ประวัติศาสตร์ของโลกยุคก่อนประวัติศาสตร์ และการผงาดขึ้นของเผ่าพันธุ์มนุษย์



สรุปประเด็นบางส่วนจากหนังสือ Sapiens : A brief history of humankind ของ Yuval Noah Harari


(1) ในช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ สปีชี่ส์ของมนุษย์ปัจจุบัน (Homo Sapiens : Homo = มนุษย์ , Sapiens = wise) ใช้ชีวิตร่วมอยู่กับมนุษย์สปีชี่ส์อื่นอีกอย่างน้อย 2-3 สปีชี่ส์ หนึ่งในนั้นคือ Homo neanderthalensis ที่มีชีวิตอยู่ในทางตอนเหนือของยูเรเชียเมื่อประมาณ 45,000 - 43,000 ปีก่อน มีความสามารถประดิษฐ์และใช้อุปกรณ์ง่าย ๆ หรือแม้กระทั่งใช้ไฟได้ แถมยังมีการทำพิธีฝังศพ เหมือนมนุษย์ในสมัยโบราณ แต่มนุษย์สปีชีส์นี้ค่อย ๆ สูญสิ้นเผ่าพันธุ์ไปเมื่อประมาณ 39,000 - 41,000 ปีก่อน (นักวิทยาศาสตร์ใช้วิธีคำนวณ "รุ่นคน" ผ่าน DNA แล้วคำนวณเวลาเทียบ)




สาเหตุการสูญเผ่าพันธุ์ของ Neandertral มีทฤษฏีอยู่สองแบบ คือ (1) ถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยมนุษย์ปัจจุบัน ที่ย้ายเริ่มเดินทางออกจากทวีปอาฟริกา และ (2) มีการผสมผสานและถูกกลืนโดยมนุษย์ปัจจุบัน

ตามปกติ สิ่งมีชีวิตที่มีสปีชี่ส์ต่างกันเมื่อผสมพันธุ์กันแล้วจะตกลูกที่ไม่สามารถสืบเผ่าพันธุ์ต่อได้ (เป็นหมัน) เช่น เสือและสิงโตผสมพันธุ์กัน จะได้ลูกเป็น Liger ซึ่งเป็นหมัน แต่ก็อาจมีโอกาสที่ลูกผสมต่างสปีชี่ส์อาจสามารถสืบเผ่าพันธุ์ต่อไปได้แต่มีโอกาสน้อยมาก งานวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้ (ปี 2010, 2014) พบว่า มี DNA ของมนุษย์สปีชี่ส์ Neandertral ผสมอยู่ในมนุษย์ปัจจุบันราว ๆ 1-4% แม้จะมีปริมาณน้อยแต่ในแง่ genome แล้วก็ถือว่ามีนัยยะสำคัญ แสดงให้เห็นว่ามนุษย์สองสปีชี่ส์มีการผสมพันธุ์กันมาก่อน




(2) ขนาดสมองของมนุษย์ปัจจุบันมีขนาดเล็กกว่า Neandertral แต่ มีความสามารถในการจัดการ cognitive skill และการสื่อสารระหว่างกันได้ดีกว่า http://www.tested.com/science/life/454072-why-bigger-neanderthal-brains-didnt-make-them-smarter-humans/ มนุษย์ปัจจุบันสามารถจัดการสื่อสารจัดการในกลุ่มได้ในระดับ 150 คน (สำหรับการสื่อสารจัดการในกลุ่มขนาดใหญ่กว่านี้จะใช้เครื่องมือที่ต่างกันออกไป อาทิ ศาสนา อัตลักษณ์ หรือ การจัดการองค์กร) ในขณะที่ Neandertral รวมกลุ่มได้น้อยกว่านี้ (ยิ่ง primate อื่นยิ่งมีความสามารถรวมฝูงกันได้น้อยกว่านี้มาก) แม้ Neandertral จะได้เปรียบเวลาต่อสู้กับมนษย์ปัจจุบันตัวต่อตัว แต่จะเสียเปรียบในการต่อสู้เป็นกลุ่มขนาดใหญ่ (Neandertral มีร่องรอยที่ระบุถึงการใช้ความรุนแรงแบบป่าเถื่อนด้วย)

ตัวเลข 150 คน (Dunbar Number) จึงเป็นตัวเลขพื้นฐานสำหรับการจัดตั้งกลุ่มขนาดพื้นฐานของมนุษย์ https://en.wikipedia.org/wiki/Dunbar%27s_number


Evolution timeline (From The 10,000 year explosion: How civilization accelerated human evolution" by Gregory Cochran and Henry Harpending)



(3) ด้วยพื้นฐานแบบนี้ มนุษย์จึงเป็นสิ่งมีชีวิตที่ทำงานเป็นกลุ่มมาแต่แรก คือเป็นสัตว์สังคม หรือสัตว์การเมืองมาแต่แรก ดังนั้น "การเมือง" (การซุบซิบ นินทา การร่วมมือกัน การต่อสู้แย่งชิงอำนาจ และทรัพยากร) เป็นธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์

เรื่องนี้ Fukuyama ได้วิจารณ์ไว้ในหนังสือ "The origins of political order: From prehuman times to the french revolution" เอาไว้ว่า Hobbes ผิดที่พูดว่าแต่แรกมนุษย์อยู่ในสภาพสงครามเท่านั้น, Locke แม้จะ soft กว่า Hobbes ลงมาหน่อย แต่ก็ผิดเหมือน ๆ กับที่ Rousseau ผิด ที่ทั้งสามคนมองว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นอิสระเสรีมาก่อน มนุษย์ใช้ชีวิตเสรีและอยู่แยกจากกันก่อนจะมารวมเป็นสังคมด้วย "สัญญาประชาคม" ในบรรดาสามคนนี้ Rousseau มี view ที่มนุษย์มีเสรีภาพมากที่สุด ซึ่งถ้าดูหลักฐานทางชีววิทยาจะเห็นว่าข้อสรุปไม่ถูก ในทางตรงข้ามกลับเป็น Aristotle ที่สรุปได้ถูกต้องกว่าว่า มนุษย์มีความเป็นการเมืองโดยธรรมชาติดั้งเดิม

การจัดตั้งพื้นฐานของมนุษย์จึงเป็น เครือญาติ (Family , Band) - เผ่า (Tribes) เครื่องมือสร้าง Trust คือความสัมพันธุ์เครือญาติ ความสัมพันธ์นอกเครือญาติจะสร้างผ่าน การสร้างบุญคุณ การแลกเปลี่ยน นัยยะของ Fukuyama คือเราต้องมาทบทวนไอเดียของ Hobbes, Locke และ Rousseau รวมทั้งความหมายของ Leviathan ใหม่ทั้งหมด


(4) นี่เป็นหน้าปกหนังสือ "The 10,000 year explosion: How civilization accelerated human evolution" ของ Gregory Cochran และ Henry Harpending ข้อเขียนในหนังสือเล่มนี้สรุปรวบยอดก็ได้อย่างที่เขียนจั่วหัวไว้นั่นแหละครับ



ผมพบลิงก์ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้ "ฟรี" ที่นี่ https://lesacreduprintemps19.files.wordpress.com/2012/12/he-10000-year-explosion-how-civilization-accelerated-human-evolution-2009-by-gregory-cochran-henry-harpending.pdf

อันที่จริงถ้าเชื่อมโยงกับหนังสือที่ผมพูดไปถึงในหัวข้อข้างต้น (คือ Sapiens) เขาบอกว่า มนุษย์มีข้อเสียเปรียบสัตว์อื่นหลายอย่าง อาทิเช่น มนุษย์ในวัยทารกมีลักษณะ premature มากกว่าสัตว์ประเภทอื่น ที่อาจเอาตัวรอดได้เมื่อถือกำเนิดขึ้นมาได้ระยะหนึ่ง ในขณะที่มนุษย์จะต้องได้รับการเลี้ยงดูเป็นเวลาพอสมควรกว่าจะเอาตัวรอดได้ (ทำให้โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์ยิ่งถูกบังคับให้ยิ่งต้องเป็น "สัตว์สังคม" มากขึ้นไปอีก เทียบกับสัตว์ประเภทอื่น) นอกจากนี้ก็ไม่มีเขี้ยวเล็บไว้ล่าเหยื่อเหมือนสัตว์ที่อยู่ในห่วงโซ่ระดับบน ทำให้ในช่วงแรก ๆ มนุษย์เป็นสัตว์ที่อยู่ในชั้นกลางของห่วงโซ่ (มนุษย์สมัยโบราณต้องรอสิงโตกินเหยื่อให้อิ่มก่อน แล้วค่อยเข้าไปหาเศษเนื้อแข่งกับพวกหมาในอะไรทำนองนี้) แต่ด้วยความสามารถของ cognitive skill ทำให้มนุษย์มีความสามารถดัดแปลงธรรมชาติ (และดัดแปลงความสามารถของตัวเอง) ได้เหนือกว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ ทำให้มนุษย์ค่อย ๆ ทะยานขึ้นสู่จุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร

แต่ใน Sapiens บอกว่ามนุษย์ขึ้นสู่จุดสูงสุดเร็วเกินไปเนื่องจากการใช้ความสามารถ coginitive skill ที่สื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ผ่านภาษา การสร้าง ดัดแปลงอุปกรณ์ต่าง ๆ การร่วมงานกัน มนุษย์จึงมีความเป็น "majestic" น้อยกว่าสัตว์ที่อยู่ชั้นบนสุดของห่วงโซ่อาหารประเภทอื่นมาก ในบางครั้งมนุษย์จึงแสดงความป่าเถื่อนออกมา (อันที่จริงนั่นแสดงถึงความกลัว ซึ่งสะท้อนในสัญชาตญาณว่ามนุษย์เคยอยู่ในชั้นกลางของห่วงโซ่อาหาร และอาจถูกล่าได้เหมือนกัน)

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม มนุษย์ก็ขึ้นถึงจุดสุดยอดของวงจรห่วงโซ่อาหาร และในช่วงเริ่ม "modernity" ของตะวันตกราวปี 1610 ก็กลายเป็น human epoch (Anthropocene) ของโลกไป ปัญหาคือนับจากนั้นเป็นต้นมา การวิวัฒนาการบนพื้นฐานของชีววิทยาไปไม่ทันกับการปรับตัวของมนุษย์ในด้านวัฒนธรรมอีกแล้ว และอันที่จริงอารยธรรมในแต่ละระดับนั่นแหละ ก็ "เปลี่ยน" ตัวมนุษย์เอง เช่นสร้างเอนไซม์ให้ย่อยง่ายขึ้น ฯลฯ อันนี้เป็นประเด็นคร่าว ๆ ของหนังสือเล่มนี้

ที่น่าสนใจคือ นี่อยู่ในหัวข้อของ Neoevolutionism ซึ่งเป็นหัวข้อย่อยของ Sociocultural evolution https://en.wikipedia.org/wiki/Sociocultural_evolution ที่ความรู้ในสมัยปัจจุบัน ไม่เชื่อในเรื่องการวิวัฒนาการแบบเป็นขั้นเป็นตอน หรือ unilinear evolution (แบบที่มาร์กซเสนอ คือต้องพัฒนาจาก สังคมบุพรกาล->สังคมทาส->ศักดินา->ทุนนิยม->สังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์) ความรู้สมัยใหม่ระบุว่าการวิวัฒนาการมีรูปแบบเป็น multilinear evolution (modern theory - biopower ของฟูโกต์ก็จัดอยู่ในแนวนี้) คือมีหลายได้รูปแบบพร้อมกันในเวลาเดียวกัน ข้อเสนอนี้จึงมองว่าไอเดียแบบมาร์กซนั้น outdated ไปนานแล้ว

ผมจัดข้อเสนอหนังสือเล่มนี้อยู่ใน Neoevolutionism ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของ multilinear evolution และยังมีไอเดียของ Nikolai Kardashev ที่เสนอ Kardashev's scale ก็อยู่ในแนวทางแบบนี้ด้วย ผมใช้ไอเดียของ Kardashev มาพัฒนาเป็นไอเดียของผมที่วาง sketch outline ของพัฒนาการอารยธรรม https://www.gotoknow.org/posts/592582

แน่นอนว่า เมื่อเดินตามแนวทางนี้แล้ว ผมปฏิเสธไอเดียแบบมาร์กซอย่างสิ้นเชิง


(See Homo naledi: new species of ancient human discovered, claim scientists)



The problem of "fixed agricultural economy" has based itself on static and permanent global landscape, which is not true. Continental drift generates geography and thus geopolitics, and to create the contradiction in different cultures and the evolution of humankind.




สรุป

สัตว์ต่าง ๆ กำลังอยู่ใต้การ บังคับ ของมนุษย์ ไอเดียที่พูดว่า human epoch (Anthropocene) นี่ดูดี ๆ จึงมีนัยยะสำคัญเหมือนกันว่า ความต้องการของมนุษย์มันกลายไปบังคับวิวัฒนาการของสัตว์ต่าง ๆ กระทั่ง command ให้มันสูญพันธุ์ไปเลยก็ได้ ถ้ามันไม่สอดคล้องกับวิถีความต้องการ ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ จึงน่าจะพอสรุปได้ว่าวิวัฒนาการมันย้ายไปอยู่ที่อารยธรรมมากขึ้นน่ะครับ

คำสำคัญ (Tags): #homo sapiens
หมายเลขบันทึก: 594163เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2015 16:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2017 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท