ปัญหาที่คนหมดไฟในการทำงาน และทางเเก้ค่ะ


วันนี้ดิฉันขอนำเเนวคิด ดร.สตีเฟน อาร์ โควีย์ มาฝากค่ะ ดิฉันตัดมาส่วนนึงนะคะ
...............................

ปัญหาที่คนหมดไฟในการทำงานไว้ว่า เกิดจาก 4 ปัญหาใหญ่ๆ คือ

ปัญหาแรก คือคนทำงานขาดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน สัญญาณบอกเหตุของปัญหานี้ คือ มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก นินทา ไม่พูดคุยกันต่อหน้า บรรยากาศการปรึกษาหารือกันพบว่า จะมีผู้แสดงความคิดเห็นเพียงคนหรือสองคน คนส่วนใหญ่จะเงียบ เพราะคิดว่าพูดไปก็ไม่เกิดประโยชน์ หลายคนมีข้อมูล ข้อคิดดีๆ แต่ไม่คิดที่จะแบ่งปันกันและกัน เพราะไม่อยากให้ใครได้ดีกว่าตนเอง องค์กรที่ขาดความไว้วางใจซึ่งกันและกันเช่นนี้ ผู้ปฏิบัติงานจะต้องเสียพลังไปกับเรื่องที่ไร้สาระจนไม่มีเวลาสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ให้กับองค์กร ท้ายที่สุดแม้คนทำงานก็จะเกิดความท้อแท้ ไม่อยากทำงาน และค่อยๆ หายไปทีละคน

ปัญหาที่ 2 คนในองค์กรไม่รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร หรือเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันวิสัยทัศน์ขององค์กรสู่เป้าหมาย ต่างคิดว่าวิสัยทัศน์เป็นของคนบางคน ไม่ใช่ของตน แม้มีกลยุทธดีๆ ที่สามารถนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายได้ แต่ก็ไม่คิดที่จะแบ่งปัน อาการบอกเหตุที่สำคัญคือ ผู้ปฏิบัติจะแสดงอาการไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่ใส่ใจในวิสัยทัศน์ขององค์กร มีวาระซ่อนเร้นในการทำงานที่หลายๆ คนในองค์กรสัมผัสได้ และภาพการแบ่งพรรคแบ่งพวกชัดเจน

ปัญหาที่ 3 ระบบงานในองค์กรไม่ดี ไม่สอดคล้องกลมกลืนกับบริบทขององค์กร ไม่ตอบสนองทั้งความต้องการของลูกค้า ของพนักงานเอง และการเปลี่ยนแปลงในภาวะปัจจุบัน ซึ่งบางครั้งบุคลากรในองค์กรรู้ว่าระบบไม่ดี แต่ก็ไม่มีใครอยากยุ่ง ไม่อยากชนกำแพง ไม่อยากเจ็บ ยังคงทำงานเบบเดิมๆ ในเขตปลอดภัย (Safety zone) ของตน

ปัญหาสุดท้าย คือ คนในองค์กรขาดความรักความผูกพันต่อองค์กร ซึ่งปัญหาประการสุดท้ายนี้ มีผลมาจากปัญหาสามประการข้างต้น ทั้งนี้สัญญาณบอกเหตุ คือ คนในองค์กรจะดื้อเงียบ ให้ความร่วมมือแบบจำยอม หรือต่อต้านไม่ให้ความร่วมมือ หรือที่ชัดเจนที่สุดคือการลาออก

อะไรคือสาเหตุของปัญหาเหล่านี้ หากเราได้วิเคราะห์เจาะลึกถึงสาเหตุของปัญหา จะพบว่า สาเหตุสำคัญของปัญหาข้างต้น เกิดจากองค์กรเหล่านั้นขาดเป้าหมายที่ชัดเจน ผู้ปฏิบัติไม่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของต่อเป้าหมายขององค์กร ผลที่ตามมาคือผู้ปฏิบัติไม่สามารถแปลงเป้าหมายไปสู่การปฏิบัติ (Action) ได้ บวกกับระบบงานที่ขาดความชัดเจน ระหว่างการปฏิบัติงานในแต่ละวันมักมีงานต่างๆ เข้ามากระทบ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้สึกวุ่นวาย ยุ่งเหยิง กับการทำงานที่เร่งด่วน ล้นมือ ไม่เป็นระบบ ผลคือ ผลผลิตที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

โควีย์ ได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไว้ดังนี้ คือ

แนวทางที่ 1 เริ่มต้นจาก องค์กรต้องกำหนดเป้าหมายสำคัญๆ ขององค์กร ให้ชัดเจน (Identify Top Goal) เป้าหมายขององค์กรอาจมีมากมาย แต่จำเป็นต้องกำหนดเป็นเข็มมุ่งหลักในแต่ละปีหรือแต่ละช่วงเวลา เป็น Top 5 หรือ Top 10 แล้วขยายเป้าหมายกว้างออกไป เมื่อเป้าหมายเริ่มต้นประสบความสำเร็จ

แนวทางที่ 2 นำเป้าหมายที่ได้จากข้อ 1 มาลำดับความสำคัญ (Set Priority of Goal) พร้อมกำหนดแนวทางปฏิบัติ (Action plan) กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของงาน สร้างระบบติดตามที่ชัดเจน และนำไปสู่การปฏิบัติ

แนวทางที่ 3 ต้องมีการบริหารเวลาที่ดี (Time Management) สามารถลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วนของงาน และบริหารงาน บริหารเวลาได้อย่างเหมาะสม สิ่งสำคัญคือต้องไม่ปล่อยงานสำคัญที่ไม่เร่งด่วนกลายเป็นงานสำคัญเร่งด่วน โดย โควีย์ เน้นการให้ความสำคัญของหินก้อนใหญ่ ซึ่งหมายถึงงานสำคัญที่ไม่เร่งด่วน ที่ Proactive Leader ต้องรีบบริหารจัดการก่อนที่จะกลายเป็นงานสำคัญเร่งด่วน

แนวทางที่ 4 มีการสื่อสารที่ดี แบบสองทาง (2 way communication) ให้ทุกคนรับรู้ถึงเป้าหมายขององค์กร และสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน (Understand what to do)


...............................

อ้างอิง

PacRim Group. Proactive Leader Leading to Success. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องProactive Leader Leading to Success. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.

คำสำคัญ (Tags): #7 habits
หมายเลขบันทึก: 593544เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2015 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2015 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มีประโยชน์มากเลยครับ

ทำให้มีกำลังใจทำงาน

ขอบคุณมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท