หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

สืบไปหาทางเลือก


ดินปนทรายเป็นดินที่มีการระบายน้ำได้ดี ปลูกพืชได้ แต่มีอินทรียวัตถุน้อย ธาตุอาหารต่างๆ แทบจะไม่มีเลย ต้องเพิ่มอินทรียวัตถุปรับปรุงดิน จึงสามารถใช้ปลูกพืชได้เกือบทุกชนิด....ดินไม่อุ้มน้ำอุ้มปุ๋ยใช้แล้วก็หมด ไม่สะสม ไม่ตรึงปุ๋ยหรือธาตุอาหาร หน้าฝนจะถ่ายเทน้ำได้ดี หน้าแล้งสภาพดินก็กลับมาแน่นแข็งเหมือนเดิม

ทบทวนสิ่งที่กล้าไม้ใหญ่ในดงยอป่าสอนแล้วก็คิดว่า จะปลูกต้นไม้ใหญ่ให้อยู่รอดภายใต้สภาวะความร้อนแรงก็ท้าทายไม่เบา ขนาดปลูกใต้ร่มเงา ต้นไม้ยังโตช้าเลย

นึกถึงเรื่องที่มีคนบอกว่าเมื่อเห็นต้นไม้งอกไม่งามเท่าที่ควร ให้นึกถึงดินเป็นกรดรุนแรงถึงรุนแรงมาก ถ้าต้นไม้ส่วนใหญ่งอกขึ้นงามดี จะมีตัวทำให้ดินเป็นกรดมากกว่าตัวทำให้ดินเป็นด่างอยู่นิดหน่อย ใต้ร่มเงานี้ต้นไม้งอกได้ กว่าจะงามได้ใช้เวลา ความสูงเพิ่มช้าๆ อย่างนี้น่าจะเป็นว่าดินมีตัวทำให้เป็นกรดลดลง

น้ำในดินมีบทบาทมากกับการเปลี่ยนแปลงส่วนผสมของดิน ที่ดงไม้นี้มีวงจรหมุนเวียนของน้ำฝนและลมเล็กๆตลอดปี ตอนขุดดินปลูกต้นไม้จะไม่ใคร่เจอหิน รดน้ำลงไปน้ำซึมหายเร็ว แล้วกิ้งกือก็ปรากฏตัวมาบอกข่าว พบกิ้งกือก็หมายความว่าในช่วงเวลานั้นๆ ดินอุ้มน้ำดีขึ้น ชุมชื่้นขึ้น สิ่งที่เป็นไปส่งความสบายใจมาให้ ต้นขี้เหล็กที่โตได้โตดีก็เติมความรู้มาให้ด้วยว่า ดินในแถบดงยอน่าจะเป็นดินทรายหรือดินปนทราย

นักวิชาการเขาว่าดินปนทรายเป็นดินที่มีการระบายน้ำได้ดี ปลูกพืชได้ แต่มีอินทรียวัตถุน้อย ธาตุอาหารต่างๆ แทบจะไม่มีเลย ต้องเพิ่มอินทรียวัตถุปรับปรุงดิน จึงสามารถใช้ปลูกพืชได้เกือบทุกชนิด

ผู้มีประสบการณ์ปรับปรุงดินก็ให้ข้อมูลว่า ดินไม่อุ้มน้ำอุ้มปุ๋ยใช้แล้วก็หมด ไม่สะสม ไม่ตรึงปุ๋ยหรือธาตุอาหาร หน้าฝนจะถ่ายเทน้ำได้ดี หน้าแล้งสภาพดินก็กลับมาแน่นแข็งเหมือนเดิม ให้ปลูกพืชตระกูลถั่ว ปอเทือง โสน ถั่วมะแฮะ ทองหลาง กระถิน ฯลฯ เพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุ

เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นดินทรายหรือดินปนทรายแน่ๆ สำรวจพืชที่ขึ้นในดินผืนนี้ต่อดีกว่ามั๊ย ด้อมๆมองๆดูในดงนี้ เอ๋....ไม่มีผักหวานป่าสักต้นแฮะ มีต้นไม้มีหนาม เจ้าต้นนี้ "ต้นเล็บเหยี่ยว" แทรกตัวอยู่ มีต้นนี้ "รสสุคนธ์ป่า หรือ ย่านปด" ต้นนี้ด้วย " ต้นขี้ครอก หรือ หญ้าหัวยุ่ง หรือ ปอเส้ง" และ ต้นนี้ "หมุย"

แวะไปดูป่าใกล้บ้านชาวบ้านอีกที เขาบอกว่าเก็บผักหวานป่าได้ในป่าพวกนั้น อืม มีแนวโน้มว่าจะเป็นดินปนทรายจริงๆด้วยแหละ

เมื่อความสัมพันธ์ของน้ำ ลม และจุลินทรีย์ดินไปกันด้วยดี คนก็มีหน้าที่ช่วยประคองให้ความสัมพันธ์นี้เดินต่อโดยราบรื่น จะเลือกต้นไม้มาปลูก ก็เลือกต้นไม้ที่ช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้ดินมาเยอะชนิดหน่อย

ได้ไม้ยืนต้นในใจรอปลูกหลายชนิดแล้ว ขี้เหล็กป่า พะยูง ทองหลาง ถั่วมะแฮะ มะขามป้อม คูน หลุมพอ เหรียง สะตอ จะได้ปลูกพันธุ์ไหนบ้างอยู่ที่ฝีมือหากล้าไม้แหละนะ

หมายเลขบันทึก: 593961เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2015 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 สิงหาคม 2015 00:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

I work on sandy and variable soils and appreciate your points here very much.

At one time I grew some plants to use as indicators (eg. Butterfly peas to see if soil in certain areas is acidic or good enough for planting other plants; bougainvillea to see moisture in ground and and pineapples to see moisture in air; green mustards to see if the soil is "fertile enough";...) I also learned to use mulch and micro-biota more to improve soils. But after a few years (and a few acres) these days I choose what can grow well rather than what can change soils ;-)

ขอบคุณค่ะคุณ sr ที่ช่วยเพิ่มความรู้ ปลูกต้นไม้มาถึงวันนี้รู้สึกทึ่งมากกับพืชตระกูลถั่ว คิดว่าถ้าไม่มีพืชตระกูลถั่ว สมดุลอากาศและน้ำรอบตัวเราคงแย่มากๆเลยค่ะ


Hi หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ again: (I think) Nitrogen fixers like legumes are a symbiotic relationship between bacteria and plants. There are also sulphur fixtures (bacteria); phosphorus fixers (again bacteria) and of course the most important ones 'carbon dioxide' fixers (bacetria -- which we should call "organic molecules builders".

What do you think? When we re-build 'a forest', we actually rebuild a universe ;-)

คุณ sr ค่ะ รู้สึกดีทุกครั้งที่ได้เห็นสีเขียวของต้นไม้ ไม่ได้คิดถึงเรื่องคาร์บอนไดออกไซด์มากมายนัก เรื่องออกซิเจนกับต้นไม้กลายเป็นเรื่องธรรมดาๆ....เมื่อครั้งยังทำงาน บางตำแหน่งที่คนทำงานคลุกคลีอยู่เป็นประจำมีคาร์บอนไดออกไซด์สูงมาก หาทางออกกับการใช้พืชช่วยลดให้ ทึ่งกับคุณสมบัติของต้นไม้บางพันธุ์ที่เลือกมาปลูกในอาคารมาจนถึงวันนี้แหละค่ะ.....มาลองปลูกป่าก็ได้รู้จักพืชตระกูลถั่วหลากหลาย ทึ่งกับมันอีกแหละค่ะ มองไปรอบๆในหลายๆพื้นที่ พืชที่ขึ้นมากมายในแบบวัชพืชมีพืชตระกูลถั่วเยอะมากนะค่ะ.....สัดส่วนก๊าซในอากาศที่ทำให้โลกเป็นโลกคือ มีไนโตรเจน ๗๘ เปอร์เซ็นต์ ออกซิเจน ๒๑ เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือเป็นก๊าซอืื่นรวมๆกันรวมคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย ในส่วนตัวคิดว่าที่ธรรมชาติโลกมีก๊าซเฉื่อยอย่างไนโตรเจนเยอะ ก็เพื่อให้ทำหน้าที่ควบคุมกลไกการถ่ายเทความร้อนไม่ให้เกิดไฟไหม้ และควบคุมกลไกให้โลกนี้ยังมีออกซิเจนเพียงพอให้กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการออกซิเจน ถ้าไม่มีพืชตระกูลถั่ว ก็ไม่มีแบคทีเรียจัดการกับไนโตรเจน วงจรการถ่ายเทพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ก็เสียสมดุล พาให้วงจรอื่นๆเสียสมดุลไปด้วยเช่นกัน....5555.....คิดแบบเพี้ยนๆแบบนี้แหละค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท