เผยแพร่ผลงานวิจัย


ชื่อเรื่องการประเมินโครงการโรงเรียนมาตรฐานต้านสิ่งเสพติด โรงเรียนแม่อายวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่

ชื่อผู้รายงาน นายรวีวัฒน์ วุฒิไชยารองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนแม่อายวิทยาคม

คำสำคัญ การประเมินโครงการ/ โรงเรียนมาตรฐานต้านสิ่งเสพติด

ปีที่รายงาน 2558

บทคัดย่อ

การประเมินโครงการโรงเรียนมาตรฐานต้านสิ่งเสพติด โรงเรียนแม่อายวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการ 5) เพื่อประเมินด้านผลกระทบของโครงการ 6) เพื่อประเมินด้านประสิทธิผลของโครงการ 7) เพื่อประเมินด้านความยั่งยืนของโครงการ และ 8) เพื่อประเมินด้าน การถ่ายโยงความรู้ของโครงการ โดยใช้วิธีการประเมินของ Daniel L. Stufflebeam รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย ผู้บริหาร 1 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ครู จำนวน 14 คน ครูแกนนำ จำนวน 2 คน นักเรียน จำนวน 275 คน นักเรียนแกนนำ จำนวน 2 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 276 คน และผู้นำชุมชน จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และประเด็นการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)

ผลการประเมินพบว่า

1. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนมาตรฐานต้านสิ่งเสพติด โรงเรียนแม่อายวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่ ภาพรวม พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นว่า เหมาะสมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ผู้บริหาร ครูแกนนำ ผู้นำชุมชน และนักเรียนแกนนำ ได้ให้ความเห็นในภาพรวมว่า โครงการมีความเหมาะสม

2. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การร่วมกันกำหนดกิจกรรมและแนวทางการจัดกิจกรรม ควรจัดทำโครงการแบบบูรณาการระหว่างโรงเรียนกับชุมชน

3. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือความรู้ ความสามารถของผู้บริหาร ครูแกนนำและนักเรียนแกนนำในการขับเคลื่อนโครงการ

4. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ขั้นตอนกระบวนการที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ขั้นการปรับปรุงและพัฒนา และข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การนิเทศ กำกับ ติดตาม ดูแลการดำเนินงาน กิจกรรมที่มีความเหมาะสมที่สุด คือ กิจกรรม TO BE NUMBER ONE ควรปรับเปลี่ยนจำนวนการจัดกิจกรรมที่บ่อยครั้ง และวิธีการนำเสนอกิจกรรมที่เหมาะสมกับเวลาที่จำกัด

5. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือนักเรียนมีพฤติกรรมการปฏิบัติตัวที่ห่างไกลจากสิ่งเสพติด

6. ผลการประเมินด้านผลกระทบ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ผู้บริหารและครูได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองและชุมชน โรงเรียนควรเพิ่มกิจกรรมที่ให้นักเรียนยอมรับผู้ปกครอง

7. ผลการประเมินด้านประสิทธิภาพ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่เป็นระบบ

8. ผลการประเมินด้านความยั่งยืน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การดำเนินกิจกรรม/โครงการอย่างต่อเนื่องในระยะยาว

9. ผลการประเมินด้านถ่ายโยงความรู้ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่ประสบผลสำเร็จทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ควรนำปัญหาการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ไปบรรจุไว้ในแผนงานโครงการ/ กิจกรรมในปีต่อไป

หมายเลขบันทึก: 594033เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2015 20:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กันยายน 2015 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท