​เรื่องของสถิติการผลิตอ้อย


ประเทศไทยผลิตน้ำตาลทรายได้มากเป็นอันดับ 5 ของโลก และส่งออกมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากบราซิล โดยปริมาณการส่งออกรวมตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2557 เท่ากับ 7,321,575.94 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.56 จากช่วงเดียวกันของปี 2556 โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ อินโดนีเซีย และกัมพูชา ในขณะที่ความต้องการบริโภคภายในประเทศก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการของภาคอุตสาหกรรมมีมากขึ้น

ในปีการผลิต 2557/58 ผลผลิตโดยรวมทั่วประเทศเท่ากับ 104.59 ล้านตันอ้อย เพิ่มขึ้นจากปีการผลิต 2556/57 เท่ากับ 0.89 ล้านตันอ้อย (ร้อยละ 0.86) โดยเป็นผลผลิตอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 44.91 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 42.94 ของผลผลิตทั่วประเทศ เพิ่มขึ้นจากปีการผลิต 2556/57 เท่ากับ 1.30 ล้านตัน (ร้อยละ 2.98)

มีโรงงานน้ำตาลทรายในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งสิ้นจำนวน 19 โรงงาน โดยตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีมากที่สุด รวม 4 โรงงาน ซึ่งยังไม่รวมถึงโรงงานน้ำตาลทรายขนาดเล็กซึ่งผลิตน้ำตาลทรายแดง และโรงงานที่อยู่ในขั้นตอนของการขออนุญาตขยายกำลังการผลิต หรือตั้งโรงงานเพิ่มเติม

ในปีการผลิต 2557/58 โรงงานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับการจัดสรรปริมาณอ้อยเข้าโรงงานเท่ากับ 46.77 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.33 ของปริมาณที่ได้รับการจัดสรรในปี 2556/57

มีปริมาณอ้อยเข้าหีบในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่ากับ 47.37 ล้านตันอ้อย คิดเป็นร้อยละ 44.70 ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั่วประเทศ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.50 ของปีการผลิต 2556/57

โดยสามารถผลิตน้ำตาลทรายได้โดยเฉลี่ย 112.29 กิโลกรัม/ตันอ้อย ทำให้ปริมาณผลผลิตน้ำตาลทราย ของปีการผลิต 2557/58 เท่ากับ 5,318,966.88 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.85 ของปีการผลิต

2556/57 คิดเป็นน้ำตาลทรายขาวร้อยละ 27.44 และน้ำตาลทรายดิบร้อยละ 71.39 ของปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายทั้งหมด

นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่าในปี 2557 ได้มีการขยายพื้นที่การผลิตอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาก 3,780,963 ไร่ เป็น 4,018,989 ไร่ ในปี 2558 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.30

เมื่อพิจารณาผลผลิตต่อพื้นที่เก็บเกี่ยว พบว่าในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี 2558 เท่ากับ 11,175 กิโลกรัมต่อไร่ (ลดลงจากปี 2557 ร้อยละ 3.12) น้อยกว่าค่าเฉลี่ยของผลผลิตทั่วประเทศที่เท่ากับ 11,240 กิโลกรัมต่อไร่

เกษตรกรในพื้นที่จะหันมาปลูกอ้อยแทนการปลูกข้าวทั้งในรูปแบบของเกษตรกรอิสระ และ Contract Farming เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/agriculture/341157

หมายเลขบันทึก: 593401เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2015 12:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2015 12:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท