​เมื่อฉันต้องพัฒนาตัวเองใน 21 วัน


หลังจากที่ร่างกายอ่อนล้าจากการสอนมาตลอดสัปดาห์ แต่มีความสุขนะคะ …………….:)

วันจันทร์ที่ 24/8/58 มีภารกิจต้องนำนักศึกษาไปช่วยประเมินผู้พิการทางกายที่ มจร. แต่ต้องมานั่งตกผลลึกกับ อ.ดร.ป๊อบว่าจะทำอย่างไรจะประยุกต์การประเมินครั้งนี้ให้นักศึกษานำไปใช้ และผู้รับบริการได้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วย Key word ของการสนทนาคือ New generative behavior ทำอย่างไรใหลผู้รับบริการของเราสามารถเปลี่ยนแรงจูงใจ และลองทำอะไรใหม่ๆ โจทย์ของ มจร. คือ ผู้พิการมีแรงจูงใจในการทำงานและกลับไปทำงานได้ จึงออกแบบการประเมินใหม่ ซึ่งดูได้ลึกซึ้งมากกว่า sensory >perception> cognition แต่มองไปถึง metacognition intention ฯลฯ

อ.ป๊อบใช้เทคนิค NLP โดยให้ ดิฉันลองเป็นผู้ถูกทดสอบ เราลองมาเดินทางไปในจิตใต้สำนึกของดิฉันตอนนี้พร้อมกัน

เริ่มจากการมองตามทิศทางสี่ทิศทางที่เปรียบเหมือนการไปผจญภัยในอดีต และทะลุอุโมงค์อนาคตที่เป็นเป้าหมายที่ฉันอยากทำ อ.ป๊อบ ให้มองตามปากกาที่ถือด้านหน้าในทิศล่างซ้าย >บนซ้าย>ล่างขวา>บนขวาตามลำดับ พร้อมกับคำถามว่า แอนมองเห็นด้านไหนไม่ชัดที่สุด >> ด้านที่ดิฉันตอบคือ ด้านบนขวา ซึ่งหมายถึงภาพอนาคตของตัวฉันเอง เพราะมันมีสภาพเบลอที่สุด

จากนั้นเริ่มให้มองตามไปในมุมล่างซ้าย และอ.ป๊อบ นับ 1-2-3 และบอกให้ดิฉันหลับตา และถามคำถาม ในอดีตที่ผ่านมาว่ารู้สึกอย่างไร ดิฉันบอกเหนื่อย จับจด มีเวลาแต่ไม่ลงมือทำ แล้วมีความต้องการอยากที่จะเปลี่ยนแปลงยังไง ดิฉันตอบ อยากอ่านหนังสือสอบ อยากออกกำลังกาย อยากนอนให้เต็มที่ มีเวลานะแต่ก็ใช้กับการท่องโลกอินเตอร์เนต พอดูก็ยาวเลย ชอบดูยูทูป ฟังเพลง เล่นเฟสบุคเพราะรู้สึกว่าเอามาถ่วงดุลกับงานที่ทำประจำ ไม่อยากเครียดมาก

จากนั้น อ.ป๊อบบอกให้มองมุมบนซ้าย นับ 1-2-3 และให้คำสั่งหลับตาอีกครั้ง และให้เล่าเหตุการณ์ที่เห็นจากภาพ(อดีต) ดิฉันเห็นภาพตึกสมัยไปเรียนภาษาอังกฤษเพื่อให้ผ่านเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด มองเห็นภาพตัวเองเร่งรีบ เดินเร็วมาเรียน สีหน้าเครียด กังวล ตอนแรกมองไม่เห็นหน้าหรอกนะคะ อ.ป๊อบบอกให้มองให้เห็นหน้า และถามว่ามีกี่คน มืดหรือสว่าง ดิฉันเห็นตัวเองคนเดียวในภาพสี ช่วงเวลากลางวันค่ะ

จากนั้นอ.ป้อบให้มองตามไปทิศล่างขวา และนับ 1-2-3 เพื่อให้หลับตาเช่นกัน อ.ถามว่า เมื่อแอนมองไปในภาพแล้วรู้สึกอย่างไร?>> ดิฉันบอก รู้สึกทั้งเครียดและมีความสุขไปด้วยกัน เพราะรู้ว่าเรียนจบเราก็จะผ่านและเรียนจบเป็นมหาบัณฑิตได้แน่นอน แต่ตอนนี้เหนื่อยเหลือเกิน เพราะรีบเรียนแล้วต้องกลับไปทำงานประจำต่อ (ตอนนั้นเรียนpart-time) อ.ถามต่อว่าจะทำให้การเปลี่ยนแปลงที่บอก(เตรียมภาษาอังกฤษ) เป็นไปได้อย่างไร ดิฉันบอกจะลองอ่านทุกวันเท่าที่ไหว และใส่ใจกับภาษาอย่างน้อยวันละสองชั่วโมง จะนอนเร็วขึ้น จะออกกำลังกาย

สุดท้าย อ.ป้อบให้ดิฉันมองไปมุมอนาคต และให้ทบทวนว่าจะต้องทำอะไรบ้าง และถามว่ามีภาพหรืออะไรไหมที่ทำให้เราจะไปถึงเป้าหมาย ดิฉันนึกถึงภาพนาข้าว ถนน ตนเอง และจักรยานสีขาวของตัวเอง อธิบายว่า เห็นตนเองปั่นจักยานออกกำลังกาย แต่ก็มีภาระนะ คือการเรียน แต่ไม่รู้สึกเครียดเลยแฮะเล่าไปก็อยากยิ้มไป เมื่อมองมาถึงมุมนี้รีบอยากจะไปทำความฝันของตนเองให้สำเร็จเลยล่ะ พร้อมทั้งให้บอกตัวเองว่าทำได้ "ทำได้ ต้องทำให้ได้ ฉันทำได้แน่นอน(ลากเสียงยาว หนักแน่น)" ....หลายท่านเดาได้ไหมว่าอนาคตที่เป็นภาพลางๆนี้คืออะไร ดิฉันกำลังเตรียมตัวเพื่อจะสอบทุน เพื่อเรียนต่อค่ะ ......การได้ลองลงมือทำ ยังดีกว่าไม่กล้าเลยจริงไหมคะ

TAIWAN in my memory

โจทย์ที่ท้าทายกว่าคือจะสอน นศ.กิจกรรมบำบัดชั้นปีที่สองต่ออย่างไรให้เหมือนที่พวกเรากำลังทำ ไม่ง่าย แต่ท้ายทายมาก รวมทั้งท้าทายดิฉันมากด้วย

หมายเลขบันทึก: 593553เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2015 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 สิงหาคม 2015 10:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เอาใจช่วยครับ อ.แอน ต้องผ่านไปได้ด้วยดีอย่างแน่นอนครับ

ขอบคุณอ.เดียร์ มากค่ะ ต้องพยายามค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท