อุปสรรคของความสำเร็จ สู่กิจกรรม TQM บทที่ 1


หลายๆองค์กรเริ่มที่จะนำ ระบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) เข้ามาใช้มากขึ้น หากแต่เส้นทางแห่ง TQM มิได้โรยด้วยกรีบกุหลาบ ทุกก้าวย่างสู่องค์กร TQM ล้วนเกิดจากความมุ่งมั่นตั้งใจ ของสมาชิกทุกคนในองค์กร "ความร่วมมือร่วมใจของทุกคน คือ พลังแห่งความสำเร็จ"

"บทความนี้ มิได้กล่าวอ้างถึงรายงาน, บทวิจัย, หรือแบบสำรวจใดๆ หากแต่เขียนขึ้นมาจากประสบการณ์ การศึกษาเรียนรู้จากแหล่งต่างๆ และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากองค์กรหนึ่ง ที่กำลัง Implement ระบบ TQM..."

วันนี้ผมมีหน้าที่รับผิดชอบ เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรที่กำลังนำระบบ TQM เข้ามาใช้ในการบริหารงาน และได้มีโอกาสในการเข้ารับการอบรม สัมมนาในหลักสูตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานคุณภาพ ปัญหาหนึ่ง ที่ผมและเพื่อนๆผู้ร่วมงานต่างลงความเห็นว่าเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กิจกรรม TQM ไม่ราบรื่นเท่าที่ควร และเป็นปัญหาหลักที่ผู้บริหารองค์กร TQM ควรระมัดระวัง (ซึ่งผมถือเป็นบทที่ 1 ของเนื้อหา "อุปสรรคของความสำเร็จ สู่กิจกรรม TQM") นั่นคือ... "วิสัยทัศน์ และความรู้ของผู้นำการบริหารงานแบบ TQM"

ทำไม "วิสัยทัศน์ และความรู้ของผู้นำการบริหารงานแบบ TQM" จึงเป็นปัญหา

เนื่องจากกิจกรรม TQM เป็นกิจกรรมที่ต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากทุกคนในองค์กร และการที่จะสามารถให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานแบบ TQM ได้นั้น ก็จำเป็นต้องมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ และมีความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้อง ในแนวคิดของ TQM และเหตุผลก็คือ... ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ แต่ขาดวิธีการที่ถูกต้องในการบริหารงาน ก็ไม่อาจนำพาองค์กรให้บรรลุจุดหมายสูงสุดได้ และวิธีการที่ถูกต้องนั้น ก็ย่อมเป็นผลมาจากความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในระบบการบริหารงานแบบ TQM แล้วนำความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง มาร่วมกันกำหนดแนวทาง ร่าง Road Map สื่อสารให้พนักงานทุกคนในองค์กรเข้าใจ และพร้อมที่จะเดินทางไปสู่ระบบ TQM ร่วมกันอย่างสนิทใจ ที่ต้องขอบอกว่า "สนิทใจ" นั้น หมายถึงทุกคนยอมรับใน Road Map ดังกล่าว และเป็น Road Map ที่ร่างขึ้นมาอย่างมีเหตุมีผล

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 5940เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2005 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 12:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน ท่าน LEE

 ขออนุญาต ออกความคิดเห็น การทำ TQM (ซึ่งรากเหง้า มาจาก USA ) หรือ การทำ TQC ( ซึ่งรากเหง้ามาจาก Japan )  เป้นเรื่องที่ต้องใช้ ภาวะ"ผู้นำ" เป็นตัวชูโรง (ไม่ใช่ผู้บริหาร) จุดเน้นต้องมาจากการได้ใจ ทุกคนมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้น ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมิน ร่วมปรับปรุง

 ทุกอนูในองค์กรต้องเปิดใจครับ ไม่ยึดติด ไม่ยึด"องค์กู" ต้องดู "องค์กร" เป็นหลักครับ

 ด้วยความศรัทธาในการทำงานแบบมีส่วนร่วมครับ

 JJ

ขอร่วมแสดงึความเห็นด้วยนะครับ มีคนกล่าวว่า "ความสำเร็จขึ้นอยู่กับทีม ความล้มเหลวขึ้นอยู่กับผู้บริหาร" นั่นคือทั้งหัวหน้าและลูกน้องเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จทั้งคู่ ทั้งผู้นำและผู้ปฏิบัติต้องมีภาวะผู้นำทั้งคู่ TQMจึงจะประสบความสำเร็จได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท