต์วิมเบิลดั้นตลอด

A4: Flow (สุขแบบลืมวันลืมคืน) ภาวะนี้นี่เองที่มนุษย์มีความสุข แบบเพลินลืมวันลืมคืน ตรงนี้ทักษะกับความท้าทายสูงทัดเทียมกัน ตรงนี้ถ้าเป็นเทนนิสก็เหมือนคุณพัฒนาฝีมือขึ้น แล้วได้แข่งกับคนที่เก่งพอกัน แต่ก็ไม่ใช่จะล้มเขาง่ายๆ คุณต้องวางแผนต้องฝึกตัว ประมาทไม่ได้ ตรงนี้เลยคุณจะเข้าสู่ Flow ทักษะและความท้าทายมันสูงพอกัน

มาเข้าเรื่องกันครับ ประเด็นที่พระเจ้าโจผีหัวเราะลั่นว่าเล่าปี่ “เล่าปี่ไม่รู้กลยุทธ์ ไม่มีใครตั้งค่ายแบบนี้ แพ้แน่ๆ” ประเด็นนี้น่าเอามาคิดต่อครับ มาเริ่มกันเลยครับ

เล่าปี่โกรธมากๆ นี่ประกาศแก้แค้นให้กวนอู โดยไม่ดูตาม้าตาเรือเลย แถมยังให้ขงเบ้งเฝ้าเมือง ความโกรธของเล่าปี่หบอกให้เล่าปี่คิดว่าตนเองมีทักษะมากพอที่จะจัดการได้ แต่จริงๆ เล่าปี่กำลังสร้างเป้าหมายที่เกินตัว คืออยู่ดีๆก็ทำให้ตนเองตกไปอยู่ในภาวะ Anxiety คือเครียดกังวล โดยไม่จำเป็น โดยคิดว่าไปลุยเอา และเท่าที่ไปก็ไม่ได้เอาขงเบ้ง ทั้งๆที่ผ่านมาเล่าปี่ตั้งเป้าหมายไว้สูง ก็มีขงเบ้งนี่แหละเป็นมือเป็นไม้ให้ หรือเป็น Skill นั่นเอง เล่าปี่จึงมีชีวิตแบบ Flow มาตลอด ขงเบ้งอยู่ข้างกายเล่าปี่มาตลอด

นี่เสียศูนย์ทันที ที่สุดด้วยความ้ทาทายที่สูงลิ่ว แต่ขาดทักษะ ไม่มีความรู้เรื่องกลยุทธ์ เล่าปี่ได้เอาชีวิตไปทิ้ง และไม่เท่านั้นผมว่าความพ่ายแพ้ต่อง่อก๊กครั้งนั้น ทำให้จ๊กก๊กสั่นคลอน สูญเสียทั้งทรัพยากร คน และโอกาสมากมาย ขนาดขงเบ้งเองถึงกับพูดว่า “...ราชวงค์ฮั่นสิ้นแล้ว..”

เอาเป็นว่าบทเรียนความพ่ายแพ้ของเล่าปี่สอนว่า “อย่าโกรธครับ อย่าทำอะไรด้วยความโกรธ เพราะเราจะมองข้ามความเป็นจริง เราจะไปสร้างความ้ทาทายที่เราเองไม่มีทักษะจะจัดการมัน”

ผมเองก็เคยโกรธ เคยพยาบาทคน แต่ไม่เคยทำให้ผมเก่งขึ้นเลย และเอาชนะใครไม่ได้ แถมล้าหลัง สูญเสียอีก

คราวนี้เราได้ข้อสรุปแล้วว่าโกรธไม่ดี เพราะเราไปตั้งไปหมายใหญ่โต จนกลายเป็นความ้ทาทายที่เราจัดการไม่ได้

แต่ถ้าเล่าปี่จะจัดการเรื่องนี้ล่ะ ถ้าบังเอิญตัดสินใจไปแล้ว ไปอยู่ตรงนั้นแล้วจะทำอย่างไร เอาเป็นว่าผมว่าเราทุกคนก็คงอยู่สถานการณ์ที่มันท้าทายสุดๆ เป็นความท้าทายที่เราต้องการความรู้ เราจะจัดการอย่างไร ผมแนะนำ 4M Model ของ Edward de Bono นักคิดคนสำคัญของโลก อาจารย์สอนให้คิดผ่าน 4 M คือลองหาความรู้ ตอบคำถามผ่านคำถามสี่ข้อ ถ้าตอบครบเราจะได้ความรู้ได้ ทักษะใหม่ๆเสมอ ทำให้เราสามารถยกระดับทักษะเราเองจน Flow ได้ ...4 M มีดังนี้ครับ

Me Value สิ่งที่เราให้ความสำคัญ หรือความรู้ของเราคืออะไร เมื่อระบุได้แล้วมาดู

Mate Value สิ่งที่เพื่อนเราให้ความสำคัญ หรือความรู้ของเพื่อนเรา (องค์กรในอุสาหกรรมเดียวกัน) คืออะไร

Mankind Value ส่ิงที่องค์กรระดับโลกให้ความสำคัญ หรือความรู้ในเรื่องนั้นๆ ขององค์กรระดับโลกคืออะไร

Morale Value สิ่งที่ระบบศีลธรรม จริยธรรมว่าไว้คืออะไร รวมถึงการที่เราจะเอาความรู้ที่กลั่นกรองได้ไปใช้ว่าจะผิดศีลธรรม หรือทำให้คนมีขวัญกำลังใจดีขึ้นหรือไม่

ถ้าเล่าปี่หันมาใช้ 4M เพื่อเพิ่มพูนทักษะตนเอง น่าจะได้คำตอบดังต่อไปนี้ครับ

Me Value ข้าเชื่อการตั้งค่ายยาว 700 ลี้ เรียงรายตามแนวแม่น้ำ และอยู่ในที่ลุ่ม จะช่วยล่อศัตรูเข้ามาติดกับ เมื่อเข้ามาตรงไหน ก็จะดึงพลจากจุดอื่นมาโอบล้อมซะ

Mate Value เล่าปี่อาจลองศึกษา ถามเพื่อนที่อยู่แวดวงเดียวกัน ก็คือนักการทหารในยุคนั้น เช่นขงเบ้งก็จะบอกว่า “ท่านตั้งค่ายแบบนี้ ศัตรูลอบเข้ามาเผาค่ายจุดใดจุดหนึ่งก็วุ่นวายแล้ว ไม่ได้หรอก

Mankind Value เล่าปี่อาจลองมองไปในระดับโลก ตอนนั้นจีนไม่รู้จักใคร เอาเป็นว่าอย่างน้อยมองว่าอะไรที่โลกยุคนั้นยึดถือกัน ก็มองว่าอาณาจักรอื่นอ่านตำราไหน ก็จะเหมือนๆกันครับพิชัยสงครามซุนวู และอื่นๆ เล่าปี่ก็จะค้นพบตรงกับขงเบ้งพูดเลย ขนาดโจผียังคิดแบบขงเบ้ง มาถึงตรงนี้เล่าปี่จะเริ่มชั่งใจขึ้นมาแล้ว ว่าไอ้ที่คิด ไม่เหมือนกับ Mate Value กับ Mankind Value ถ้าทำก็บ้าแน่ มาดูตัวสุดท้าย

Morale มาดูคำสอน ปรัชญายุคนั้น คนยุคนั้นคงต้องขงจื้อ เล่าจื้อ ผมเลือกมาตัวหนึ่งเป็นเล่าจื้อพูดไว้ดังนี้

เมื่อเล่าปี่ได้ดูคำสอนเชิงคุณธรรมนี้แล้ว ก็จะเกิดเฉลี่ยวใจครับ ว่าใช่ไหมนะ ทำอะไรลงไปนี่ พังแน่ๆ ยังไม่พอ พอมาดูคำสอนของขงจื้อก็เจอจัดหนักไปอีก ดูนี่เลยครับ

เล่าปี่ก็ได้แนวคิดอีกว่าไม่ใช่แล้ว นี่ไม่ใช่การมองไกลเลย เจอปัญหาแน่นอน

ว่าแล้วเล่าปี่อาจตัดสินใจใหม่ อาจลองถอยทัพไปรอในจุดที่ไว้ใจได้ รอความเห็นของขงเบ้ง ให้ได้คำปรึกษาดีๆ ที่สุดก็จะมีทักษะเพียงพอ หรือไม่ก็หันมาปรองดองกับง่อก๊กซะ เพราะก็จะได้เมืองเกงจิ๋วและภรรยาที่ถูกจับไปคืน

แต่นี่เนื่องจากใช้แค่ Me Value คือความรู้ของฉัน ไม่มองคนอื่น ไม่มองโลก ไม่มองธรรมะ ที่สุดตาย และราชวงค์ฮั่นก็ล่มสลายไปอย่างง่ายดาย

ความโกรธ และ Me Value ของเล่าปี่นั่นเอง ทำลายเล่าปี่เองครับครับ

ในองค์กรสมัยใหม่เช่นกัน ผมใช้ 4M ไปช่วยครับ

มีหน่วยงาน IT ของบริษัทหนึ่งถูกบ่นประจำว่าทำงานไม่เร็วพอ เขาก็สวนกลับมา “ผมคนน้อยครับพี่ มีห้าคนเอง”

ที่แสดงเขากำลังเจอ Anxiety คล้ายๆเล่าปี่ ความท้าทายมันมากกว่าความสามารถ ปล่อยไว้ไม่มีใครชนะครับ แพ้หมด เลยลองเอามาเข้า 4M

Me Value โทรมาผมไปเลยครับพี่ 24 ชั่วโมง ถ้าไม่ทันก็เพราะมันติดที่อื่นคนไม่พอครับ

Mate Value ผมเคยทำงานในบริษัทแบบเดียวกันมาก่อนครับอาจารย์ ที่นั้นมีคนห้าคนเหมือนที่นี่เลย แต่เวลามีปัญหาแทนที่เขาจะไปซ่อมให้ ไม่ใช่ครับ เขาส่งคนไปเป็นทีมเลย ส่งไปซ่อมแล้วสอนคนในพื้นที่นั้นลองทดลองแก้ัญหาด้วยตนเองอย่างง่ายๆ ไปกันเป็นรถตู้เลย ที่สุดคนก็จะแก้ปัญหาพื้นฐานเป็น

Mankind Value บริษัทระดับโลก เหรอครับอาจารย์เขามี Call Center มีพนักงานของ Service ดูอาการเบื้องต้นให้ หลายเรื่องก็จะมีความรู้แนะนำได้เลย ไม่ต้องส่งคนไปซ่อม

Morale Value ลองมาดูคำคมหลวงพ่อคูณครับ น่าคิดมากๆ ทำงานอะไรก็อย่าคิดมากๆ ค่อยๆฟังแก้ไขไป ดีมากๆครับ ไม่ต้องตอบโต้ไวเกินไป ชัดไหมครับ คำสอนหลวงพ่อ เหมาะกับคนทำงานบริการมากๆครับ

หลังได้ความรู้แล้ว ตกลงทีม IT ที่นั้นรับแนวคิดแบบที่สองไปขยายลผลครับ ที่สุดผมว่าเขาจะ FLOW มากขึ้น แต่ก็ต้องเช็คต่อว่าถ้าเอาไปทำจะเสียจรรยาบรรณไหม จะทำให้ขงวัญกำลังใจเสียไหม ถ้าไม่ก็ลุยเลย Flow แน่นอน

สุดท้ายนี้ก็อยากบอกครับว่า อย่าโกรธ อย่าพยาบาท แพ้แน่ เพราะจะไปตั้งความท้าทายไว้สูง แต่ก็จะมองข้ามความพร้อมหรือทักษะไป พังครับ

แต่ถ้าตั้งแล้วก็ต้องพยายามหาทักษะ ความรู้ หรือตัวช่วยต่างๆ ตรงนี้ผมแนะนำครับคือหาผู้รู้ หรือใช้ 4M Model ก็ได้ดีมากๆครับ

วันนี้พอเท่านี้ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Reference

The Flow: http://www.amazon.com/Flow-Psychology-Experience-P...

4M Model: http://www.goodreads.com/book/show/98482.de_Bono_s...

Reference ภาพ

http://www.fluentu.com/japanese/blog/how-to-learn-...

http://board.postjung.com/739630.html

http://bbsonginmymind.blogspot.com/2013/07/no1.html

http://www.springnews.co.th/local/northeast/209645

หมายเลขบันทึก: 594279เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2015 14:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กันยายน 2015 07:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท