คุณค่าครูละคร...เปลี่ยนแปลง "จิตวิญญาณ"


กราบขอบพระคุณรศ.พรรัตน์ ดำรุง (คุณครูอุ๋ย) ผู้นำละครร่วมสมัยประยุกต์สู่การพัฒนามนุษย์และมีจิิตวิญญาณของความเป็นครูในการบ่มเพาะคนดีให้สังคมไทย เช่น พี่ก๋วย ผู้จุดประกายให้ดร.ป๊อปเกิดแรงบันดาลใจในการถ่ายทอดความรู้สึกออกมาอย่างมีสติสัมปชัญญะในการเรียนรู้พัฒนาสุขภาวะทางปัญญา (ที่ปราณีต) ในปัจจุบันขณะ...ขอบพระคุณสำหรับแหล่งอ้างอิงข้อมูลจากวิกิพีเดีย

ผมประทับใจในท่าทีและการถ่ายทอดประสบการณ์ของคุณครูอุ๋ยและคุณครูก๋วยมากๆ จนได้ "ข้อคิดเตือนสติสัมปชัญญะให้ผมทบทวนตัวเองและค่อยๆคิดเชิงระบบสู่การบ่มเพาะปัญญาด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์" จึงอยากเล่าคำสุนทรียสาถกและสนทนาผ่านบันทึกนี้

ด้วยความเชื่อมั่นในวงสนทนาแบบ "วงกลม" และการตั้งคำถามแบบ "ย้อนแย้ง" ทำให้ผู้ร่วมวงได้พินิจคิดสำรวจตนเอง ประกอบกับภาพและเนื้อหาวิชาการเพียง 8 สไลด์ ทำให้ผมเข้าใจที่มาที่ไปของ "ละครประยุกต์นอกกรอบ...หยิบบางส่วนบางตอนมาพัฒนามนุษย์ผ่านกระบวนการให้ผู้ชมละครได้ขบคิด ลองเล่นดู นิ่งฟัง ลงมือทำ แล้วค่อยๆเกิดการสั่นสะเทือนจิตใจ (วางเฉยแล้วเกิดความรู้สึกที่แท้จริง) เพื่อเข้าใจความเมตตากรุณาอยากช่วยเหลือผู้อื่น เข้าใจคนอื่นผ่านละคร สร้างเหตุผลเพื่อการตัดสินใจด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ เอาตัวเองเข้าไปสวมรองเท้าของคนอื่น หากเรามีเหตุจากแรงจูงใจ เค้าก็มีแรงจูงใจ (แรงจูงใจมิใช่ผล) ในมุมที่สังคมตีตราบาปเค้า แต่เรามองมุมดีของเค้า เรากำลังมองถึงกระบวนการที่มิใช่การสร้างนักแสดงละคร หากแต่เป็นกระบวนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตนเอง คนอื่นๆ และสังคมต่อไป "

จากประเด็นสังคมแบบทุนนิยม เราจะนำเด็กไปสู่อะไร...เรากำลังโดนกดทับ (Oppressed) ทำให้เราไม่ได้รับความเท่าเทียมกันของสังคม เรากำลังกลายเป็น "วัตถุ" จนลืมใช้ "ความรู้สึกนึกคิด" ... จิตวิญญาณหล่อเลี้ยงชีวิตของเราทุกคนกำลังเหือดแห้งไป

จากแนวคิดของ คาร์ล มากซ์ สู่ อันโตนีโอ กรัมชี และ หลุยส์ อัลธูแซร์ ทำให้เรารู้ว่า "เรากำลังถูกกล่อมเกลาให้เชื่อแบบสมยอมในโครงสร้างของรัฐ" และเมื่อมองระบบการศึกษาของรัฐ "เราควบคุมไม่ได้จริงหรือ" ซึ่งแนวคิดการศึกษาที่มิใช่การฝากธนาคารหรือการสอนแบบป้อนข้อมูลจนผู้เรียนเชื่อแบบสมยอมของเปาโล แฟร์ ทำให้เราต้อง "ใส่หัวใจแห่งการเรียนรู้ความเป็นมนุษย์" ในการทำตัวเป็นครูผู้มีคุณค่าให้ผู้เรียนเกิดความรู้ มีจิตวิญญาณ มีอิสระในการตอบโต้ และสะท้อนความคิดเพื่อการพัฒนาตัวเองและชาวบ้านผู้ด้อยโอกาสทางสังคมให้จงได้ในช่วงชีวิตที่เกิดมานี้

ในขณะที่นักแสดงการละครทั้งหลายมีศิลปะขั้นสูง มีอารมณ์หลั่งน้ำตาและตกแต่งหน้าตางดงาม อีกชายขอบหนึ่งบนโลก นักการละครหลายคนไม่สามารถมุ่งหน้าไปในระดับ "นักแสดงยอดนิยมแถวหน้าของสังคม" ก็ผันตัวเองมาเรียนรู้ทุกสรรพศาสตร์ทำให้เกิดการประยุกต์วิถีการละครเพื่อการพัฒนามนุษย์ในหลากหลายรูปแบบ (Theatre for Development, TfD) เช่น ละครบำบัด ละครชุมชน ฯลฯ แม้ว่าจะมีนักวิชาชีพตัวจริงมากมาย เช่น นักละครบำบัด แต่นักการละครทั้งหลายก็มองว่า "การแบ่งแยกส่วนวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญมากมาย ทำให้มีอัตตาในตัวเองสูง ทำให้เราลืมสิ่งที่เราเป็น (เหมือนครูเองก็เพิ่งพบตัวเองในวัย 60 ปีที่อยากเต้นเป็นหญิงลี) ทำไมเราไม่หลอมรวมรากเหง้าวิชาชีพต่างๆจากจัดเดียวกันด้วยจิตวิญญาณมนุษย์เสียที"

ละครเพื่อการพัฒนามนุษย์ข้างต้นมุ่งหมายสะท้อนว่า "เราเคารพนับถือผู้อื่นมากแค่ไหน เราให้ความสำคัญชาวบ้านอย่างไร เรากำลังประมวลความสามารถและมีวิธีการดูแลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เราจะสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในและนอกรัฐอย่างไร เราอยากให้ผู้อื่นเป็นตัวของตัวเอง (ไม่ต้องแต่ง/ใส่หน้ากาก)ได้อย่างไร เราควรฝึกเด็กๆและคุณครูให้ผ่านกระบวนการละครเพื่อ "กล้าพูด การได้ฟังเสียงตัวเองพูดในกลุ่มคนมาก เราต้องให้พื้นที่เร็วที่สุด - ความเป็นมนุษย์หายไปเมื่ออยู่ในความเงียบ Human Existence cannot be Silent"

นักการละคร แบร์ทอลท์ เบรคชท์ ใช้ทักษะเล่นละครให้คนเล่นกลายเป็นคนเล่าเรื่องด้วยท่าทาง นำหลายคนมาผสมผสานจากเอกสารหนังสือพิมพ์จนถึงฝึกสติมิให้คนดูละครต้องใช้ความรู้สึกทางอารมณ์มากเกินไป หากแต่เกิดทักษะเมตตาว่า "เรารู้ เราเข้าใจ และเราจะแก้ไขอย่างไร" หรือ นักการละคร เฮอเบิร์ต โบล คิดเรื่องการสื่อสารสามภาพเพื่อตอบโจทย์ว่า "ทำอย่างไรให้คนที่ไม่เคยเล่นละครได้เล่าเรื่องผ่านภาพแบบไม่ต้องการเพียงผู้ชม" จนถึงการใช้ละครเสวนา (Forum Theatre) รวมถึงการมาดูงิ้วแล้วจัดลิ้นชัก (ระบบทุนนิยมที่คนตะวันตกชอบจัดระบบความรู้ แต่ทำได้ไม่เนียนเท่าคนตะวันออกผู้มีสติ) ภายใต้ร่มของละครประยุกต์ หรือ ออกัสโต โบอัส ก็สร้างการละครเพื่อการสื่อสาร ปัจจุบันนี้อาชีพนักการละครนิยมเล่นละครแสดงสถานการณ์ให้เกิดการเรียนรู้ในทุกระดับชุมชน

คุณครูอุ๋ยไม่ชอบคำว่า "กระบวนกร" เพราะกระบวนกรที่แท้จริงควรเป็นศิลปิน มองเห็นภายในตัวตน มีรายละเอียดที่เรารู้จักตัวเองมากที่สุดและกำลังแบ่งปันผู้อื่นด้วยทักษะเปิดใจเปิดตัวอย่างปราณีต เกิดการนำทฤษฎีมาใช้ปฏิบัติซ้ำๆจนเกิดการเรียนรู้หรือ Praxis และต่อยอดจัดวางกิจกรรมให้คนคิด เมื่อฝังสิ่งนั้นลงไปแล้ว เราจัดสิ่งนั้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างไรกับผู้ร่วมเรียนรู้

"ทำอย่างไรจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ในใจ/พื้นที่ชีวิตคน - เราต้องตั้งคำถามที่ไม่มีคนชอบหรือกระแทกใจบ้าง เช่น สังคมมีปัญหาอะไร (สกัดคำถามจากใจผู้คน) หรือ คุณกำลังอยู่ในระบบที่กดทับหรือในกรอบหรือไม่ เราเกิดความอยากของตนที่เพิ่มความเลื่อมล่ำในสังคมหรือไม่ - อยากหน้าขาว อยากเล่นกล้าม มีชนชั้นตามสุขนิยมหรืออัตตนิยม เราขาดมโนสำนึกถึงความรู้ในการทำความเข้าใจชุมชน รากเหง้าสู่ปัจจุบันของความรู้ที่ค่อยๆเกิดขึ้น (Slow knowlege) เราต้องยอมรับความงามของมนุษย์โดยธรรมชาติอย่างไรกัน และเราจะใช้สติสัมปชัญญะเกิดลมหายใจที่ช้าลง ทำให้เราพิจารณาตัวเองจนเข้าใจทันความคิดเราได้อย่างไร"

ข้อคิดโดยสรุปจากคุณครูอุ๋ยที่ทำให้สะเทือนจิตใต้สำนึกของผมและย้ำตรงกับทุกสรรพสิ่งเชื่อมโยงกัน ไม่มีความล้มเหลว มีแต่การสะท้อนความรู้สึก เช่น

  • Refine เราควรปลูกฝังในตัวคนตั้งแต่วัยเด็กโดยให้พื้นที่ เวลา และตลอดชีวิต เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนถึง Praxis ทำซ้ำแล้วซ้ำอีกจนมีรายละเอียดให้จัดแจงต่อไป - มิใช่แค่กิจกรรมที่ถูกกาเครื่องหมายว่า ถูกทำเสร็จแล้ว แต่ให้ลงรายละเอียดเฉพาะตัวเราและตัวเขาว่าทำแล้วเกิดการเรียนรู้อะไรบ้าง
  • อย่าทำเรื่องง่ายๆเพียงแค่น่ารักกับเด็กๆ แต่ให้ละครช่วยนำพาเด็กให้รู้สึกสนุกสนานพร้อมๆสื่อสารความคิดจากเรื่องเศร้าหมอง
  • ประตูของการแก้ปัญหาไม่ตก ลองขบคิดกัน ไม่ใช่แบบแผนคิดตามตัว อย่างให้ความรู้มรดกไทยต้องตามจากไป จงฟื้นฟูด้วยละครประยุกต์
  • "กระแสลำธารมนุษย์" ชวนสะท้อนให้มี "กัลยาณมิตร" ร่วมอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยและมีความเป็นตัวของตัวเองด้วยสติสัมปชัญญะ...เราไม่ชนะในสงครามนี้ (ระบบกดทับ - ทำไม่ได้เพราะไม่มีอำนาจ) แต่เราสามารถเพิ่มพื้นที่ปลอดภัยผ่านทางเลือกให้คนในสังคมได้มีอิสระ (Alternative Thinking, Sensing Choices)...เช่น ผู้ชายอ่อนโยน ผุู้หญิงเข้มแข็ง ... ครูอุ๋ยปฏิเสธบัตรเครดิต แต่ก็มีมัน และมีสติในการรู้จักใช้มัน เป็นต้น
  • เราไม่จำเป็นต้องใส่ความคิดครอบงำผู้อื่น ให้เวลาตัวเองฟังคนหน่อย คนเรามีศักยภาพเปิดพื้นที่สื่อสารกับคนดีๆเสมอ มีความโบราณบ้างก็ดี แต่มิควรจำเจซ้ำซาก คนเราควรมีวิธีคิดย้อนแย้ง ทำให้ครูได้รู้จักนักศึกษาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นด้วยวิธีคิดเอง แม้คนนอกกรอบจะอยู่ยากในระบบ ก็ขอให้มีกำลังใจ อย่าท้อแท้ และอยู่ในกรอบบ้าง ทำให้นับถือตัวเองหรือไม่สูญเสียตัวตนในระบบ
  • เราต้องถ่ายทอดความรู้เชิงวิจารณ์ทางเทคนิคถึง 60% ขณะที่เราต้องเปิดใจให้เกิดความรู้อิสระสร้างสรรค์อีก 40% โดยกระบวนกรไม่ควบคุม แต่ต้องเชื่อมต่อให้ชุมชนแห่งการเรียนรู้เข้าใจศิลปะการใช้ชีวิตด้วยจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์
  • ศิลปะอยู่ใกล้ตัว แต่เราลืมดึงมาใช้ เราต้องมาเรียนรู้ใหม่ (Relearn) ... เราไม่ค่อยได้ใช้ (Deprived) แม้กิน (เรียน) เทคนิคละครที่ย่อยมาแล้วของมะขามป้อมแต่ก็ต้องขี้ (ใช้) ให้เป็นตัวเราและตรงกับความสนใจของชุมชน ได้แก่ เราเป็นใคร เราไม่รู้เรื่อง เราต้องฟังภาพพจน์กับภาพปัญหาจริง - บางครั้งเค้าจมอยู่กับปัญหาจนไม่รู้จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร (เมื่อเค้าไว้ใจเชื่อใจ) แล้วรู้จักแบ่งปันพร้อมสร้างพลังใจด้วยการแนะนำสิ่งที่เรารู้ หาวิธีการสื่อสารที่ใช่ ให้คนเห็นคุณค่าในตัวเอง เพื่อต่อยอดไปสื่อสารคุณค่าของตัวเองในระดับชุมชนต่อไป
  • บทท้ายสุดของการเรียนรู้ในครั้งนี้คือ "ครูละครเพื่อการเปลี่ยนแปลงกำลังเปิดตาให้ผู้เรียนเห็นจริงและอยู่กับมันได้เบิกบานใจไปตลอดชีวิต"





หมายเลขบันทึก: 593891เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2015 08:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2017 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ขอบพระคุณมากครับอ.Wasawat และพี่นงนาท

สรุปได้สุดติ่งมากครับ Dr.POP

ครู.. สอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เป็นแรงบันดาลใจ..(inspiration ศิษย์)

ครูละคร ดูเหมือนไม่เกี่ยวกับการแพทย์หรือสาธารณสุข แต่ในความจริง..เราเห็นชีวิตจริง เรื่องราวเพื่อนมนุษย์ผู้เจ็บป่วยยิ่งกว่าละคร..ในเชิงระบบที่ซับซ้อน(complexity system) เราเกี่ยวโยงสัมพัทธ์กันเสมอ ครูสอนให้เรา..รักเพื่อนมนุษย์เป็นกิจ ที่๑ ...

เทอดทูนบูชาครู ทุกแขนง...ที่สอนอนุชน ให้เป็นไป เพื่อบำบัดทุกข์...ในตัวศิษย์และพหูชน

ขอบคุณ ดร.POP นำเสนอทำให้พวกเรา ได้เห็นคุณค่า ครูอีกแขนงหนึ่ง..ที่ดำรงความ จริง ความดี และความงาม..ให้ปรากฎ



ยินดีและขอบพระคุณมากครับคุณหมอประวิทย์

ชอบใจงานเขียนนี้

ได้เห็นพี่ก๋วยทำงานต่อเนื่องนะครับ

ขอบคุณมากๆครับ

-สวัสดีครับอาจารย์

-เมื่อสักครูนั่งดูคลิปที่อาจารย์ออกรายการ(ที่เก็บไว้หน้าประวัติส่วนตัว)

-ว้าว ๆ เดี๋ยวต้องดูแต่ละตอนจนหมด อิๆ

-อาจารย์สบายดีนะครับ?

-เก็บภาพวิถีชีวิตที่มากับพายุ"มูจีแก"มาฝากครับ

-ภาพนี้ขอให้ชื่อว่า"บ้านนอกของผม" 5555

ยินดีและขอบพระคุณมากครับคุณเพชรน้ำหนึ่ง ผมสบายดีครับและคิดถึงเสมอนะครับผม

ขอบพระคุณมากครับพี่ขจิต อย่าลืมแวะมาทำความรู้จักคศน.ในวันที่ 29-30 ต.ค.ศกนี้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท